กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาลนครตรัง ปี 2566
รหัสโครงการ 2566-L6896-01-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลตรัง
วันที่อนุมัติ 19 ธันวาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2566
งบประมาณ 110,440.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางกรองแก้ว ทองเรืองสุกใส
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.559,99.616place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง , แผนงานคนพิการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 268 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 360 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในเขตเทศบาลนครตรัง มีประชากรทั้งสิ้น 60,352 คน มีผู้สูงอายุทั้งสิ้น 10,120 คน คิดเป็นร้อยละ 16.77ซึ่งนับว่าเป็นสังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบ จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นและสำคัญยิ่ง การดูแลส่งเสริมสุขภาพที่ถูกต้องชัดเจนเป็นรูปธรรมนั้นสำคัญ คือ ผู้สูงอายุต้องไม่มีหกล้มจากการลื่น, การเคลื่อนไหวที่ดีถูกวิธี,สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันเองได้ตามสภาพบริบท, มีสุขภาพช่องปากที่ดี ไม่เกิดภาวะขาดสารอาหาร มีสุขภาวะทางการมองเห็นและการได้ยินที่ดี, สามารถกลั้นปัสสาวะได้ ไม่เกิดความถดถอยของความคิดความจำ และสุขภาพจิตที่ดี ไม่ซึมเศร้าและจากการดำเนินงาน ปี 2565ได้นำร่องการดำเนินการเฝ้าระวังผู้สูงอายุทั้งสิ้น 100 คน โดยการคัดกรองความถดถอย 9 และได้ให้การดูแลช่วยเหลือพร้อมทั้งติดตามประเมินซ้ำด้านซึ่งได้ทำการติดตามประเมินผลทั้งสิ้นจำนวน 3 ครั้ง พบว่า ผู้สูงอายุ มีความถดถอยด้านการเคลื่อนไหวจำนวน 72 คน แย่ลง 6 คน คิดเป็นร้อยละ 8.33 ด้านการขาดสารอาหาร จำนวน 20 คน ดีขึ้น 8 คน คิดเป็นร้อยละ 40.00 ด้านการมองเห็นจำนวน 62 คน ดีขึ้น 2 คน คิดเป็นร้อยละ 3.22  ด้านการได้ยินจำนวน 46 คน ดีขึ้น 10 คน คิดเป็นร้อยละ 21.74 ด้านภาวะซึมเศร้าจำนวน 16 คน ดีขึ้น 7 คน คิดเป็นร้อยละ 87.50 ด้านการกลั้นปัสสาวะจำนวน 44 คน ดีขึ้น 8 คน คิดเป็นร้อยละ 18.18 ด้านการประเมินกิจวัตรประจำวัน(ADL)จำนวน 46 คน แย่ลง 2 คน คิดเป็นร้อยละ 4.35 ด้านช่องปากจำนวน 70 คน ดีขึ้น 14 คน คิดเป็นร้อยละ 20 และด้านความคิดความจำจำนวน 6 คน แย่ลง 6 คน คิดเป็นร้อยละ 10.34
    ภารกิจด้านบริการปฐมภูมิ โรงพยาบาลตรัง ได้เล็งเห็นความสำคัญของการสร้างเสริมสุขภาพดังกล่าวที่ควรจะดูแลต่อเนื่อง พร้อมทั้งดูแลติดตามเฝ้าระวังผู้สูงอายุทั้งเขตเทศบาลนครตรัง จึงได้จัด“โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ เขตเทศบาลนครตรังปี 2566”ขึ้น เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแลส่งเสริมสุขภาพและมีสุขภาพชีวิตที่ดีขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ผู้สูงอายุได้รับการคัดกรองประเมินสุขภาพแบบถดถอยสุขภาพ 9 ด้าน

ร้อยละ 60 ของผู้สูงอายุ ได้รับการคัดกรองประเมินสุขภาพแบบถดถอยสุขภาพ  9 ด้าน

2 เพื่อให้ผู้สูงอายุ ที่มีภาวะถดถอยด้านการเคลื่อนไหวเพียงด้านเดียว (นำร่อง)ไม่มีภาวะหกล้ม

ร้อยละ 70 ของผู้สูงอายุ ที่เข้าร่วมเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุที่มีภาวะถดถอยทางการเคลื่อนไหว(นำร่อง) ไม่มีภาวะหกล้ม

