กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการคัดกรองภาวะแทรกซ้อนทางตา ไต หัวใจ เท้า ในผู้ป่วยเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง เครือข่ายสุขภาพตำบลปาล์มพัฒนา อำเภอมะนัง จังหวัดสตูล ปีงบประมาณ 2564

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปาล์มพัฒนา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคัดกรองภาวะแทรกซ้อนทางตา ไต หัวใจ เท้า ในผู้ป่วยเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง เครือข่ายสุขภาพตำบลปาล์มพัฒนา อำเภอมะนัง จังหวัดสตูล ปีงบประมาณ 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปาล์มพัฒนา

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอมะนัง

พื้นที่ตำบลปาล์มพัฒนา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 มีผู้ป่วยเบาหวานในความรับผิดชอบ (ราย)

 

416.00
2 มีผู้ป่วยความดันโลหิตสูงในความรับผิดชอบ (ราย)

 

950.00
3 ผู้ป่วยเบาหวานได้รับการคัดกรองภาวะแทรกซ้อนทางตา (ราย)

 

147.00
4 ทางไตและคัดกรองภาวะเสี่ยง CVD Risk โรคหัวใจ (ราย)

 

369.00
5 ผู้ป่วยเบาหวานทางเท้า (ราย)

 

102.00

โรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่มีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นทุกปี ผู้ป่วยเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและควบคุมระดับความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้นั้นจะส่งผลทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนของร่างกายตามมาในหลายระบบ อาทิเช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ไตวาย เบาหวานขึ้นจอตา แผลที่เท้า เป็นต้น จากรายงานระบบโรคไม่ติดต่อเรื้อรังจังหวัดสตูล ปี 2563 พบว่าสถานการณ์โรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงในเขตตำบลปาล์มพัฒนา อำเภอมะนัง มีผู้ป่วยเบาหวานในความรับผิดชอบ จำนวน416 ราย ความดันโลหิตสูง 950 รายผู้ป่วยเบาหวานได้รับการคัดกรองภาวะแทรกซ้อนทางตา จำนวน 147 ราย คิดเป็นร้อยละ 35.33
ทางไตและคัดกรองภาวะเสี่ยง CVD Risk โรคหัวใจ จำนวน 369 ราย คิดเป็นร้อยละ 68.47 คัดกรองทางเท้า จำนวน 102 ราย คิดเป็นร้อยละ 23.56 จากการคัดกรองพบว่า ผู้ป่วยเบาหวานมีภาวะแทรกซ้อนทางตาร้อยละ 3.39 ทางเท้าร้อย0.60 ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงมีภาวะแทรกซ้อนหลอดเลือดหัวใจร้อยละ 0.13หลอดเลือดสมองร้อยละ 6.70
ทางไตระยะ 3-5 ร้อยละ 20.15ซึ่งภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวสามารถป้องกันมิให้เกิดความรุนแรงเพิ่มขึ้นได้หากมีคัดกรองและเข้าถึงบริการมากขึ้นและได้รับการรักษาส่งต่อทันถ่วงที มีประสิทธิภาพ
จากการวิเคราะห์ข้อมูลผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนทางตาของผู้ป่วยในทุกๆปียังไม่บรรลุเป้าหมาย เนื่องจาก ด้านผู้ป่วย 1.ผู้ป่วยเบาหวานขาดความรู้ในการดูแลป้องกันตนเอง2.ผู้ป่วยมารับบริการน้อยส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุอาศัยอยู่ลำพัง ด้านบุคลากร 1. ขาดบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในการตรวจจอประสาทตา ด้านอุปกรณ์ 1.อุปกรณ์ในการตรวจไม่เพียงพอต้องมีการขอรับสนับสนุนจากโรงพยาบาลจังหวัดและมีการจองคิวล่วงหน้าเพราะใช้ทุกอำเภอในจังหวัด 2.ระยะเวลาที่ได้เครื่องมาตรวจน้อยและต้องไปตรวจที่โรงพยาบาลชุมชนในวันคลินิกเท่านั้น เพื่อให้ผู้ป่วยมีโอกาสเข้าถึงบริการเพิ่มขึ้นเน้นการปรับระบบการคัดกรอง,การเจาะเลือดประจำปี ,คัดกรองตา,ไต เท้า ช่องปากและฟัน โดยนำทีมสหวิชาชีพลงไปในพื้นที่ รพสต. และเพิ่มจำนวนวันในการตรวจคัดกรองและจัดหาอุปกรณ์สนับสนุนเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการคัดกรอง ดูแลและรักษาภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวอย่างเหมาะสม จะทำให้ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงลงได้
ดังนั้นสำนักงานสาธารณสุขอำเภอมะนัง จึงได้จัดโครงการคัดกรองภาวะแทรกซ้อนทางตา ไต หัวใจ เท้า ในผู้ป่วยเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง เครือข่ายสุขภาพตำบลปาล์มพัฒนา อำเภอมะนัง จังหวัดสตูล ปีงบประมาณ 2564
เพื่อค้นหาภาวะแทรกซ้อน การติดตามดูแลรักษา และส่งต่ออย่างมีประสิทธิภาพในผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนต่อไปสถานการณ์โรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงในเขตตำบลปาล์มพัฒนา อำเภอมะนังมีผู้ป่วยเบาหวานในความรับผิดชอบ จำนวน416 ราย ความดันโลหิตสูง 950 รายผู้ป่วยเบาหวานได้รับการคัดกรองภาวะแทรกซ้อนทางตา จำนวน 147 ราย คิดเป็นร้อยละ 35.33 ทางไตและคัดกรองภาวะเสี่ยง CVD Risk โรคหัวใจ จำนวน 369 ราย คิดเป็นร้อยละ 68.47 คัดกรองทางเท้า จำนวน 102 ราย คิดเป็นร้อยละ 23.56 จากการคัดกรองพบว่า ผู้ป่วยเบาหวานมีภาวะแทรกซ้อนทางตาร้อยละ 3.39 ทางเท้าร้อย0.60 ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงมีภาวะแทรกซ้อนหลอดเลือดหัวใจร้อยละ0.13หลอดเลือดสมองร้อยละ 6.70 ทางไตระยะ 3-5 ร้อยละ 20.15

