กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

account_balance

แผนการดำเนินงานประจำปี 2565 - กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บาราเฮาะ

แผนการดำเนินงาน กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บาราเฮาะ
ประจำปีงบประมาณ 2565

stars
บริบทพื้นที่/สถานการณ์ชุมชน

สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน 1. ด้านกายภาพ ตำบลบาราเฮาะ อยู่ทางทิศใต้ของที่ว่าการอำเภอเมืองปัตตานี ระยะทาง 5 กิโลเมตร แต่เดิมชุมชนแห่งนี้มีชื่อเรียกว่า“สะนิง” แปลว่า สักครู่ ทั้งนี้เนื่องจากบริเวณนี้จะเป็นทางผ่านไปจังหวัดยะลา นราธิวาส หรือที่อื่นๆ ซึ่งเมื่อผู้เดินทางจะไปแห่งใดก็มักจะมาหยุดพักที่นี่สักครู่หนึ่งเพื่อเดินทางต่อ สำหรับคำว่า “บาราเฮาะ” นั้น แปลว่า สมบูรณ์ หรือสงบสุข ฉะนั้นในการตั้งชื่อตำบลอย่างเป็นทางการจึงใช้ชื่อคำว่า“บาราเฮาะ” ในที่สุด 1.1 ที่ตั้งของตำบล องค์การบริหารส่วนตำบลบาราเฮาะ อยู่ในหมู่ที่ 3 บ้านลดา ตำบลบาราเฮาะ ตั้งอยู่ทาง ทิศตะวันออกใต้ของที่ว่าการอำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมือง ประมาณ 5 กิโลเมตร ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 5 กิโลเมตร ไปตามถนนหมายเลข 410 ปัตตานี-ยะลา ระยะทาง 5 กิโลเมตร การคมนาคมจากตัวเมืองปัตตานีสะดวก มีรถประจำทางสายปัตตานี-ยะลา และรถรับจ้าง วิ่งอย่างสม่ำเสมอ ทิศเหนือ จดตำบลตะลุโบะ  อำเภอเมือง  จังหวัดปัตตานี ทิศตะวันออก จดตำบลคลองมานิง  อำเภอเมือง  จังหวัดปัตตานี ทิศใต้ จดตำบลปูยุด  อำเภอเมือง  จังหวัดปัตตานี ทิศตะวันตก จดตำบลปะกาฮะรัง  อำเภอเมือง  จังหวัดปัตตานี 1.2 ลักษณะภูมิประเทศ องค์การบริหารส่วนตำบลบาราเฮาะ มีเนื้อที่ประมาณ 7,500 ไร่ หรือ (12 ตร.ก.ม.) พื้นที่ตำบลบาราเฮาะส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบลุ่ม
ภูมิประเทศขององค์การบริหารส่วนตำบลบาราเฮาะ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มติดแม่น้ำสายบุรี และมีแหล่งน้ำเป็นเขตธรรมชาติติดต่อกับบ้านจือโมะ ตำบลปะกาฮะรัง อำเภอเมือง ปัตตานี ในฤดูฝนจะมีน้ำท่วมขัง น้ำจากแม่น้ำปัตตานีจะไหลผ่านหมู่ที่ 3 และหมู่ที่ 8 มีสภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นที่ราบและที่ราบทุ่งนาสภาพการใช้ที่ดินโดยส่วนใหญ่ใช้พื้นที่ในการประกอบอาชีพด้านการเกษตรได้แก่ ปลูกข้าวนาปี,นาปรัง และพืชระยะสั้น เป็นต้น 1.3 ลักษณะภูมิอากาศ - ปริมาณน้ำฝน ตำบลบาราเฮาะเป็นตำบลที่อยู่ทางภาคใต้ฝั่งตะวันออกจัดว่าเป็นตำบล    ที่มีฝนตกตลอดทั้งปี ในฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ จะมีฝนตกชุกกว่าในฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้    เพราะอยู่ทางด้านตะวันออกไม่มีภูเขาสูงใดกั้น จึงได้รับอิทธิพลจากมรสุมนี้เต็มที่ ให้มีฝนตกชุกโดยเฉพาะเดือนตุลาคม และพฤศจิกายน ส่วนในฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีฝนตกน้อยกว่าฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ      เพราะภูมิประเทศ มีแนวเทือกเขาตะนาวศรีปิดกั้น ให้ได้รับกระแสลมจากมรสุมนี้ไม่เต็มที่ ปริมาณฝนเฉลี่ยของตำบลบาราเฮาะ อยู่ในเกณฑ์ดี5.6.2 สภาพฝน ข้อมูลน้ำฝนรายเดือน (Monthly Rainfall)    พิจารณาเลือกสถานีวัดปริมาณน้ำฝนที่อยู่ใกล้เคียง ซึ่งได้แก่สถานีวัดน้ำฝน 33012 อำเภอเมือง    จังหวัดปัตตานี สำหรับปริมาณน้ำฝนรายเดือนและรายปีเฉลี่ยที่มีการต่อขยายข้อมูลและให้สมบูรณ์    มีคาบข้อมูล 10 ปี สถิติฝนเฉลี่ย ทั้งปี 1,078.69 มิลลิเมตร โดยเดือนตุลาคมเป็นเดือนที่ฝนตกชุกมากที่สุด    ส่วนเดือนกุมภาพันธ์เป็นเดือนที่ฝนตกน้อยที่สุด

