กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ รณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคติดต่อนำโดยยุงลายในเขตเทศบาลนครตรัง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
รหัสโครงการ 2564-L6896-01-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลตรัง
วันที่อนุมัติ 7 ธันวาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2563 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2564
งบประมาณ 102,782.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายไกรสร โตทับเที่ยง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.559,99.616place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคติดต่อนำโดยยุงลายที่สำคัญในตำบลทับเที่ยง มี 3 โรค คือโรคไข้เลือดออก โรคชิคุนกุนยา และโรคชิก้า
โรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่มีรายงานการป่วยสูงเกือบทุกปี โรคชิคุนกุนยามีการระบาดมากในปี 2561-2562 ผู้ป่วยมีอาการปวดข้อบางรายอาจเรื้อรังอยู่นานหลายเดือนหรือหลายปี ส่วนโรคชิก้า มีรายงานการป่วยในปี 2562 จำนวน 1 ราย ถ้ามีโรคชิก้าติดเชื้อในหญิงตั้งครรภ์อาจทำให้เด็กที่คลอดมามีขนาดของศีรษะเล็กกว่าปกติ ส่วนประชาชนทั่วไปอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนโรครุนแรงทางระบบประสาท ทั้ง 3 โรคนี้มียุงลายบ้าน และยุงลายสวนเป็นพาหะนำโรค ประชาชนส่วนใหญ่ในจังหวัดตรัง ประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีฤดูฝนที่ยาวนานกว่าฤดูกาลอื่นๆ สภาพแวดล้อมของที่อยู่อาศัย มีภาชนะขังน้ำทั้งที่เกิดจากพฤติกรรมของคน และแหล่งเพาะพันธุ์ตามธรรมชาติอยู่โดยรอบ จึงมีความเสี่ยงต่อการระบาดของโรคในกลุ่มนี้เป็นอย่างยิ่ง กลุ่มประเทศอาเชี่ยนจึงได้กำหนดให้วันที่ 15 มิถุนายน ของทุกปี เป็นวัน ASEAN Dengue Day เพื่อให้ทุกประเทศในภูมิภาคนี้ร่วมใจกันจัดกิจกรรมรณรงค์ต้านภัยโรคไข้เลือดออก จังหวัดตรังกำหนดให้มีมาตรการลดและกำจัดลูกน้ำยุงลายด้วยวิธี 5ป 1ข ใน 6ร ได้แก่ โรงเรือน โรงเรียน โรงพยาบาล โรงแรม โรงงาน และโรงธรรม สถานการณ์โรคไข้เลือดออกของอำเภอเมืองตรัง มีรายงานผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกสูงติดอันดับ 1-3 ของจังหวัดตรังเกือบทุกปี ผู้ป่วยตำบลทับเที่ยงปี พ.ศ.2560-2562 จำนวน 26 , 33 และ 29 ราย อัตราป่วย 43.10 , 55.10 และ 48.54 ต่อแสนประชากรตามลำดับ ส่วนปี 2562 (ถึง 15 สิงหาคม 2563) จำนวน 21 ราย อัตราป่วย 35.41 ต่อแสนประชากร เป้าหมายที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดคืออัตราป่วยไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร ในปี พ.ศ.2563
(1 มกราคม- 15 สิงหาคม) ตำบลทับเที่ยงมีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกและผู้สงสัยป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกที่แจ้งเจ้าหน้าที่รับผิดชอบดำเนินการควบคุมโรคทั้งสิ้น 142 ราย ผู้ป่วยกระจายอยู่ใน 21 ชุมชน จากทั้งหมด 27 ชุมชน คิดเป็นร้อยละ 77.77 ของชุมชนในตำบลทับเที่ยง ประชากรกลุ่มอายุที่มีรายงานการป่วยสูงที่สุดคือ 15-24 ปี รองลงมาคือ 25-34 ปี ส่วนใหญ่เป็นเด็กวัยเรียน ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายและผู้ใหญ่วัยทำงาน คาดว่าปี 2564 จะมีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกใกล้เคียงกับค่ามัธยฐาน 5 ปี ส่วนผู้ป่วยโรคชิคุนกุนยาและผู้สงสัยที่มีการแจ้งพื้นที่ควบคุมโรคมีจำนวน 4 ราย โรงพยาบาลตรัง จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคติดต่อนำโดยยุงลายในเขตเทศบาลนครตรัง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรังขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาโรคติดต่อนำโดยยุงลาย เช่น โรคไข้เลือดออก โรคชิคุนกุนยา และโรคชิก้าระบาดในพื้นที่ โดยมาตรการหลักคือลดค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย และการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรคติดต่อนำโดยยุงลายจากผู้ป่วยสู่บุคคลอื่น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย (ค่า CI ) ใน 4 ร. ลดลง

ร้อยละของภาชนะที่พบลูกน้ำยุงลาย(CI) ใน 4 ร. หลังการรณรงค์ลดลงเหลือไม่เกิน 5

0.00
2 มีการป้องกันการรับและแพร่เชื้อโรคติดต่อนำโดยยุงลายใน 4 ร.

