กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการตรวจหาสารเคมีตกค้างในเลือดกลุ่มเกษตรกรและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ปีงบประมาณ 2564
รหัสโครงการ 2564-L3351-01-14
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงาย
วันที่อนุมัติ 21 กันยายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2563 - 31 กรกฎาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 31 กรกฎาคม 2564
งบประมาณ 10,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางปานิมาส รุยัน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกชะงาย อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเกษตรกรที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือดเกินมาตรฐานความปลอดภัย
44.35
2 ร้อยละเกษตรกรที่มีสารเคมีในเลือดเกินมาตรฐานความปลอดภัยนัดมาตรวจซ้ำ
43.13

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เกษตรกรมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชเพิ่มขึ้น เนื่องจากรูปแบบการเกษตรเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมรูปแบบเดิม จากการเกษตรทำเพื่อการบริโภคมาเป็นการเกษตรเศรษฐกิจ เกษตรกรต้องการเพิ่มผลผลิตและรักษาคุณภาพของสินค้า สารเคมีกำจัดแมลงศัตรูพืชได้ถูกนำมาใช้ในแปลงผักและไร่นาของเกษตรกรอย่างแพร่หลาย ประกอบกับการขาดองค์ความรู้ในการใช้สารเคมีส่งผลให้เกิดสารพิษตกค้างในผัก และสะสมในลำห้วย หนอง คลองบึง ฯลฯ การบริโภคผักและใช้แหล่งน้ำที่มีการสะสมสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ทำให้ร่างกายที่ได้รับสารพิษมีอาการเฉียบพลัน เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ ท้องร่วง ตาพร่า หายใจติดขัด ฯลฯ ประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากการได้รับพิษสารเคมีกำจัดศัตรูพืช เฉลี่ยปีละ 2,013 ราย ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุ 45-54 ปี (กรมควบคุมโรค,2563) จากการเฝ้าระวังและเก็บข้อมูลผลการตรวจเลือดประชาชนจังหวัดพัทลุง ในปี 2563 พบว่า มีประชาชนกลุ่มที่มีความเสี่ยง ได้รับการตรวจคัดกรองสารเคมีในเลือด ร้อยละ 71.33 พบว่า มีเกษตรกรที่มีผลการตรวจเสี่ยงและไม่ปลอดภัย ร้อยละ 44.88 และมีแนวโน้มจะสูงขึ้นในปี 2563 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงายดำเนินการตรวจเลือดหาสารเคมีในเกษตรกร จำนวน 115 คนพบว่า เกษตรกรที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือดเกินมาตรฐานความปลอดภัย จำนวน 51 คน ร้อยละ 44.35 กลุ่มเกษตรกรดังกล่าวเป็นกลุ่มวัยแรงงานหากกลุ่มวัยแรงงานเกิดการเจ็บป่วยเพิ่มมากขึ้นส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของครอบครัวและจังหวัด ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขตำบลบ้านโคกชะงายเล็งเห็นความสำคัญของปัญหาการใช้สารเคมี และรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนสารเคมีจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยตรง จึงได้จัดทำโครงการตรวจหาสารเคมีตกค้างในเลือดกลุ่มเกษตรกรและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ปีงบประมาณ 2564 จากภัยสารเคมีกำจัด ศัตรูพืชและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและส่งเสริมสุขภาพ ลดเสี่ยง ลดโรค เพื่อเป็นการเฝ้าระวัง ป้องกันและลดอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกร และสร้างความปลอดภัยแก่ผู้บริโภคในชุมชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายทุกคนมีความรู้ในการเฝ้าระวังสุขภาพตนเอง จากการใช้สารเคมีในเกษตรกร

กลุ่มเป้าหมายทุกคนมีความรู้ในการเฝ้าระวังสุขภาพตนเอง จากการใช้สารเคมีในเกษตรกร ร้อยละ 80

68.00 80.00
2 กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการตรวจสารเคมีในเลือดที่มีภาวะเสี่ยง หรือเสี่ยงสูงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและดื่มสมุนไพรรางจืด

กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการตรวจสารเคมีในเลือดที่มีภาวะเสี่ยง หรือเสี่ยงสูงทุกคนได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและดื่มสมุนไพรรางจืด

115.00 300.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 10,700.00 3 8,950.00
1 พ.ย. 63 - 31 ม.ค. 64 ตรวจคัดกรองและสำรวจพฤติกรรมการใช้สารเคมีในเลือดเกษตรกร 0 3,900.00 3,900.00
1 ม.ค. 64 - 30 เม.ย. 64 อบรมความรู้ทักษะการเฝ้าระวังการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช และดื่มสมุนไพรรางจืด 0 4,800.00 3,050.00
1 เม.ย. 64 - 31 ก.ค. 64 ตรวจคัดกรองสารเคมีในเลือดเกษตรกรซ้ำ 0 2,000.00 2,000.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  • กลุ่มเป้าหมายทุกคนมีความรู้ในการเฝ้าระวังสุขภาพตนเอง จากการใช้สารเคมีในเกษตรกร ร้อยละ 80
  • กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการตรวจสารเคมีในเลือดที่มีภาวะเสี่ยง หรือเสี่ยงสูงทุกคนได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและดื่มสมุนไพรรางจืด
  • เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและตรวจซ้ำ ระดับความเสี่ยงสารเคมีลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ต.ค. 2563 00:00 น.