กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

assignment
บันทึกกิจกรรม
คืนข้อมูลและประชุมเชิงปฏิบ้ติการ การป้องกันครรภ์เสี่่ยงในชุมชน25 มีนาคม 2564
25
มีนาคม 2564รายงานจากพื้นที่ โดย รพ.สต.ควนโดน
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. จัดทำสรุป ข้อมูลการตั้งครรภ์และการคลอดประจำปี 2564
  2. วิเคราะห์ข้อมูล และวางแผนร่วมกับ อสม.ในชุมชน
  3. ร่วมวิเคราะห์ แก้ปัญหาเชิงลึก ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม หญิงวัยเจริญพันธ์ เพื่อเตรียมพร้อมการตั้งครรภ์อย่างมีคุณภาพ
    4.ดำเนินกิจกรรมคืนข้อมูล
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จัดกิจกรรมคืนข้อมูลแก่ แกนนำอสม. ตัวแทน หมู่บ้านละ 3 - 4 คน  กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ                จำนวน 24 คน  เข้าร่วมกิจกรรมครบ ร้อยละ 100  โดยมีการประชุมชี้แจง รายละเอียด มารดาครรภ์เสี่ยง                    ที่ยังไม่คลอด เพื่อติดตามเฝ้าระวัง ขณะตั้งครรภ์และหลังคลอด ร่วมวิเคราะห์ข้อมูล หาสาเหตุ ปัจจัยเสี่ยงที่เกิดขึ้น ของหญิงตั้งครรภ์รายหมู่บ้าน และวางแผนติดตาม เฝ้าระวัง พฤติกรรมเสี่ยงในชุมชน

รู้ทัน ภัยเสี่ยง เตรียมพร้อมตั้งครรภ์17 มีนาคม 2564
17
มีนาคม 2564รายงานจากพื้นที่ โดย รพ.สต.ควนโดน
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.ประชุมชี้แจงโครงการแก่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง 2.ประสานงานกับ อสม.ในการสำรวจข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย และจัดเตรียมเอกสารการอบรมให้ความรู้ 3.ดำเนินการอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย คือ หญิงตั้งครรภ์หรือสามีหรือญาติหญิงวัยเจริญพันธ์ อายุ 18 - 35 ปี และหญิงหลังคลอด ในหัวข้อดังนี้ บทบาทของพ่อแม่ และการใช้สมุดสีชมพู การดูแลสุขภาพของแม่ขณะตั้งครรภ์ โภชนาการสำหรับหญิงตั้งครรภ์ อันตราย ของครรภ์เสี่ยง7 โรค อาการผิดปกติที่ต้องพบแพทย์ทันที 4.ประเมินภาวะเสี่ยงแก่กลุ่มเป้าหมาย ที่วางแผนการตั้งครรภ์ พร้อมทั้งคัดกรองเบาหวาน 5.สรุปและประเมินผลกิจกรรม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

( จัดกิจกรรม จำนวน 3 รุ่น  รุ่นละ 50 คน ) กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด 150 คน จัดกิจกรรม ณ ห้องประชุมโรงเรียน อสม.                      โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนโดน  มีการประสานกลุ่มเป้าหมายที่จะเข้าร่วมกิจกรรมโดยใช้เกณฑ์ ดังนี้ - หญิงตั้งครรภ์หรือสามีหรือญาติ - หญิงวัยเจริญพันธ์ อายุ 18 - 35 ปี
- มารดาหลังคลอดบุตรแรกเกิด – 2 ปี โดยได้เชิญวิทยากรจาก รพ.ควนโดน คือ คุณอาซีกิน ถิ่นสตูล พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ และ รพ.สต.ย่านซื่อ คุณมาเรียม หมาดดี พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ ได้มาบรรยายให้ความรู้ เรื่องโฟเลตสำคัญช่วยป้องกันลูกพิการ บทบาทของพ่อแม่  การดูแลสุขภาพของแม่ขณะตั้งครรภ์  โภชนาการสำหรับหญิงตั้งครรภ์  อันตรายของครรภ์เสี่ยง 7 โรค อาการผิดปกติที่ต้องพบแพทย์ทันที  และมีการประเมินภาวะเสี่ยงแก่กลุ่มเป้าหมาย ที่วางแผนการตั้งครรภ์  พร้อมทั้งคัดกรองเบาหวาน
จากผลการคัดกรองเบาหวาน 50 กรัม ในกลุ่มเป้าหมาย 3 รุ่น (รุ่นละ 2 คน)  ผลการตรวจเลือด ค่าน้ำตาล สูงกว่าเกณฑ์ปกติทั้ง 6 ราย ( ค่าปกติ ไม่เกิน 140 mg% ) จึงสามารถวิเคราะห์เบื้องต้นได้ว่า ประชากร กลุ่มหญิงวัยเจริญพันธ์ในพื้นที่ตำบลควนโดนที่วางแผนการตั้งครรภ์ในอนาคต มีแนวโน้มที่จะต้องเฝ้าระวัง ครรภ์เสี่ยงและต้องติดตาม ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเคร่งครัดก่อนการตั้งครรภ์ เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่ตามมา ที่สำคัญคือป้องกันสาเหตุมารดาเสียชีวิตขณะตั้งครรภ์
กลุ่มเป้าหมายให้ความร่วมมือ ในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี มีความตั้งใจและมาตรงตามเวลาที่ได้นัดหมาย ซักถามข้อสงสัย กลุ่มเป้าหมายทุกคน ได้รับรับยาเม็ดโฟลิกขนาด 400 ไมโครกรัม ไปรับประทานต่อเนื่องทุกวัน จนครบ 6 เดือน และมีการเตรียมพร้อมในการวางแผนการตั้งครรภ์ในอนาคตต่อไป

พัฒนาศักยภาพ อสม.เชี่ยวชาญด้านอนามัยแม่และเด็ก12 มีนาคม 2564
12
มีนาคม 2564รายงานจากพื้นที่ โดย รพ.สต.ควนโดน
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.คัดเลือก อสม.เข้าร่วมโครงการ จำนวน 25 คน 2.ชี้แจงวัตถุประสงค์และแนวทางการดำเนินกิจกรรมในโครงการ 3. จัดเตรียมเอกสารหลักสูตร แบบประเมินความรู้ก่อน - หลังการอบรม 4. จัดเตรียมสถานที่และประสานวิทยากร 5. จัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพ อสม.เชียวชาญ แม่และเด็ก 6. สรุปและประเมินผลกิจกรรม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จัดประชุมชี้แจงโครงการฯ แกนนำอสม. ตัวแทน หมู่บ้านละ 3 - 4 คน  กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ จำนวน 25 คน  เข้าร่วมกิจกรรมครบ ร้อยละ 100 โดยมีการแจ้งสถานการณ์งานแม่และเด็ก ตัวชี้วัดแม่ตายและปัญหาอุปสรรค ในการดำเนินงาน ปีงบประมาณ 2563 ที่ผ่านมา มีการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการบทบาท อสม. ในการติดตาม ค้นหาหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ การดูแล/ติดตามเยี่ยมมารดาหลังคลอดครรภ์เสี่ยงในชุมชน ครรภ์เสี่ยง 7 โรค ที่ต้องเฝ้าระวังในหญิงตั้งครรภ์  การให้ความรู้เรื่องความสำคัญของยาเม็ดโฟลิก และการเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์  เกณฑ์การคัดกรองเบาหวานขณะตั้งครรภ์  โดยจากการประเมินกลุ่มเป้าหมาย มีความรู้ความเข้าใจเพิ่มขึ้น ร้อยละ 85 มีการเฝ้าระวังตนเอง และสามารถเฝ้าระวังกลุ่มหญิงวัยเจริญพันธ์ที่วางแผน การตั้งครรภ์ในเขตรับผิดชอบของตนเองได้