โรคไข้เลือดออกในเขตเทศบาลนครตรังที่แจ้งควบคุมโรคไม่เกินค่ามัธยฐาน 5 ปี (200 ราย)

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 102,782.00 1 102,782.00
8 ธ.ค. 63 กิจกรรมรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรค 0 102,782.00 102,782.00

1 จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ 2 ประชุมทีมและจัดทำแผนการรณรงค์ป้องกันโรคติดต่อนำโดยยุงลายใน ๔ ร.คือ โรงเรือน(ชุมชน) โรงเรียน(ศูนย์เด็กเล็ก) โรงธรรม(วัด) และโรงพยาบาล 3. ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 4 ขอใช้รถสำหรับการประชาสัมพันธ์ และรถสำหรับทีมรณรงค์ป้องกันโรคใน ๔ ร. 5 จัดทีมเดินรณรงค์ป้องกันโรคติดต่อนำโดยยุงลายในชุมชนเดือนละ ๒ ครั้ง โดยมีกิจกรรมคือ 5.1 การสำรวจลูกน้ำยุงลายในชุมชน
5.2 การกำจัดลูกน้ำยุงลายในชุมชน 5.3 การแจกเอกสารแผ่นปลิวขอความร่วมมือป้องกันโรค 5.4 การจ่ายทรายกำจัดลูกน้ำแก่บ้านที่มีภาชนะขังน้ำ 5.5 การใช้รถประชาสัมพันธ์ 5.6 การผลิตสปอตสำหรับการประชาสัมพันธ์และเสียงตามสาย
6 จัดทีมรณรงค์ป้องกันโรคติดต่อนำโดยยุงลายในโรงเรียนและศูนย์เด็กเล็ก ปีละ ๒ ครั้ง โดยมีกิจกรรมคือ 6.1 การสำรวจลูกน้ำยุงลายในโรงเรียน
6.2 การกำจัดลูกน้ำยุงลายในโรงเรียน
6.3 การให้ความรู้สร้างความเข้าใจแก่นักเรียนโดยใช้สื่อให้สุขศึกษาประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ เช่น บอร์ดนิทรรศการ ,ไวนิล , แผ่น CD เผยแพร่ความรู้ และเอกสารแผ่นปลิวเผยแพร่ความรู้
6.4 สร้างเครือข่ายในโรงเรียนให้มีการสำรวจและกำจัดลูกน้ำยุงลายทั้งที่โรงเรียนและบ้าน 7 จัดทีมรณรงค์ป้องกันโรคติดต่อนำโดยยุงลายในวัด โดยมีกิจกรรมคือ 7.1 การสำรวจลูกน้ำยุงลายในวัด
7.2 การกำจัดลูกน้ำยุงลายในวัด 7.3 การเผยแพร่ความรู้แก่ประชาชนที่มาทำบุญที่วัดด้วยสื่อต่างๆ เช่น แผ่น CD , ไวนิล และแผ่นปลิว
8 จัดทีมรณรงค์ป้องกันโรคติดต่อนำโดยยุงลายในโรงพยาบาลและบ้านพัก เดือนละ ๑ ครั้งโดยมีกิจกรรมคือ 8.1 การสำรวจลูกน้ำยุงลายในโรงพยาบาล
8.2 การกำจัดลูกน้ำยุงลายในโรงพยาบาล
8.3 การจัดกิจกรรมรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออกแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลตรัง ๑ ครั้ง จัดทำบอร์ดนิทรรศการเผยแพร่และจัดทำแผ่นปลิวเผยแพร่ความรู้แก่ผู้มารับบริการตามจุดบริการผู้ป่วยและญาติ 9 การควบคุมโรคที่บ้านผู้ป่วยด้วยโรคติดต่อนำโดยยุงลาย เป้าหมาย ๒๐๐ ราย 9.1 การสำรวจและกำจัดลูกน้ำยุงลายในบ้านและบริเวณโดยรอบบ้านผู้ป่วย
9.2 การให้ผู้ป่วยโรคติดต่อนำโดยยุงลาย สมาชิกในบ้าน และบ้านใกล้เคียง ทาโลชั่นกันยุงเพื่อป้องกันการรับและแพร่เชื้อ โรค จำนวน ๒๐๐ ราย รายละ ๑๑ หลัง หลังละ ๒๐ ซอง รวม ๔๔,๐๐๐ ซอง
9.3 สนับสนุนงานป้องกันควบคุมโรค รพ.ตรัง ในการแจกจ่ายโลชั่นทากันยุงแก่ผู้ป่วยและผู้สงสัยป่วยด้วยโรคชิคุนกุนยา ใน ๒๗ ชุมชน ชุมชนละ ๑,๐๐๐ ซอง รวม ๒๗,000 ซอง 9.4 การใช้สเปรย์ฉีดยุงในบ้านผู้ป่วยและรอบบ้านผู้ป่วยเพื่อฆ่ายุงที่อาจจะมีเชื้อโรคไข้เลือดออกจำนวน ๒๐๐ ราย รายละ ๑๑ หลังคาเรือน หลังคาเรือนละ ๑ กระป๋อง รวม ๒,๒๐๐ กระป๋อง 10 การจัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการปฏิบัติงาน 11 รายงานและประเมินผลการดำเนินงานตามโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนมีความรู้ในเรื่องการป้องกันโรคติดต่อนำโดยยุงลายโดยหลัก 5ป 1ข
2.หลังจากการจัดกิจกรรมรณรงค์ใน 4 ร.แล้ว ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย (ค่า CI ) จะลดลง 3.ประชาชนมีการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรคไข้เลือดออกในชุมชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 ธ.ค. 2563 15:20 น.