  • อุณหภูมิ เนื่องจากตำบลบาราเฮาะ ตั้งอยู่ในคาบสมุทรที่เป็นแหลมยื่นออกไปในทะเล    จึงได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมอย่างเต็มที่คือลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้จากมหาสมุทรอินเดียและ      ลมมรสุมตะวันออกเฉียง เหนือซึ่งพัดผ่านอ่าวไทย ให้ได้รับไอน้ำและความชุ่มชื้นมาก อุณหภูมิเฉลี่ย    จึงไม่สูงมากและอากาศไม่ร้อนจัด ในฤดูร้อนและจะมีอากาศเย็นได้ในบางครั้ง อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี    ในช่วงระหว่างปี 2555 – 2559 มีค่าอยู่ที่ 27.6 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 32.9 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 23.9 องศาเซลเซียส ในปี พ.ศ. 2559 มีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุดมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 32.6 องศาเซลเซียส มีอุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุดมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 23.95 องศาเซลเซียสในรอบ 5 ปี วันที่มีอุณหภูมิสูงที่สุด    วัดได้ 37.9 องศาเซลเซียส เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2559 ที่มา : สถานีอุตุนิยมวิทยาจังหวัดปัตตานี 1.4 ลักษณะของดิน เขตตำบลบาราเฮาะพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มติดแม่น้ำปัตตานี และมีแหล่งน้ำเป็นเขตธรรมชาติติดต่อกับบ้านจือโมะ ตำบลปะกาฮะรัง อำเภอเมือง ปัตตานี สภาพดินอุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การการเกษตรสภาพการใช้ที่ดินโดยส่วนใหญ่ใช้พื้นที่ในการประกอบอาชีพด้านการเกษตรได้แก่ ปลูกข้าวนาปี, นาปรัง และพืชระยะสั้น เป็นต้น
    ที่มา : สถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดปัตตานี แผนที่องค์การบริหารส่วนตำบลบาราเฮาะ . 2. ด้านการเมือง/การปกครอง
    2.1 เขตการปกครอง แบ่งการปกครองออกเป็น  8  หมู่บ้าน
  • หมู่ที่ 1 บ้านแบรอสะนิง การนัน ชื่อ นายบาฮารุดดิน ยูโซะ
  • หมู่ที่ 2 บ้านบาราเฮาะ  ผู้ใหญ่บ้าน ชื่อ นายนิลี นิเฮง
  • หมู่ที่ 3 บ้านลดา  ผู้ใหญ่บ้าน ชื่อ มะซาบูดิน บูมามะ
  • หมู่ที่ 4 บ้านกาฮง  ผู้ใหญ่บ้าน ชื่อ อับดุลกอเดร์ อับดุลฮานุง
  • หมู่ที่ 5 บ้านสะนิง  ผู้ใหญ่บ้าน ชื่อ มุสตอปา ยูโซะ
  • หมู่ที่ 6 บ้านมาแบ  ผู้ใหญ่บ้าน ชื่อ นายแวมะดารี สะรีเดะ
  • หมู่ที่ 7 บ้านตูตง  ผู้ใหญ่บ้าน ชื่อ นายแวอับดุลเลาะ และมะลี
  • หมู่ที่ 8 บ้านบลีดอ  ผู้ใหญ่บ้าน ชื่อ นายเดะลี บีแม 2.2 การเลือกตั้ง นายบรรเทิง วัชรเสรีกุล ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัดปัตตานี เปิดเผยผลอย่างไม่เป็นทางการหลังการออกเสียงประชามติ เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2559 เวลา 08.00-16.00 น.ว่า จังหวัดปัตตานี    มีจำนวนหน่วยออกเสียงทั้งหมด 802 หน่วย และหน่วยออกเสียงนอกเขตจังหวัด 4 หน่วย คือ หอประชุมองค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี หอประชุมอำเภอยะรัง หอประชุมอำเภอสายบุรี และหอประชุมอำเภอโคกโพธิ์ โดยผลการออกเสียงมี ดังนี้

