กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ควนโดน


“ โครงการพัฒนาระบบบริการงาน NCD สู่คลีนิคคุณภาพอย่างยืน รพ.สต.ควนโดน ปี 2560 ”

ตำบลควนโดน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล

หัวหน้าโครงการ
นางสาวลลิตา ยะฝา

ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาระบบบริการงาน NCD สู่คลีนิคคุณภาพอย่างยืน รพ.สต.ควนโดน ปี 2560

ที่อยู่ ตำบลควนโดน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล จังหวัด สตูล

รหัสโครงการ 60-50094-1-11 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ 2560 ถึง 30 กันยายน 2560


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการพัฒนาระบบบริการงาน NCD สู่คลีนิคคุณภาพอย่างยืน รพ.สต.ควนโดน ปี 2560 จังหวัดสตูล" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลควนโดน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ควนโดน ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการพัฒนาระบบบริการงาน NCD สู่คลีนิคคุณภาพอย่างยืน รพ.สต.ควนโดน ปี 2560



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการพัฒนาระบบบริการงาน NCD สู่คลีนิคคุณภาพอย่างยืน รพ.สต.ควนโดน ปี 2560 " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลควนโดน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล รหัสโครงการ 60-50094-1-11 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 กุมภาพันธ์ 2560 - 30 กันยายน 2560 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 25,600.00 บาท จาก กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ควนโดน เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุขในหลายประเทศรวมทั้งประเทศไทยล้วนแล้วแต่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง สิ่งแวดล้อม ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และสารสนเทศ ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาวะสุขภาพของประชาชน กล่าวคือ ทำให้เกิดการเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ และโรคที่เกิดขึ้นนั้นเป็นการแปรเปลี่ยนโรคจากความยากจนและโรคติดต่อมาเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ โรคอ้วน โรคไขมันในเลือดสูง โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น ทั้งนี้ สาเหตุของโรคดังกล่าว เกิดจากการมีพฤติกรรมการดำรงชีวิตที่ไม่ถูกต้องทั้งสิ้น เช่น การกินอาหารที่มีไขมันสูง การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา ภาวะเครียด และขาดการออกกำลังกาย เป็นต้น ซึ่งล้วนแต่ส่งผลต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อที่สำคัญได้ทั้งนั้น สภาวะการเจ็ยป่วยและสาเหตุการตายที่สำคัญของประชาชนจังหวัดสตูลส่วนใหญ่ เป็นกลุ่มโรคไม่ติดต่อซึ่งปัญหาความเจ็บป่วยจากโรคไร้เชื้อเรื้อรังเหล่านี้ เกิดจากพฤติกรรมเสี่ยงที่สามารถป้องกันได้ เช่น การบริโภคอาหารที่ไม่ถูกต้อง ขาดการออกกำลังกาย และการจัดการด้านอารมณ์ที่ไม่เหมาะสม จนเกิดภาวะอ้วนลงพุง และโรคไม่ติดต่ออื่นๆ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นโรคที่เกิดจากวิถีชีวิตทั้งสิ้น จะเห็นได้ว่า ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี โดยเฉพาะในรายการที่เกิดภาวะแทรกซ้อน ยังส่วผลให้ต้องพึ่งพาผู้อื่น เป็นภาระแก่สมาชิกในครอบครัว และยังทำให้ครอบครัวต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาเป็นจำนวนมากอีกด้วย นอกจากนี้ ผู้ป่วยยังมีโอกาสเสียชีวิตจากหัวใจวายมากถึงร้อยละ 60-75 เสียชีวิตจากเส้นเลือดสมองแตกหรืออุดตัน ร้อยละ 20-30 เสียชีวิตจากไตวายร้อยละ 5-10 ส่วนผู้ที่รอดชีวิตก็มีโอกาสเป็นอัมพฤกษ์หรืออัมพาตได้
จากการปฏิบัติงานในปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ ปี 2557 ถึงปี 2560 (13 มีนาคม 2560) ผลการดำเนินงานโดยรวมในการดูแลสุขภาพในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ตามตัวชี้วัดกระทรวงสาธารณสุขของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนโดน ซึ่งมีผลการปฎิบัติงานดังนี้ ตัวชี้วัดร้อยละผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี มากกว่าร้อยละ 40 ผลงานปี 2557 ถึง 2560 ได้แก่ ร้อยละ 4.15, ร้อยละ 25.00 , ร้อยละ 14.05 และร้อยละ 14.09 ตามลำดับ จากผู้รับบริการทั้งหมด 313 คน, 288 คน , และ 298 คน ตามลำดับ ตัวชี้วัดร้อยละผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดีมากกว่าร้อยละ 50 ผลงานปี 2557 ถึง 2560 ได้แก่ ร้อยละ 9.29 , ร้อยละ 50.16 และร้อยละ 51.44 ตามลำดับ จากผู้รับบริการทั้งหมด 176 คน,179 คน,307 คน และ 381 คน ตามลำดับ และตัวชี้วัดอัตราผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงที่ขึ้นทะเบียนได้รับการประเมินโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดผล งานปี 2558 ถึง 2560 ได้แก่ (ปี 58) ผู้ป่วยทั้งหมด 208 คน ระดับ 1 = 160 คน คิดเป็นร้อยละ 76.92 , ระดับ 2 = 46 คน คิดเป็นร้อยละ 22.12,ระดับ 3 =2 คน คิดเป็นร้อยละ 0.96 (ปี 59) ผู้ป่วยทั้งหมด 210 คน ระดับ 1=161 คน คิดเป็นร้อยละ 76.67, ระดับ 2=41 คน คิดเป็นร้อยละ 19.52, ระดับ 3=6 คน คิดเป็นร้อยละ 2.86 , ระดับ 4=1 คน คิดเป็นร้อยละ 0.48, ระดับ 5=1 คน คิดเป็นร้อยละ 0.48 (ปี60) ผู้ป่วยทั้งหมด 281 คน ระดับ 1 = 240 คน คิดเป็นร้อยละ 85.41 , ระดับ 2 = 34 คน คิดเป็นร้อยละ 12.10,ระดับ 3 =7 คน คิดเป็นร้อยละ 2.49 ตามลำดับ จากข้อมูลจะเห็นได้ว่าอัตราผู้ป่วยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี ในเรื่องตัวชี้วัดการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ผลงาน ยังไม่ผ่านเกณฑ์เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายมีจำนวนมากและเป็นเรื่องที่ท้าทาย ที่จะต้องดำเนินการต่อไปเพื่อให้ผ่านเกณฑ์การประเมินต่อไป ในเรื่องการควบคุมระดับความดันโลหิตในปี 2559 และปี 2560 (13 มีนาคม 60) ผ่านการประเมินตัวชี้วัด และต้องดำเนินงานต่อเพื่อคงระดับให้ดียิ่งขึ้นไป และในส่วนของการประเมินโอกาศเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ผลการปฏิบัติงานมีแนวโน้มดีขึ้นในทุกๆปี ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีความเสี่ยงอยู่ในระดับ 1 เป็นผลงานที่ต้องดำเนินการต่อและพัฒนาผลงานให้ดียิ่งขึ้นต่อไป ซึ่งนับว่าเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่จะต้องดำเนินการแก้ไขโโยเร่งด่วน เพื่อให้ผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าว ได้รับบริการตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนที่ครอบคลุมตามตัวชี้วัดของกระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อน โดยครอบครัว ชุมชน และสังคม มีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพ ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนโดน จึงได้จัดทำ โครงการพัฒนาระบบบริการงาน NCD สู่คลีนิคคุณภาพอย่างยั่งยืน รพ.สต.ควนโดน ปี2560