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราผู้ป่วยมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพตา ไต หัวใจ เท้าที่ถูกต้อง และสามารถป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ (ร้อยละ)

ผู้ป่วยมีความรู้ความเข้าใจในการป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน

90.00 80.00
2 เพื่อลดอัตราผู้ป่วยเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงได้รับการตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนทางตา ไต หัวใจ เท้า ได้อย่างครอบคลุม(ร้อยละ)

ร้อยละผู้ป่วยได้รับการตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนทางตา ไต หัวใจ เท้า

90.00 60.00
3 เพื่อเพิ่มอัตราผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนได้รับการดูแลรักษาต่อเนื่อง และส่งต่ออย่างมีประสิทธิภาพ

เพิ่มผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนได้รับการดูแลรักษาต่อเนื่อง และส่งต่ออย่างมีประสิทธิภาพ

50.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 200
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2021

กำหนดเสร็จ 31/08/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพพร้อมทั้งตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วย ครั้งที่ 1 รพ.สต.บ้านมะนัง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพพร้อมทั้งตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วย ครั้งที่ 1 รพ.สต.บ้านมะนัง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

(1) ค่าป้ายไวนิลโครงการ (ขนาด 2 x 1.5 เมตร) จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 450 บาท
ครั้งที่ 1 รพ.สต.บ้านมะนัง กลุ่มเป้าหมายจำนวน 60 คน (1) ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อๆ ละ 60 บาท x 60 คน เป็นเงิน 3,600 บาท (2) ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 2 มื้อๆ ละ 25 บาท x 60 คน เป็นเงิน 3,000บาท (3) ค่าวิทยากรในการอบรม จำนวน 3 ชั่วโมงๆ ละ 300 บาทเป็นเงิน900 บาท รวมเป็นเงิน 7,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ป่วยมีความรู้ความเข้าใจในการป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7950.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพพร้อมทั้งตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วย ครั้งที่ 2 รพ.สต.ปาล์มพัฒนา

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพพร้อมทั้งตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วย ครั้งที่ 2 รพ.สต.ปาล์มพัฒนา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ครั้งที่ 2 รพ.สต.ปาล์มพัฒนากลุ่มเป้าหมายจำนวน 60 คน (1) ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อๆ ละ 60 บาท x 60 คนเป็นเงิน 3,600บาท (2) ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 2 มื้อๆ ละ 25 บาท x 60 คนเป็นเงิน 3,000บาท (3) ค่าวิทยากรในการอบรม จำนวน 3 ชั่วโมงๆ ละ 300 บาท เป็นเงิน900 บาท รวมเป็นเงิน 7,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ป่วยได้รับการตรวจคัดกรอง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7500.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพพร้อมทั้งตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วย ครั้งที่ 3 รพ.มะนัง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพพร้อมทั้งตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วย ครั้งที่ 3 รพ.มะนัง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ครั้งที่ 3 รพ.มะนัง กลุ่มเป้าหมายจำนวน 80 คน (1) ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อๆ ละ 80 บาท x 60 คน เป็นเงิน 4,800บาท (2) ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 2 มื้อๆ ละ 25 บาท x 80 คน
                                                                          เป็นเงิน 4,000บาท (3) ค่าวิทยากรในการอบรม จำนวน 3 ชั่วโมงๆ ละ 300 บาทเป็นเงิน  900 บาท                                                                     รวมเป็นเงิน 9,700 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ภาวะแทรกซ้อนทางตา ไต หัวใจ เท้า

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9700.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 25,150.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการวินิจฉัยว่าป่วยได้รับความรู้และเข้าถึงบริการตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนทางตาเพิ่มมากขึ้น สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี และได้รับการรักษาและส่งต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ


>