ผลการออกเสียงประชามติอย่างไม่ทางการ จังหวัดปัตตานี ประเด็นที่ 1  ร่างรัฐธรรมนูญ ประเด็นที่ 2  ประเด็นเพิ่มเติมของสนช. ผลประชามติ จำนวน (คน) ร้อยละ ผลประชามติ จำนวน (คน) ร้อยละ เห็นชอบ 89,952 30.87 เห็นชอบ 85,976 29.51 ไม่เห็นชอบ 166,900 57.28 ไม่เห็นชอบ 164,449 56.44 จำนวนผู้มีสิทธิออกเสียง 468,173 คน มาใช้สิทธิออกเสียง 291,370 คน คิดเป็นร้อยละ 62.24 บัตรเสีย 21,654 บัตร คิดเป็นร้อยละ 7.43 ผลการวมคะแนนออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญและประเด็นเพิ่มเติม วันที่ 7 สิงหาคม 2559 รายอำเภอ 1. อำเภอเมืองปัตตานี ประเด็นที่ 1  ร่างรัฐธรรมนูญ ประเด็นที่ 2  ประเด็นเพิ่มเติมของสนช. ผลประชามติ จำนวน (คน) ร้อยละ* ผลประชามติ จำนวน (คน) ร้อยละ* เห็นชอบ 20,481 44.50 เห็นชอบ 19,769 42.95 ไม่เห็นชอบ 26,877 55.50 ไม่เห็นชอบ 26,691 57.05 ผู้มีสิทธิออกเสียง จำนวน 52,696 คน ผู้มาใช้สิทธิออกเสียง 46,020 คน นายบรรเทิง วัชรเสรีกุล ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัดปัตตานี (ยืนคนแรกจากทางด้านซ้าย) ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการเลือกตั้งจังหวัดปัตตานี : สำนักทะเบียนอำเภอเมืองปัตตานี 3. ประชากร
3.1 ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร จำนวนเด็กแรกเกิด ถึง 6 ปี  1,089 คน จำนวนสตรีตั้งครรภ์ 94 คน จำนวนสตรีอายุ 35 ปี ขึ้นไป  1,103 คน จำนวนผู้สูงอายุ 750 คน

จำนวนผู้สูงอายุ ที่ช่วยตนเองไม่ได้  9 คน จำนวนผู้พิการ 184 คน จำนวนประชากรทั้งสิ้น 7,850 คน มีความหนาแน่น 654 คน/ตารางกิโลเมตร หมู่บ้าน จำนวนประชากร ครัวเรือน ชาย หญิง รวม
หมู่ที่ 1 แบรอสะนิง 669 713 1,382 377 หมู่ที่ 2 บาราเฮาะ 446 495 941 228 หมู่ที่ 3 ลาดอ 531 579 1,110 248 หมู่ที่ 4 กาฮง 609 631 1,240 284 หมู่ที่ 5 สะนิง 627 670 1,297 376 หมู่ที่ 6 มาแบ 232 237 469 127 หมู่ที่ 7 ตูตง 218 197 415 88 หมู่ที่ 8 บรีดอ 479 517 996 229 รวมทั้งสิ้น 3,811 4,039 7,850 1,957 ที่มา : สำนักทะเบียนอำเภอเมืองปัตตานี ข้อมูล ธันวาคม 2563
3.2 ช่วงอายุและจำนวนประชากร
จำนวน ชาย หญิง หมายเหตุ จำนวนประชากรเยาวชน 1,351 คน 1,355 คน อายุต่ำกว่า 18 ปี จำนวนประชากร 2,176 คน 2,255 คน อายุ 18 – 60 ปี จำนวนประชากรผู้สูงอายุ 284 คน 429 คน อายุมากกว่า 60 ปี รวม 3,811 คน 4,039 คน ทั้งสิ้น 7,850 คน ที่มา : สำนักทะเบียนอำเภอเมืองปัตตานี ข้อมูล ธันวาคม 2563 4. สภาพทางสังคม 4.1 การศึกษา
- โรงเรียนประถมศึกษา จำนวน  4  แห่ง
โรงเรียนบ้านลดา ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 นางสาวโรสนานี หะมิงมะ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านลดา โทรศัพท์ 073-434249 , 085-0780534 โรงเรียนบ้านกาฮง ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 นายอนันท์ เบญจสุหลง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกาฮง โทรศัพท์ 073-434206 , 093-5752447 โรงเรียนชุมชนบ้านสะนิง ตั้งอยู่หมู่ที่ 5 นางวรรณา อุดมศาสตร์สกุล ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนบ้านสะนิง โทรศัพท์ 073-349049 , 0869673503 โรงเรียนบ้านปะกาลิมาปุโระ ตั้งอยู่หมู่ที่ 8 นายอาหามัดซากี ซอแนะ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านปะกาลิมาปุโระ โทรศัพท์ 086-2927064 - โรงเรียนสอนศาสนาระดับมัธยมศึกษา จำนวน 2 แห่ง
หมู่ที่ 1 โรงเรียนพัฒนาอิสลาม หมู่ที่ 3 โรงเรียนศานติธรรม
4.2 สาธารณสุข     รพสต.ตำบลบาราเฮาะ จำนวน 1 แห่ง ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 ตำบลบาราเฮาะรพสต.ตำบลบาราเฮาะ    มีสถานบริการสาธารณสุข เพื่อรองรับในการให้การบริการประชาชนครอบคลุมทั้ง 8 หมู่บ้าน เป็นสถานบริการสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ขนาด 2 เตียง โดยมีอัตราส่วนเจ้าหน้าที่ 1 คนต่อประชากร 2,458 คน ไม่มีแพทย์ ซึ่งมีสัดส่วนที่ต่ำกว่าเกณฑ์ระดับประเทศ คือ แพทย์ 1 คนต่อประชากร 5,000 คน แสดงให้เห็นว่า    รพ.สต.ตำบลบาราเฮาะ ยังขาดบุคลากรแพทย์ให้ประชาชนได้รับการบริการไม่ทั่วถึง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาราฮาะ นางเจ๊ะอาซีซะห์ เบ็ญฮาวัน อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ ร้อยละ 100 % ที่มา : สำนักสาธารณสุขจังหวัดปัตตานี