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. 1. เพื่อให้แกนนำ อสม.ด้านโรคเรื้อรัง มีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
  2. 2. เพื่อให้กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้ดูแลมีความรู้ ความเข้าใจ พร้อมทั้งตระหนักถึงความสำคัญของการควบคุมและป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคที่เหมาะสมกับกลุ่มสีของตน
  3. 3. เพื่อให้กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ได้รับการตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนทางตา ไต เท้า หัวใจ และหลอดเลือด ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีภาวะเสี่ยง ได้รับการเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเข้มข้น/ได้รับยาในการตรวจรักษาอย่างคลอบคลุม
  4. 4. เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมระดับน้ำตาล/ระดับความดันโลหิตได้ดีตามเป้าหมายในแต่ละระยะของโรคในผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนและ/หรือมีปัญหาการควบคุมได้ไม่ดีตามเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง สุ่มเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้รับการส่งต่อที่ถูกต้องเหมาะสม

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
    กลุ่มวัยทำงาน
    กลุ่มผู้สูงอายุ
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 160
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

    1.แกนนำ อสม.ด้านโรคเรื้อรัง มีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 2. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้ดูแลมีความรู้ ความเข้าใจ พร้อมทั้งตระหนักถึงความสำคัญของการควบคุมและป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคที่เหมาะสมกับกลุ่มสีของตน 3.กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้รับการตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนทางตา ไต เท้า หัวใจและหลอดเลือด ในกลุ่มผุ้ป่วยที่มีภาวะเสี่ยง ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเข้มข้น/ได้รับยาในการตรวจรักษาอย่างครอบคลุม 4. ผู้ป่วยสามารถควบคุมระดับน้ำตาล/ระดับความดันโลหิตได้ดีตามเป้าหมายในแต่ละระยะของโรค ในผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนและ/หรือมีปัญหาการควบคุมได้ไม่ดีตามเป้าหมายอย่างต่อเนื่องสุ่มเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้รับการส่งต่อที่ถูกต้องเหมาะสม


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

    1. จัดเวทีเสวนาเรื่องโรคและภาวะแทรกซ้อนในผุู้ป่วยโรคเรื้อรังแก่แกนนำ อสม.ด้านโรคเรื้อรังและภาคีเครือข่าย  กลุ่มเป้าหมายให้ความสนใจและร่วมมือเป็นอย่างดี ตั้งใจฟังในเนื้อหา แลกเปลี่ยนความรู้ ความเข้าใจ และมีส่วนร่วมในการตอบคำถาม พร้อมทั้งมีการช่วยกันระดมความคิด ถึงแนวทางในการดูแลผู้ป่วย  กลุ่มดังกล่าวให้มีประสิทธิภาพทั้งในคลีนิคและการดูแลต่อเนื่องในชุมชน เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวได้อย่างต่อเนื่อง
    2. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องโรคและภาวะแทรกซ้อนจากโรคเรื้อรังแก่ผู้ป่วยและตัวแทนผุ้ดูแลพร้อมทั้งแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวทางการปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อเป็นโรคเรื้อรัง  มีการจัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเรื้อรัง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง และภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ กลุ่มเป้าหมายให้ความสนใจและร่วมมือเป็นอย่างดี ตั้งใจฟังในเนื้อหา และมีส่วนร่วมในการตอบคำถาม พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวทางการปฎิบัติตัวเพื่อควบคุมโรคและลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรค รวมทั้งแลกเปลี่ยนผลการตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนในปีนี้ของแต่ละคน
    3. คัดกรองภาวะแทรกซ้อนแก่ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ทางตา ไต เท้า หัวใจ และหลอดเลือด ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากกลุ่มเป้าหมาย โดยนัดตรวจคัดกรองเป็นแต่ละกิจกรรมไป กลุ่มเป้าหมายบางส่วนติดภารกิจในวันดังกล่าว แต่ได้มีการติดตามและได้รับการตรวจร้อยละ 100
    4. ประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด (CVD Risk assessment) แก่ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และคัดเลือกกลุ่มที่มีความเสี่ยง เข้าร่วมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อลดภาวะแทรกซ้อน  การจัดกิจกรรมดังกล่าวได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากกลุ่มเป้าหมาย โดยได้นัดตรวจเป็นแต่ละหมู่บ้านไป ผลการประเมินส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่สามารถควบคุมได้  ส่งผลให้การประเมินส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่ำ โดยไม่มีผู้ป่วยรายใดอยู่ในกลุ่มที่ต้องรีบพบแพทย์และต้องรับรามารับประทาน เพราะผู้ป่วยส่วนนั้น ได้ดำเนินการส่งต่อไปยัง รพ.ควนโดนแล้ว หลังจากตรวจเลือด ตรวจตา และตรวจเท้า
    5. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และประกวด "บุคคลต้นแบบควบคุมน้ำตาลในเลือดและบุคคลต้นแบบควบคุมความดัน ปี 60 (DM/HT MODEL 60) ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากกลุ่มเป้าหมาย โดยได้คัดเลือกกลุ่มผู้ป่วยที่มีการควบคุมโรคอยู่ในสีเหลือง สีส้ม และสีแดง (กลุ่มควบคุมโรคได้ไม่ดี)  และกลุ่มที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน กลุ่มเป้าหมายให้ความสนใจเป็นอย่างดี ร่วมตอบข้อซักถามและมีการซักถามวิทยากรถึงแนวทางที่ควบคุมโรค และได้ร่วมแลกเปลี่ยนจากการประกวดบุคคลต้นแบบ ในการตอบคำถาม เพื่อคัดเลือกและจัดลำดับจากผู้ที่เข้ารอบ 10 ท่าน ถึงวิธีการปฏิบัติตัว ที่ส่งผลให้สามารถควบคุมโรคได้เป็นอย่างดี และสังเกตอาการต่างๆที่บ่งบอกภาวะแทรกซ้อน พร้อมแนวทางในการช่วยเหลือ กรณีเร่งด่วน ได้ถูกต้องและเหมาะสม 

