กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

assignment
บันทึกกิจกรรม
กิจกรรมรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรค26 พฤศจิกายน 2564
26
พฤศจิกายน 2564รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครตรัง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1 จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ 2 ประชุมทีมและจัดทำแผนการรณรงค์ป้องกันโรคติดต่อนำโดยยุงลายใน ๔ ร.คือ โรงเรือน(ชุมชน) โรงเรียน(ศูนย์เด็กเล็ก) โรงธรรม(วัด) และโรงพยาบาล 3. ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 4 ขอใช้รถสำหรับการประชาสัมพันธ์ และรถสำหรับทีมรณรงค์ป้องกันโรคใน ๔ ร. 5 จัดทีมเดินรณรงค์ป้องกันโรคติดต่อนำโดยยุงลายในชุมชนเดือนละ ๒ ครั้ง โดยมีกิจกรรมคือ 5.1 การสำรวจลูกน้ำยุงลายในชุมชน
5.2 การกำจัดลูกน้ำยุงลายในชุมชน 5.3 การแจกเอกสารแผ่นปลิวขอความร่วมมือป้องกันโรค 5.4 การจ่ายทรายกำจัดลูกน้ำแก่บ้านที่มีภาชนะขังน้ำ 5.5 การใช้รถประชาสัมพันธ์ 5.6 การผลิตสปอตสำหรับการประชาสัมพันธ์และเสียงตามสาย
6 จัดทีมรณรงค์ป้องกันโรคติดต่อนำโดยยุงลายในโรงเรียนและศูนย์เด็กเล็ก ปีละ ๒ ครั้ง โดยมีกิจกรรมคือ 6.1 การสำรวจลูกน้ำยุงลายในโรงเรียน
6.2 การกำจัดลูกน้ำยุงลายในโรงเรียน
6.3 การให้ความรู้สร้างความเข้าใจแก่นักเรียนโดยใช้สื่อให้สุขศึกษาประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ เช่น บอร์ดนิทรรศการ ,ไวนิล , แผ่น CD เผยแพร่ความรู้ และเอกสารแผ่นปลิวเผยแพร่ความรู้
6.4 สร้างเครือข่ายในโรงเรียนให้มีการสำรวจและกำจัดลูกน้ำยุงลายทั้งที่โรงเรียนและบ้าน 7 จัดทีมรณรงค์ป้องกันโรคติดต่อนำโดยยุงลายในวัด โดยมีกิจกรรมคือ 7.1 การสำรวจลูกน้ำยุงลายในวัด
7.2 การกำจัดลูกน้ำยุงลายในวัด 7.3 การเผยแพร่ความรู้แก่ประชาชนที่มาทำบุญที่วัดด้วยสื่อต่างๆ เช่น แผ่น CD , ไวนิล และแผ่นปลิว
8 จัดทีมรณรงค์ป้องกันโรคติดต่อนำโดยยุงลายในโรงพยาบาลและบ้านพัก เดือนละ ๑ ครั้งโดยมีกิจกรรมคือ 8.1 การสำรวจลูกน้ำยุงลายในโรงพยาบาล
8.2 การกำจัดลูกน้ำยุงลายในโรงพยาบาล
8.3 การจัดกิจกรรมรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออกแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลตรัง ๑ ครั้ง จัดทำบอร์ดนิทรรศการเผยแพร่และจัดทำแผ่นปลิวเผยแพร่ความรู้แก่ผู้มารับบริการตามจุดบริการผู้ป่วยและญาติ 9 การควบคุมโรคที่บ้านผู้ป่วยด้วยโรคติดต่อนำโดยยุงลาย เป้าหมาย ๒๐๐ ราย 9.1 การสำรวจและกำจัดลูกน้ำยุงลายในบ้านและบริเวณโดยรอบบ้านผู้ป่วย
9.2 การให้ผู้ป่วยโรคติดต่อนำโดยยุงลาย สมาชิกในบ้าน และบ้านใกล้เคียง ทาโลชั่นกันยุงเพื่อป้องกันการรับและแพร่เชื้อ โรค จำนวน ๒๐๐ ราย รายละ ๑๑ หลัง หลังละ ๒๐ ซอง รวม ๔๔,๐๐๐ ซอง
9.3 สนับสนุนงานป้องกันควบคุมโรค รพ.ตรัง ในการแจกจ่ายโลชั่นทากันยุงแก่ผู้ป่วยและผู้สงสัยป่วยด้วยโรคชิคุนกุนยา ใน ๒๗ ชุมชน ชุมชนละ ๑,๐๐๐ ซอง รวม ๒๗,000 ซอง 9.4 การใช้สเปรย์ฉีดยุงในบ้านผู้ป่วยและรอบบ้านผู้ป่วยเพื่อฆ่ายุงที่อาจจะมีเชื้อโรคไข้เลือดออกจำนวน ๒๐๐ ราย รายละ ๑๑ หลังคาเรือน หลังคาเรือนละ ๑ กระป๋อง รวม ๒,๒๐๐ กระป๋อง 10 การจัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการปฏิบัติงาน 11 รายงานและประเมินผลการดำเนินงานตามโครงการ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

งานป้องกันควบคุมโรคและระบาดวิทยา โรงพยาบาลตรัง ได้จัดทำโครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อนำโดยยุงลายในเขตเทสบาลนครตรัง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง ระยะเวลาดำเนินโครงการ ตั้งแต่ 1 มกราคม 2564 - 30 กันยายน 2564 สรุปกิจกรรมการดำเนินงานตามโครงการ ดังนี้ 1 . การผลิตสื่อสุขศึกษาเพื่อการประชาสัมพันธ์ โดยจัดทำสปอตบันทึกเสียง แผ่นปลิวประชาสัมพันธ์ และไวนิล 2. การรณรงค์ป้องกันโรคติดเชื้อนำโดยยุงลายในโรงเรียนมีการผลิตสื่อสุขศึกษาเพื่อประชาสัมพันธ์ ได้แก่ไวนิล จำนวน 9 ผืน แผ่นซีดีแผยแพร่ความรู้ สติกเกอร์ฟิวเจอร์บอร์ด 3. การรณรงค์ป้องกันโรคติดต่อนำโดยยุงลายในวัด มีการผลิดสื่อสุขศึกษาประชาสัมพันธ์ได้แก่ ไวนิลประชาสัมพันธ์ แผ่นซีดีเผยแพร่ความรู้ แผ่นปลิวประชาสัมพันธ์ 4. การรณรงค์ป้องกันโรคติดต่อนำโดยยุงลายในโรงพยาบาล มีการผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ ได้แก่ สติกเกอร์ฟิวเจอร์บอร์ด แผ่นปลิวประชาสัมพันธ์และมีการจัดกิจกรรมเดินรณรงค์ป้องกันโรคติดต่อนำโดยยุงลายในโรงพยาบาลและบ้านพัก 1 ครั้ง วันที่ 1 มกราคม 2564 -30 กันยายน 2564 ตำบลทับเที่ยงมีรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก 2 ราย คิดเป็นร้อยละ 3.30 ต่อแสนประชากร ไม่มีรายงานผู้ป่วยโรคชิคุนกุนยา และโรคซิก้า