4.3 อาชญากรรม ข้อมูลอาชญากรรมในพื้นที่ตำบลบาราเฮาะ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2562 – วันที่ 31 ธันวาคม2563 มีคดีเกี่ยวกับอาชญากรรมเกิดขึ้น จำนวน 8 คดี
ประเภทความผิดคดีอาญา (2) ฐานความผิดเกี่ยวกับทรัพย์
ข้อ2.2 วิ่งราวทรัพย์(ม.336) จำนวน 1 ราย
ข้อ2.4 ลักทรัพย์ จำนวน 6 ราย

ประเภทความผิดคดีอาญา (3) ฐานความผิดพิเศษ ข้อ3.15 พรบ.ศุลกากร จำนวน 1 ราย
ประเภทความผิดคดีทางอาญา(3) ฐานความผิดพิเศษ ข้อ3.15 พรบ.ศุลกากร จำนวน 1 ราย
(ตามหนังสือสถานีตำรวจภูธรเมืองปัตตานี อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ที่ ตช.0024(ปน).4/2129  ลงวันที่ 22 มีนาคม 2564) ที่มา : สถานีตำรวจภูธรเมืองปัตตานี
4.4 ยาเสพติด ข้อมูลยาเสพติดในพื้นที่ตำบลบาราเฮาะ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2562 – วันที่ 31 ธันวาคม2563 มีคดีเกี่ยวกับอาชญากรรมเกิดขึ้น จำนวน 4 คดี
ประเภทความผิดคดีอาญา (4) ฐานความผิดที่รัฐเป็นผู้เสียหาย ข้อ4.1 ยาเสพติด 4.1.1 ผลิต จำนวน 1 ราย
4.1.4 จำหน่าย จำนวน 1 ราย
4.1.6 ครอบครอง จำนวน 1 ราย
4.1.8 อื่นๆ จำนวน 1 ราย

(ตามหนังสือสถานีตำรวจภูธรเมืองปัตตานี อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ที่ ตช.0024(ปน).4/2129  ลงวันที่ 22 มีนาคม 2564) ที่มา : สถานีตำรวจภูธรเมืองปัตตานี
: ที่การปกครองอำเภอเมืองปัตตานี
4.5 การสังคมสงเคราะห์ องค์การบริหารส่วนตำบลบาราเฮาะ ให้การสงเคราะห์ แก่ผู้รับบริการแก้ไขปัญหาสังคม และพัฒนาสังคม ฉะนั้นจึงมีวิธีการปฏิบัติงาน เพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมาย ที่ว่าช่วยให้เขาสามารถช่วยตนเองได้ ด้วยวิธีงานกับเขา มิใช่งาน เพื่อเขา เพื่อที่เขาจะได้มีส่วนร่วม ในการพัฒนาชุมชนได้ วิธีการดังกล่าว มีดังต่อไปนี้ ๑. การงานกับบุคคล เรียกว่า การ สังคมสงเคราะห์เฉพาะราย หรือการงานระดับบุคคล เป็นการงานกับผู้มีปัญหาเป็นรายบุคคล ปัญหาดังกล่าวอาจจะเป็นปัญหาทางครอบครัว ปัญหาด้านการเงิน ปัญหาด้านสุขภาพและอื่นๆ ทั้งนี้ โดยการที่นักพัฒนาชุมชน พยายามดึงความสามารถของผู้รับบริการเป็นหลักสำคัญ ในการแก้ไข และป้องกันปัญหานั้นๆ
๒. การงานกับกลุ่ม เรียกว่า การ สังคมสงเคราะห์กลุ่มชน หรือการงานระดับกลุ่ม เป็นวิธีการ และกระบวนการที่นักพัฒนาชุมชน ให้ความช่วยเหลือสมาชิกกลุ่ม ในสถาบัน หรือองค์การต่างๆ แต่ละคน ให้สมาชิกมีความสัมพันธ์ที่ดีกับคนอื่น มีประสบการณ์ในการพัฒนาที่ดี โดยนักพัฒนาชุมชน ให้ความช่วยเหลือสมาชิก แต่ละคนในการพัฒนาบุคลิกลักษณะ เพื่อการพัฒนาสังคม โดยใช้ปฏิกิริยาโต้ตอบภายในกลุ่มเป็นเครื่องมือ
๓. การจัดระเบียบ และการพัฒนาชุมชน เรียกว่า การงานระดับชุมชน เป็นการงานกับชุมชน เพื่อการแก้ไข ป้องกันปัญหา ความเดือดร้อน ซึ่งกระทบกระเทือนถึงสวัสดิภาพ และความปลอดภัยของคน ในชุมชน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอาชีพ การศึกษา สุขภาพอนามัยและอื่นๆ โดยนักพัฒนาชุมชน จะใช้วิธีการกระตุ้น คนในชุมชนมองเห็นปัญหา สาเหตุของปัญหา และร่วมมือร่วมแรงกันวางแผน และดำเนินการป้องกันและแก้ไข ซึ่งอาศัยทรัพยากรต่างๆ ในชุมชน อันได้แก่ คน วัสดุอุปกรณ์ ทุนทรัพย์ แรงงาน หน่วยงานต่างๆ เป็นต้น นอกจากนั้น ถ้านักพัฒนาชุมชน พบว่า ชุมชนขาดบริการ หรือมีบริการไม่เพียงพอ นักพัฒนาชุมชน ก็จะหาทางส่งเสริม หรือสนับสนุนให้คนในชุมชนร่วมกัน จัดการทรัพยากรภายนอกเข้าไปเพิ่มเติม

๔. การวิจัยทางสังคมสงเคราะห์ คือ การที่นักพัฒนาชุมชนศึกษาสภาพต่างๆ ในสังคม เพื่อประกอบการพิจารณาการวางนโยบาย แผนงาน และโครงการต่างๆ อันช่วยบรรเทำ หรือขจัดปัญหา ทางสังคม ผลงานวิจัยที่เกี่ยวกับการวิเคราะห์ การบริหารองค์การ จะช่วยในการแก้ไข และปรับ-ปรุง หรือริเริ่มบริการ เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน ๕. การบริหารงานสังคมสงเคราะห์ เป็นการบริหารองค์การทางสังคมสงเคราะห์ ให้มีประสิทธิภาพสูง โดยรวมถึงการวางนโยบาย แผนงาน และโครงการต่างๆ เพื่อพัฒนาบุคลากรขององค์การให้เหมาะสม กับวัตถุประสงค์ และเป้าหมายขององค์การ นอกจากนั้นยังรวมถึงความสามารถ ในการประสานงาน ร่วมมือกันงานกับนักวิชาชีพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง วิธีการปฏิบัติงานในข้อ ๔ และ ๕ รวมเรียกว่า การสังคมสงเคราะห์ระดับมหภาค เป็นวิธีการให้บริการทางอ้อม มุ่งการปฏิบัติงานในระดับชุมชน หรือในระดับสังคม เพื่อที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระบบสังคม รวมทั้งการยกระดับทรัพยากรในสังคมมาให้แก่บุคคล แต่ละคนภายในชุมชนอย่างเพียงพอ ฉะนั้น จะเห็นว่า การปฏิบัติงานแบบนี้ จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายนอกของสมาชิกภายในกลุ่ม - ผู้มีสิทธิได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ จำนวน 668 ราย - ผู้มีสิทธิได้รับเบี้ยยังชีพผู้พิการ  จำนวน  9 ราย - ผู้มีสิทธิได้รับเบี้ยยังชีพผู้ป่วยเอดส์ จำนวน  1 ราย ที่มา : กองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม 5. ระบบบริการพื้นฐาน 5.1 การคมนาคมขนส่ง การคมนาคมของตำบลบาราเฮาะ ใช้เส้นทางคมนาคมทางบกเป็นหลัก มีถนนลาดยางติดต่อถึงอำเภอ ถนนในหมู่บ้านส่วนใหญ่เป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็กและถนนลูกรัง - ถนนทางหลวงสาย เอ 410 ปัตตานี – ยะลา ผ่านบริเวณหมู่ที่ 1 หมู่ที่ 4 และหมู่ที่ 5 - ถนนในหมู่บ้าน จำนวน 68 สาย แบ่งเป็น ถนนลาดยาง จำนวน 4 สาย ถนนคอนกรีต จำนวน  37  สาย ถนนหินคลุก จำนวน  1 สาย 5.2 การไฟฟ้า ภายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบาราเฮาะ มีไฟฟ้าเข้าถึงทุกหมู่บ้าน และประชาชนทุกครัวเรือนมีไฟฟ้าใช้ไฟฟ้าประมาณ ร้อยละ 100%
ที่มา : กองช่าง 5.3 การประปา ภายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบาราเฮาะ มีน้ำประปาหมู่บ้านให้บริการประชาชน จำนวน 8 แห่ง เข้าถึงทุกหมู่บ้าน แต่ปริมาณน้ำประปาใช้สำหรับอุปโภค – บริโภค ไม่เพียงพอ เนื่องจากการเสื่อมสภาพของประปาหมู่บ้าน
ที่มา : กองช่าง 6. ระบบเศรษฐกิจ 6.1 การเกษตร ตำบลบาราเฮาะสภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มติดแม่น้ำปัตตานี และมีแหล่งน้ำเป็นเขตธรรมชาติติดต่อกับบ้านจือโมะ ตำบลปะกาฮะรัง อำเภอเมือง ปัตตานี ลักษณะการประกอบอาชีพทางการเกษตร ดังนี้ แสดงข้อมูลการผลิตทางการเกษตรของตำบลบาราเฮาะ ที่ ชนิดพืช / สัตว์ พันธุ์ส่งเสริม พันธุ์พื้นเมือง หมายเหตุ ระบุชื่อพันธุ์, กรณีใช้พันธุ์พื้นเมือง ครัวเรือนผู้ผลิต เนื้อที่(ไร่) ครัวเรือนผู้ผลิต เนื้อที่(ไร่)
๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ข้าวนาปี ข้าวนาปรัง ยางพารา มะพร้าว อ้อย มะระ พริกหยวก 192 - ช่อลุง , มะจานู
สุพรรณบุรี 50 ที่มา : สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองปัตตานี
6.2 การประมง ตำบลบาราเฮาะ มีการประกอบอาชีพที่การประมง ในพื้นที่ ดังนี้ - ประมงชายฝั่ง จำนวน 15 ราย - เรือประมงขนาดต่ำกว่าสิบตันกรอส จำนวน  3 ลำ - เรือประมงขนาดตั้งแต่สิบตันกรอสขึ้นไปแต่ไม่ถึงสามสิบตันกรอส 1 ลำ ที่มา : สำนักงานเจ้าท่าภูมิภาค 4 สาขาจังหวัดปัตตานี
6.3 การปศุสัตว์ แสดงจำนวนสัตว์รายตำบล ปี ๒๕๖3 ตำบลบาราเฮาะ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ที่ จำนวน เกษตรกร ทั้งหมด โคนม โคเนื้อ กระบือ สุกร แพะ แกะ จำนวน (ตัว) เกษตรกร (ครัวเรือน) จำนวน (ตัว) เกษตรกร (ครัวเรือน) จำนวน (ตัว) เกษตรกร (ครัวเรือน) จำนวน (ตัว) เกษตรกร (ครัวเรือน) จำนวน (ตัว) เกษตรกร (ครัวเรือน) จำนวน (ตัว) เกษตรกร (ครัวเรือน) ๑ - - - ๖๑๒ ๑๔๙ - - - - ๒๑๓ ๗๔ ๔๑๙ ๑๑๓ รวม - - - ๖๑๒ ๑๔๙ - - - - ๒๑๓ ๗๔ ๔๑๙ ๑๑๓


