กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านและอาสาสมัครบริบาลท้องถิ่น ในการดูแลส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในเขตเทศบาลตำบลทุ่งลาน ปีงบประมาณ 2564

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านและอาสาสมัครบริบาลท้องถิ่น ในการดูแลส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในเขตเทศบาลตำบลทุ่งลาน ปีงบประมาณ 2564
รหัสโครงการ 64-L5169-2-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เทศบาลตำบลทุ่งลาน
วันที่อนุมัติ 29 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 50,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ เทศบาลตำบลทุ่งลาน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งลาน อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานคนพิการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มี.ค. 2564 30 ก.ย. 2564 50,000.00
รวมงบประมาณ 50,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยเข้าสู่ “สังคมสูงอายุ” (Aged Society) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 กล่าวคือ มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10 ของประชากรทั้งประเทศ และ คาดว่าประเทศไทยจะมีประชากรสูงอายุสูงถึงร้อยละ 20 ใน พ.ศ.2564 กลายเป็น “สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์” (complete aged society)
จาการสำรวจของกรมอนามัย (2556) พบว่าผู้สูงอายุร้อยละ 95 เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังซึ่งจะนำไปสู่ภาวะทุพพลภาพและพึ่งพิง และมีผู้ป่วยนอนติดเตียง ร้อยละ 1 นอกจากนั้น ยังพบว่าผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงระดับสูง ไม่มีคนดูแลถึงร้อยละ 13 รัฐบาลจึงให้ความสำคัญในการดำเนินการเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ ซึ่งกลุ่มที่ต้องให้ความสำคัญอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ก็คือ กลุ่มผู้ป่วยติดเตียง เนื่องจากหากไม่ได้รับการดูแลอย่างถูกต้องและเหมาะสมแล้ว จะก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆตามมามากมาย ไม่ว่าจะเป็นทางสภาพร่างกายหรือจิตใจของทั้งผู้ป่วยและผู้ดูแล ซึ่งนอกเหนือจากการให้ความรู้ ให้กำลังใจและการเยี่ยมติดตามแล้ว เพื่อให้การดูแลมีประสิทธิภาพมากขึ้น ยังต้องให้การสนับสนุนด้านอุปกรณ์การดูแลครุภัณฑ์ทางการแพทย์ที่จำเป็น เนื่องจากอุปกรณ์การดูแล ครุภัณฑ์ทางการแพทย์ดังกล่าวมีราคาค่อนข้างสูง บางครอบครัวจึงไม่สามารถที่จะจัดซื้อได้ด้วยตนเอง การมีแหล่งสนับสนุนอุปกรณ์การดูแลครุภัณฑ์ทางการแพทย์เหล่านี้ จึงเป็นอีกหนึ่งภารกิจสำคัญในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยติดเตียงให้ดีขึ้นกว่าเดิม อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) อาสาสมัครบริบาลท้องถิ่น (อสบ.)เป็นกำลังหลักและสามารถรู้ปัญหาสุขภาพคนในชุมชนได้ดี บทบาทหน้าที่ที่สำคัญคือให้บริการด้านสุขภาพในเชิงรุก จึงจำเป็นต้องมีความรู้ และทักษะในการให้คำแนะนำ ให้ความช่วยเหลือ ส่งต่อกลุ่มเป้าหมายในชุมชนอย่างถูกวิธี เช่น คำแนะนำเรื่องการรับประทานอาหารที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการในแต่ละกลุ่มวัยและโรคประจำตัวของผู้พิการ การทำกายภาพบำบัดที่ถูกวิธี การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และฟื้นฟูมสรรถที่บ้าน แกนนำสุภาพสามารถช่วยในการประเมินภาวะสุขภาพของประชาชนในชุมชน สามารถป้องกันโรคแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นกับตัวบุคคล เป็นกิจกรรมที่สำคัญในการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันภาวะแทรกซ้อนของการกำเริบของโรคเพิ่มขึ้น งานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม สำนักปลัดเทศบาล เทศบาลตำบลทุ่งลาน จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านและอาสาสมัครบริบาลท้องถิ่น ในการดูแลส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในเขตเทศบาลตำบลทุ่งลาน ปีงบประมาณ 2564 เพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพ สร้างขวัญกำลังใจในการดำเนินชีวิตและยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง และส่งเสริมความรู้ และพัฒนาทักษะของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) อาสาสมัครบริบาลท้องถิ่น (อสบ.) ให้กลุ่มเป้าหมายสามารถดูแลด้านสุขภาพได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และอาสาสมัครบริบาลท้องถิ่น (อสบ.) ให้มีความรู้ความสามารถและเข้าใจบทบาทหน้าที่เพิ่มขึ้นและทันต่อสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงทางด้านสุขภาพ

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และอาสาสมัครบริบาลท้องถิ่น (อสบ.) มีความรู้ความสามารถและเข้าใจบทบาทหน้าที่เพิ่มขึ้นและทันต่อสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงทางด้านสุขภาพเพิ่มมากขึ้น

0.00
2 เพื่อสร้างการบริการเชิงรุก เฝ้าระวัง ติดตาม ให้คำแนะนำด้านการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค การรักษาและการฟื้นฟูสมรรถภาพแก่ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง

ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงได้รับกายภาพบำบัด ฟื้นฟูสมรรถภาพ และดูแลสุขภาพแบบองค์รวมจากอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และอาสาสมัครบริบาลท้องถิ่น (อสบ.)

0.00
3 เพื่อสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และอาสาสมัครบริบาลท้องถิ่น (อสบ.) ในการดูแลปัญหาด้านสาธารณสุข

ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง มีขวัญและกำลังใจ ได้รับการดูแลอย่างถูกวิธีและมีชีวิตที่ดีขึ้น

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 50,000.00 2 50,000.00
1 ม.ค. 64 - 28 ก.พ. 64 กิจกรรมอบรมพัฒนาศักยภาพทักษะทางด้านวิชาการสาธารณสุข ในอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) อาสาสมัครบริบาลท้องถิ่น (อสบ.) 0 5,000.00 5,000.00
1 ม.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมกายภาพบำบัด ฟื้นฟูสมรรถภาพแก่ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงผู้สูงอายุโดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) อาสาสมัครบริบาลท้องถิ่น (อสบ.) 0 45,000.00 45,000.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และอาสาสมัครบริบาลท้องถิ่น (อสบ.) มีความรู้ความสามารถและเข้าใจบทบาทหน้าที่เพิ่มขึ้นและทันต่อสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงทางด้านสุขภาพเพิ่มมากขึ้น
  2. ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงได้รับกายภาพบำบัด ฟื้นฟูสมรรถภาพ และดูแลสุขภาพแบบองค์รวมจากอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และอาสาสมัครบริบาลท้องถิ่น (อสบ.)
  3. ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง มีขวัญและกำลังใจ ได้รับการดูแลอย่างถูกวิธีและมีชีวิตที่ดีขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 ธ.ค. 2563 00:00 น.