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 1. เพื่อให้แกนนำ อสม.ด้านโรคเรื้อรัง มีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
    ตัวชี้วัด :

     

    2 2. เพื่อให้กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้ดูแลมีความรู้ ความเข้าใจ พร้อมทั้งตระหนักถึงความสำคัญของการควบคุมและป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคที่เหมาะสมกับกลุ่มสีของตน
    ตัวชี้วัด :

     

    3 3. เพื่อให้กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ได้รับการตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนทางตา ไต เท้า หัวใจ และหลอดเลือด ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีภาวะเสี่ยง ได้รับการเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเข้มข้น/ได้รับยาในการตรวจรักษาอย่างคลอบคลุม
    ตัวชี้วัด :

     

    4 4. เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมระดับน้ำตาล/ระดับความดันโลหิตได้ดีตามเป้าหมายในแต่ละระยะของโรคในผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนและ/หรือมีปัญหาการควบคุมได้ไม่ดีตามเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง สุ่มเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้รับการส่งต่อที่ถูกต้องเหมาะสม
    ตัวชี้วัด :

     

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 160
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
    กลุ่มวัยทำงาน -
    กลุ่มผู้สูงอายุ -
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 160
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1. เพื่อให้แกนนำ อสม.ด้านโรคเรื้อรัง มีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (2) 2. เพื่อให้กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้ดูแลมีความรู้ ความเข้าใจ พร้อมทั้งตระหนักถึงความสำคัญของการควบคุมและป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคที่เหมาะสมกับกลุ่มสีของตน (3) 3. เพื่อให้กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ได้รับการตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนทางตา ไต เท้า หัวใจ และหลอดเลือด ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีภาวะเสี่ยง ได้รับการเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเข้มข้น/ได้รับยาในการตรวจรักษาอย่างคลอบคลุม (4) 4. เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมระดับน้ำตาล/ระดับความดันโลหิตได้ดีตามเป้าหมายในแต่ละระยะของโรคในผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนและ/หรือมีปัญหาการควบคุมได้ไม่ดีตามเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง สุ่มเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้รับการส่งต่อที่ถูกต้องเหมาะสม

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    โครงการพัฒนาระบบบริการงาน NCD สู่คลีนิคคุณภาพอย่างยืน รพ.สต.ควนโดน ปี 2560 จังหวัด สตูล

    รหัสโครงการ 60-50094-1-11

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นางสาวลลิตา ยะฝา )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด