กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ห่วงใย ใส่ใจผู้บริโภค ตำบลฉลุง
รหัสโครงการ 61-L5273-1-4
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลฉลุง
วันที่อนุมัติ 14 พฤศจิกายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2560 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 16,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลฉลุง
พี่เลี้ยงโครงการ นางดวงใจ อ่อนแก้ว
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลฉลุง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.007,100.296place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 66 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 150 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

อาหารเป็นหนึ่งในปัจจัยที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต การบริโภคอาหารที่ไม่สะอาดเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคภัยไข้เจ็บ โดยมีเชื้อโรคและสารปนเปื้อนหลายชนิดที่เป็นอันตรายถึงชีวิต การบริโภคอาหารเพื่อให้ได้อาหารที่สะอาดปลอดภัยมีคุณค่าตามหลักโภชนาการและปราศจากสารปนเปื้อนนั้น จำเป้นต้องมีระบบการดูแลควบคุมตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหารที่สะอาดปลอดภัยมีคุณค่าตามหลักโภชนาการและปราศจากสารปนเปื้อนนั้น จำเป็นต้องมีระบบการดูแลควบคุมตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหารทุกกระบวนการฉะนั้นเพื่อให้ประชาชนสามารถจัดหาอาหารที่สะอาดปลอดภัยมาบริโภคได้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงจำเป็นต้องมีระบบการดูแลควบคุมตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหารและดำเนินการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั่วไปสามารถรับทราบข้อมูลและเข้าถึงการบริโภคอหารที่สะอาดและปลอดภัยได้ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลฉลุงจึงได้จัดทำโครงการคุ้มครองผู้บริโภค ตำบลฉลุงเพื่อเป็นการเฝ้าระวังและประกันคุณภาพของอาหารและเป็นการพัฒนาและสร้างความรู้แก่ผู้ประกอบการและผู้บริโภคให้ตระหนักถึงความสำคัญของการเลือกซื้ออาหารที่เหมาะสมอันจะส่งผลให้ประชาชนได้บริโภคอาหารที่สะอาด ปลอดภัย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อ 1.เพื่อให้ผู้ประกอบการร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหาร มีความรู้ ความเข้าใจด้านการสุขาภิบาลอาหาร และลด ละ เลิกการใช้โฟม

ร้อยละ 95 ของผู้ประกอบการและแผงลอยจำหน่าย เข้าร่วมการประชุมให้ความรู้หลักสูตรสุขาภิบาลอาหาร

0.00
2 ข้อ 2. เพื่อปรับปรุงและพัฒนาร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหารให้ผ่านเกณฑ์ข้อกำหนดสุขาภิบาลอาหาร 12 ข้อ และพัฒนาแผงลอยจำหน่ายอาหารให้ได้รับป้ายอาหารสะอาด รสชาติอร่อย (CFGT)

ร้อยละ 95 ของร้านอาหารและแผงลอยผ่านเกณฑ์ข้อกำหนดสุขาภิบาลอาหาร 12 ข้อ และ 15 ข้อ

0.00
3 ข้อ 3.เพื่อสร้างองค์กรต้นแบบเลิกการใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหาร 100 %

มีหน่วยงาน/องค์กรต้นแบบลด ละ เลิกการใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหาร อย่างน้อย 1 แห่ง

0.00
4 ข้อ 4.เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงต่อยาฆ่าแมลงได้รับการตรวจเลือดเพื่อหาปริมาณสารตกค้างในกระแสเลือด

ร้อยละ 90 ของกลุ่มเสี่ยงต่อยาฆ่าแมลงได้รับการตรวจเลือดเพื่อหาปริมาณสารตกค้างในกระแสเลือด