ตารางที่ ๕ แสดงจำนวนสัตว์ปีกรายตำบล ปี ๒๕๖3 ตำบลบาราเฮาะ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ที่ เป็ดไข่ เป็ดเนื้อ เป็ดเทศ ไก่ไข่ ไก่เนื้อ ไก่พื้นเมือง จำนวน (ตัว) เกษตรกร (ครัวเรือน) จำนวน (ตัว) เกษตรกร (ครัวเรือน) จำนวน (ตัว) เกษตรกร (ครัวเรือน จำนวน (ตัว) เกษตรกร (ครัวเรือน) จำนวน (ตัว) เกษตรกร (ครัวเรือน) จำนวน (ตัว) เกษตรกร (ครัวเรือน) ๑ ๑๑๔ ๓๗ - - ๑,๑๒๕ ๑๓๔ - - - - ๒,๙๐๙ ๑๙๘ รวม ๑๑๔ ๓๗ - - ๑,๑๒๕ ๑๓๔ - - - - ๒,๙๐๙ ๑๙๘ ที่มา : สำนักงานเกษตรและปศุสัตว์อำเภอเมืองปัตตานี
6.4 การบริการ ตำบลบาราเฮาะ มีรพสต.ตำบลบาราเฮาะ เป็นสถานบริการสาธารณสุข เพื่อรองรับในการให้การบริการประชาชนครอบคลุมทั้ง 8 หมู่บ้าน ที่มา : สำนักงานสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานี
6.5 การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ การพาณิชย์ - โรงสี จำนวน 2 แห่ง - ร้านขายของชำ  จำนวน  54 แห่ง
กลุ่มอาชีพในเขตตำบลบาราเฮาะ มีทั้งหมด 11 กลุ่ม ดังนี้ 1. กลุ่มดอกไม้ประดิษฐ์ หมู่ 1 ประธานกลุ่ม นางมัซรี กาซอ 2. กลุ่มกรงนก หมู่ 1 ประธานกลุ่ม นายอิสมาแอ มามะ 3. กลุ่มผ้าคลุมสำเร็จรูป หมู่ 2 ประธานกลุ่ม นางสารีฟะ แวมามุ 4. กลุ่มตีเหล็กบ้านบาราเฮาะ หมู่ 2 ประธานกลุ่ม นายมาแซ เจะหลง 5. กลุ่มปักผ้าคลุมผมสตรี หมู่ 3 ประธานกลุ่ม นางไซนับ บาการ์ 6. กลุ่มเบเกอรี่ หมู่ 4 ประธานกลุ่ม นางปราณี บุญศาท 7. กลุ่มขนม หมู่ 5 ประธานกลุ่ม นางสาวปารีดะห์ ซอรี 8. กลุ่มน้ำยาล้างจาน(วานีตาบ้านมาแบ)หมู่ 6 ประธานกลุ่ม นางสาวรอเมาะ มามะ 9. กลุ่มลูกปัดประดิษฐ์ หมู่ 7 ประธานกลุ่ม นางอาซีซะ สะรี 10.กลุ่มศิลปะประดิษฐ์ (ขันหมาก) หมู่ 7 ประธานกลุ่ม นางเสาเดาะ กาเร็ง 11.กลุ่มมะกรูดหวาน (จักรสาน) หมู่ 8 ประธานกลุ่ม นางรัตนา ดือเระซอ ที่มา : กองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม 6.6 แรงงาน ประชากรส่วนใหญ่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบาราเฮาะ ประกอบอาชีพ    รับราชการ เกษตรกรรม นา ประมง สวนมะพร้าว ค้าขาย เลี้ยงสัตว์ ปลูกพืช และรับจ้างทั่วไป
- แรงงานส่วนใหญ่มีความรู้ระดับมัธยมศึกษาหรือต่ำกว่า รายได้เฉลี่ย 22,068 บาท/ครัวเรือน - แรงงานในพื้นที่ส่วนใหญ่จะเน้นการเกษตรกรรม เนื่องจากบริบทของพื้นที่ยังเป็นพื้นที่กึ่งเมือง  กึ่งชนบท
ที่มา : สำนักงานแรงงานจังหวัดปัตตานี 7. ด้านศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม 7.1 การนับถือศาสนา ประชาชนในตำบลบาราเฮาะ จะนับถือศาสนาอิสลาม 100% ซึ่งศาสนาอิสลาม เป็นศาสนาสำคัญศาสนาหนึ่งของประเทศไทย เป็นศาสนาประเภทเอกเทวนิยม นับถือพระเจ้าองค์เดียว คือ พระอัลลอฮ์ โดยมีท่านนบีมุฮัมมัดเป็นศาสดา และเป็นผู้ประกาศศาสนา ศาสนาอิสลาม ไม่มีพระหรือนักบวชเพื่อหน้าที่ประกอบพิธีกรรม และเผยแผ่ศาสนาโดยเฉพาะ เช่น อิหม่ามก็เป็นเพียงผู้นำในการนมัสการพระเจ้าเท่านั้น มิใช่พระที่หน้าที่เป็นกลางระหว่างพระเจ้ากับมนุษย์ ผู้นับถือ ศาสนาอิสลาม เรียกว่า “ มุสลิม ” มุสลิม ทุกคนต้องปฏิบัติศาสนกิจเหมือนกันหมด บุคคลที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น อิหม่าม หรือ ท่านจุฬาราชมนตรี ก็ถือว่าเป็นผู้นำทางศาสนกิจ และผู้นำมุสลิมในประเทศไทย สถาบันและองค์กรทางศาสนา
มัสยิด จำนวน 10  แห่ง คือ
1. มัสยิดนุรอิสลาม แบรอโต๊ะนาฮุน ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลบาราเฮาะ นายแวอับดุลเลาะ มารูดิน ตำแหน่งโต๊ะอีหม่าม นายแวอูเซ็ง โต๊ะนาฮุน ตำแหน่งโต๊ะคอเติ๊บ นายแวดือราแม สารีเดะ ตำแหน่งโต๊ะบีลาล 2. มัสยิดนูรุลฮีดายะห์ (ปีตูโต๊ะเก็ง) ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 ตำบลบาราเฮาะ นายสุไลมาน นิเหะ ตำแหน่งโต๊ะอีหม่าม นายอับดุลกอเดร์ อาบูเด ตำแหน่งโต๊ะคอเติ๊บ นายอานัส ปูเตะ ตำแหน่งโต๊ะบีลาล 3. มัสยิดนูรุลฮีดายะห์  ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 ตำบลบาราเฮาะ นายมามุ แลซอ ตำแหน่งโต๊ะอีหม่าม นายซาการียา แบนา ตำแหน่งโต๊ะคอเติ๊บ นายบาราเซะ อีเลาะ ตำแหน่งโต๊ะบีลาล 4. มัสยิดการปงสุเหร่า  ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 ตำบลบาราเฮาะ นายอับดุลฮามิด มะดือเระ ตำแหน่งโต๊ะอีหม่าม นายอับดุลลาตีฟ มะนามิ ตำแหน่งโต๊ะคอเติ๊บ นายอับดุลกอเดร์ มามะ ตำแหน่งโต๊ะบีลาล 8. มัสยิดนุรุลฮีดายะห์ (ตูตง) ตั้งอยู่หมู่ที่ 7 ตำบลบาราเฮาะ นายต่วนโซะ นิยามา ตำแหน่งโต๊ะอีหม่าม นายเจะดาโอะ แวบือราเฮง ตำแหน่งโต๊ะคอเติ๊บ นายมูฮำหมัด สิเดะ ตำแหน่งโต๊ะบีลาล 9. มัสยิดนุรุลยันนะห์ (บลีดอ) ตั้งอยู่หมู่ที่ 8 ตำบลบาราเฮาะ นายอับดุลรอนิง แวนิ ตำแหน่งโต๊ะอีหม่าม นายมูฮำหมัด เจ๊ะโด ตำแหน่งโต๊ะคอเติ๊บ นายลาซิ อาแว ตำแหน่งโต๊ะบีลาล 10. มัสยิดนุรุดดีน (ตาเนาะ)  ตั้งอยู่หมู่ที่ 8 ตำบลบาราเฮาะ นายอาแซ ดอนิ ตำแหน่งโต๊ะอีหม่าม นายกอเซ็ง ดอนิ ตำแหน่งโต๊ะคอเติ๊บ นายบือรอเฮง มาสารี ตำแหน่งโต๊ะบีลาล ที่มา : กองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

