กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาสุขาภิบาลอาหารริมบาทวิถีปลอดภัย (Street Food Good Health)
รหัสโครงการ 2564-L6896-01-15
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ
วันที่อนุมัติ 7 ธันวาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2563 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2564
งบประมาณ 75,936.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายมนะ โสสนุย
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.559,99.616place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เนื่องด้วยความเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม เศรษฐกิจ และพฤติกรรมการบริโภคของประชาชนในปัจจุบันมีความต้องการในการบริโภคอาหารที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ในอดีตผู้บริโภคมักจะซื้อวัตถุดิบเพื่อไปปรุงประกอบอาหารทานที่บ้านของตนเอง แต่ในปัจจุบันผู้บริโภคจะหาซื้ออาหารที่สามารถหาซื้อรับประทานได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว อาหารริมบาทวิถีหรืออาหารริมทางจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สำคัญของประชาชนที่นิยมบริโภคในปัจจุบัน แต่บางครั้งการจำหน่ายอาหารบนบาทวิถีบางจุดเป็นสถานที่ที่เต็มไปด้วยมลภาวะ ฝุ่น ควันต่างๆ อีกทั้งการปรุงและประกอบอาหารอาจไม่ถูกสุขลักษณะ หรือการดูแลปกปิดอาหารปรุงสุกไม่เพียงพอ ซึ่งอาจส่งผลให้อาหารที่จำหน่ายนั้นเสี่ยงต่อการปนเปือนสิ่งสกปรกหรือเชื้อโรคตต่างๆ ที่จะก่อให้เกิดโรคต่อร่างกายได้ ประกอบกับสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019(COVID-19) ในปัจจุบันถึงแม้สถานการณ์การระบาดจะคลี่คลายลงแล้ว แต่การยังคงไว้ซึ่งมาตรการการป้องกันโรคตามวิถิใหม่ (New-normal) จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอยู่ในชีวิตประจำวันตอนนี้
สถานที่จำหน่ายอาหารบาทวิถีที่อยู่ในความรับผิดชอบของเทศบาลนครตรัง มีจำนวน 2 แห่ง คือ ตลาดคนเดินสถานีรถไฟตรัง และตลาดถนนรื่นรมย์(เซ็นเตอร์พ้อยท์) จากข้อมูลพบว่ามีผู้ประกอบการแผงลอยจำหน่ายอาหารในเขตเทศบาลนครตรัง จำนวนประมาณ 500 แผง ซึ่งทั้ง 2 ตลาดนี้ล้วนเป็นจุดหน่ายอาหารที่ได้รับความสนใจจากประชาชนเป็นจำนวนมากในแต่ละวัน ทั้งจากคนในท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มวัยทำงานที่เลือกซื้ออาหารสำหรับมื้อเย็นหลังเลิกงาน กลุ่มเด็กเยาวชนในการเลือกซื้อของกิน และนักท่องเที่ยวที่เข้ามาซื้อหาอาหารท้องถิ่นเมืองตรัง
    กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครตรัง ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการสุขาภิบาลอาหารสำหรับผู้ประกอบการแผงลอยจำหน่ายอาหาร ประกอบกับอำนาจหน้าที่ พรบ.เทศบาล พ.ศ.2496 และแก้ไขเพิ่มเติมถึง ฉบับที่ 14 พ.ศ.2562 กำหนดหน้าที่ของเทศบาลนคร ตามมาตรา 56(4) การควบคุมสุขลักษณะและอนามัยในร้านจำหน่ายอาหาร โรงมหรสพ และสถานบริการอื่น กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมจึงเสนอโครงการพัฒนาสุขาภิบาลอาหารริมบาทวิถีปลอดภัย (Street Food Good Health) เพื่อดำเนินงานพัฒนาสุขาภิบาลอาหารริมบาทวิถี เพื่อให้ผู้ประกอบการแผงลอยจำหน่ายอาหาร มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องตามหลักสุขลักษณะและเกิดความตระหนักในการปรุงประกอบอาหารให้ถูกหลักอนามัย และเพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับอาหารที่สะอาด ปลอดภัย ห่างไกลจากโรคภัยต่างๆ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจสุขาภิบาลอาหารและโภชนาการที่ถูกต้องตามสุขลักษณะให้แก่ผู้ประกอบการแผงลอยจำหน่ายอาหาร

ร้อยละ 90 ผู้ประกอบการแผงลอยจำหน่ายอาหารที่เข้าร่วมโครงการมีคะแนนการทำแบบทดสอบหลังอบรมมากกว่า ร้อยละ 80 ของคะแนนเต็ม

0.00
2 เพื่อคุ้มครองบริโภคให้ได้รับอาหารที่ปลอดภัยและถูกหลักสุขลักษณะ
  • ร้อยละ 90 ผู้ประกอบการแผงลอยจำหน่ายอาหารที่เข้าร่วมโครงการ ได้รับการตรวจสอบ เฝ้าระวัง ด้านสุขาภิบาลอาหาร ตามเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรมอนามัย
  • ร้อยละ 80 ของผู้ประกอบการแผงลอยที่เข้าร่วมโครงการผ่านเกณฑ์การประเมินตามมาตรฐานของกรมอนามัย
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 75,936.00 4 35,550.00
17 พ.ค. 64 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ด้านสุขาภิบาลอาหารและโภชนาการ แก่กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ 0 9,895.00 0.00
17 พ.ค. 64 กิจกรรมจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ พร้อมรณรงค์ให้ความรู้ด้านสุขาภิบาลอาหารแก่ผู้บริโภคและผู้ประกอบการ 0 12,191.00 0.00
17 พ.ค. 64 กิจกรรมตรวจสอบ เฝ้าระวัง ด้านสุขาภิบาลอาหารตามเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัย ของกรมอนามัย โดยเจ้าหน้าที่จากกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครตรัง 0 33,850.00 29,550.00
17 พ.ค. 64 กิจกรรมสรุปผลการตรวจสอบ พร้อมให้คำแนะนำและมอบสัญลักษณ์แสดงว่า ร้านนี้ได้รับการตรวจด้านสุขาภิบาล และปลอดภัยจากสารอันตราย 0 20,000.00 6,000.00
  1. ขั้นเตรียมการ 1.1 จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ 1.2 ประชุมชี้แจงโครงการแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง จัดประชุมหารือและกำหนดแนวทางการดำเนินงาน 1.3 จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์และคู่มือให้ความรู้ 1.4 ประชาสัมพันธ์โครงการแก่กลุ่มเป้าหมาย
  2. ขั้นดำเนินการ ดำเนินกิจกรรมตามโครงการ/จัดกิจกรรมกลุ่มเป้าหมายหลักและกลุ่มเป้าหมายรอง 2.1 จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ด้านสุขาภิบาลอาหาร แก่กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ
    2.2 จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ พร้อมรณรงค์ให้ความรู้ด้านสุขาภิบาลอาหารแก่ผู้บริโภคและผู้ประกอบการ 2.3 ตรวจสอบ เฝ้าระวัง ด้านสุขาภิบาลอาหาร ตามเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัย ของกรมอนามัย โดย เจ้าหน้าที่จากกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครตรัง 2.4 สรุปผลการปฏิบัติงานโครงการและประเมินผลโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ประกอบการแผงลอยจำหน่ายอาหารที่เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจสุขาภิบาลอาหารและโภชนาการตามหลักสุขลักษณะ
  2. ผู้ประกอบการแผงลอยจำหน่ายอาหารที่เข้ารับการอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในการจำหน่ายอาหารให้ถูกตามหลักสุขาภิบาลอาหารและหลักโภชนาการได้อย่างถูกต้อง
  3. ผู้บริโภคได้บริโภคอาหารที่ปลอดภัยและถูกหลักสุขลักษณะ
  4. มีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านสุขภิบาลอาหารอย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 ธ.ค. 2563 15:17 น.