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 14.00 6 16,400.00
1 มี.ค. 61 - 31 ส.ค. 61 1.จัดประชุมให้ความรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้แก่ผู้ประกอบการอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหาร หรือผู้สัมผัสอาหาร เรื่องการสุขาภิบาลอาหาร และการลด ละ เลิกใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหาร 0 5.00 5,700.00
1 มี.ค. 61 - 31 ส.ค. 61 2.จัดประชุมให้ความรู้เรื่องอาหารและการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัย แก่เจ้าของแผงลอยจำหน่วยอาหารประเภท ปิ้ง ย่าง ยำ และเจ้าของร้านขายของชำ 0 1.00 1,950.00
1 มี.ค. 61 - 31 ส.ค. 61 3.ประชาสัมพันธ์เชิญชวน ประชุมขอความร่วมมืองค์กร/ชุมชน ระดับตำบล เช่น โรงเรียน อบต.ส่วนราชการ เข้าร่วมกิจกรรมรณรงค์ลด ละ เลิก ใช้โฟมบรรจุอาหาร 0 3.00 3,000.00
1 มี.ค. 61 - 31 ส.ค. 61 4.จัดประชุมให้ความรู้ในการใช้ยาฆ่าแมลง และบริโภคผักปลอดสารพิษ การล้างผัก การปลูกผักกินเอง 0 3.00 3,750.00
1 มี.ค. 61 - 31 ส.ค. 61 5.ตรวจประเมินร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหาร 0 0.00 0.00
1 มี.ค. 61 - 31 ส.ค. 61 6.ตรวจสุขภาพกลุ่มเสี่ยงในการใช้ยาฆ่าแมลง 0 2.00 2,000.00

1.จัดประชุมให้ความรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้แก่ผู้ประกอบการอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหาร เรื่องการสุขาภิบาลอาหารและขอความร่วมมือลด ละ เลิก การใช้โฟมบรรจุอาหาร 2.จัดประชุมให้ความรู้เรื่องอาหารและการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยแก่เจ้าของแผงลอยจำหน่ายอาหารประเภท ปิ้ง ย่าง ยำ และเจ้าของร้านขายของชำ 3.ประสานงานกับ สสอ. และ CUP ขอสนับสนุนยานพาหนะในการออกปฏิบัติงานเชิงรุก 4.ขอสนับสนุนน้ำยา si2 จาก สสอ. และ CUP 5.อสม.ช.ที่ผ่านการอบรมสุขาภิบาลอาหารออกแนะนำเจ้าของแผงลอยจำหน่ายอาหารประเภทปิ้ง ย่าง ยำ และเจ้าของร้านขายของชำ ก่อนทีมคณะทำงานอาหารปลอดภัยโซนฯออกตรวนประเมิน 6.ประสานทีมคณะทำงานอาหารปลอดภัยโซนฯออกตรวจ ประเมินร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหาร พร้อมให้คำแนะนำในการปฏิบัติเพื่อให้ผ่านเกณฑ์ตามข้อกำหนดสุขาภิบาลอาหาร 7.ตรวจการปนเปื้อนโคลิฟอร์มแบคทีเรียของผู้สัมผัสอาหาร ภาชนะอุปกรณ์ด้วยน้ำยา si2 แก่ร้านอาหารและแผงลอยที่ผ่านการประเมินตามข้อกำหนดสุขาภิบาลอาหาร 8.จัดทำหนังสือและประชาสัมพันธ์เชิญชวน ขอความร่วมมือองค์กร/ชุมชน ระดับตำบลเข้าร่วมกิจกรรมรณรงค์ลด ละ เลิก ใช้โฟมบรรจุอาหาร 9.จัดตรวจสุขภาพกลุ่มเสี่ยงในการใช้ยาฆ่าแมลง และบริโภคผักปลอดสารพิษ โดยการตรวจเลือด พร้อมให้ความรู้ในการปฏิบัติตน เช่น การล้างผัก การปลูกผักกินเอง 10.ประชาสัมพันธ์การเลือกบริโภคอาหารที่สะอาดและปลอดภัยจากยาฆ่าแมลงผ่านผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา และหอกระจายข่าวอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง 11.ส่งเสริมการปลูกผักปลอดสารพิษในชุมชน 12.สรุปผลการดำเนินงาน และประเมินผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้ประกอบการแผงลอยจำหน่ายอาหารในพื้นที่ตำบลฉลุง มีความรู้ในเรื่องสุขาภิบาลอาหาร 2.แผงลอยผ่านเกณฑ์ข้อกำหนดสุขาภิบาลอาหารและได้รับป้าย ร้านอาหารสะอาด รสชาติอร่อย (CFGT) 3.มีหน่วยงาน/องค์กรต้นแบบลด ละ เลิกการใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหาร อย่างน้อย 1 แห่ง 4.กลุ่มเสี่ยงต่อยาฆ่าแมลงในพื้นที่มีความรู้ความเข้าใจในการเลือกบริโภคอาหาร และได้รับการตรวจเลือดเพื่อหาปริมาณสารตกค้างในกระแสเลือด

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 มี.ค. 2561 15:25 น.