stars
ข้อมูลกองทุน

๑. คณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตําบลบาราเฮาะที่เข้าร่วมดําเนินงานจะต้องจัดให้มีคณะกรรมการชุดหนึ่ง เรียกว่า คณะกรรมการบริหารกองทุน โดยองค์ประกอบของคณะกรรมการ ต้องสรรหาตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กําหนด ดังต่อไปนี้
๑.นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบาราเฮาะ      เป็นประธานกรรมการ 2. ผู้ทรงคุณวุฒิในพื้นที่ จำนวน ๒ คน          เป็นรองประธานกรรมการ 3. สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลบาราเฮาะ ที่สภาฯมอบหมาย  จำนวน ๒ คน เป็นกรรมการ 4. หัวหน้าหน่วยบริการปฐมภูมิในพื้นที่          เป็นกรรมการ 5. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในพื้นที่ที่คัดเลือกกันเอง จำนวน ๒ คน เป็นกรรมการ 6. ผู้แทนหมู่บ้านหรือชุมชนที่ประชาชนในหมู่บ้านหรือชุมชน     คัดเลือกกันเอง จำนวนไม่เกิน ๕ คน เป็นกรรมการ 7. ผู้แทนศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชนหน่วยรับเรื่อง เป็นกรรมการ         ร้องเรียนอิสระในพื้นที่ จำนวน 1 คน(ถ้ามี)       8. ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลหรือ   เจ้าหน้าที่อื่นที่นายกองค์การบริหารส่วนตำบลมอบหมาย    เป็นกรรมการและเลขานุการ 9. ผู้อำนวยการหรือหัวหน้ากองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
  หรือส่วนสาธารณสุขที่เรียกชื่ออื่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น   หรือเจ้าหน้าที่อื่นที่ผู้บริหารสูงสุดขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น   มอบหมาย  เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

stars
แผนการดำเนินงานตามประเด็น
LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...