3 เพื่อให้ผู้สูงอายุทุกคนที่มีภาวะถดถอยอย่างเร่งด่วนได้รับการดูแลจากแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว

ร้อยละ 100 ของผู้สูงอายุที่มีภาวะถดถอยด้านสุขภาพได้รับการดูแลในคลินิกผู้สูงอายุและได้รับการดูแลจากแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณม.ค. 66ก.พ. 66มี.ค. 66เม.ย. 66พ.ค. 66มิ.ย. 66ก.ค. 66ส.ค. 66ก.ย. 66
1 กิจกรรมลงสำรวจสุขภาพและประเมินคัดกรองถดถอย 9 ด้าน ของผู้สูงอายุในชุมชน โดยอสม.(23 ม.ค. 2566-23 ม.ค. 2566) 0.00                  
2 กิจกรรมวิเคราะห์ข้อมูล/แบ่งกลุ่มผู้สูงอายุ(23 ม.ค. 2566-29 ก.ย. 2566) 11,360.00                  
3 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลการดำเนินงานร่วมกันโดยนำผู้สูงอายุที่มีผลการดูแลตนเองดีและมีปัญหา,แพทย์เวชเวชศาสตร์ครอบครัว,พยาบาลชุมชนและอสม.มาร่วมถอดบทเรียนร่วมกัน(23 ม.ค. 2566-29 ก.ย. 2566) 13,890.00                  
4 อบรมให้ความรู้การใช้แบบประเมินคัดกรองส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ แก่ อสม./แกนนำ(30 มิ.ย. 2566-30 มิ.ย. 2566) 79,390.00                  
5 กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในกลุ่มที่มีภาวะถดถอยทางการเคลื่อนไหวเพียงด้านเดียวนำร่อง จำนวน 50 คน(24 ก.ค. 2566-24 ก.ค. 2566) 5,800.00                  
รวม 110,440.00
1 กิจกรรมลงสำรวจสุขภาพและประเมินคัดกรองถดถอย 9 ด้าน ของผู้สูงอายุในชุมชน โดยอสม. กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0
2 กิจกรรมวิเคราะห์ข้อมูล/แบ่งกลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 60 11,360.00 1 0.00
23 ม.ค. 66 กิจกรรมวิเคราะห์ข้อมูล/แบ่งกลุ่มผู้สูงอายุ 60 11,360.00 0.00
3 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลการดำเนินงานร่วมกันโดยนำผู้สูงอายุที่มีผลการดูแลตนเองดีและมีปัญหา,แพทย์เวชเวชศาสตร์ครอบครัว,พยาบาลชุมชนและอสม.มาร่วมถอดบทเรียนร่วมกัน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 300 13,890.00 1 0.00
23 ม.ค. 66 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลการดำเนินงานร่วมกันโดยนำผู้สูงอายุที่มีผลการดูแลตนเองดีและมีปัญหา,แพทย์เวชเวชศาสตร์ครอบครัว,พยาบาลชุมชนและอสม.มาร่วมถอดบทเรียนร่วมกัน 300 13,890.00 0.00
4 อบรมให้ความรู้การใช้แบบประเมินคัดกรองส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ แก่ อสม./แกนนำ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 268 79,390.00 1 40,990.00
23 ม.ค. 66 อบรมให้ความรู้การใช้แบบประเมินคัดกรองส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ แก่ อสม./แกนนำ 268 79,390.00 40,990.00
5 กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในกลุ่มที่มีภาวะถดถอยทางการเคลื่อนไหวเพียงด้านเดียวนำร่อง จำนวน 50 คน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 60 5,800.00 1 5,800.00
24 ก.ค. 66 กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในกลุ่มที่มีภาวะถดถอยทางการเคลื่อนไหวเพียงด้านเดียวนำร่อง จำนวน 50 คน 60 5,800.00 5,800.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้สูงอายุ ได้รับการคัดกรองประเมินสุขภาพแบบถดถอยสุขภาพ 9 ด้าน
  2. ผู้สูงอายุที่มีภาวะถดถอยด้วยการเคลื่อนไหวเพียงด้านเดียว(นำร่อง) ไม่มีภาวะหกล้ม
  3. ผู้สูงอายุทุกคนที่มีภาวะถดถอยด้านสุขภาพได้รับการดูแล(คลินิกผู้สูงอายุ)ได้รับการดูแลจากแพทย์เวชศาสตร์ทุกคน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 ม.ค. 2566 10:11 น.