กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการเสริมพลังร่วมดูแลผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง เทศบาลเมืองกันตัง ปี 2565

อบรมเชิงปฏิบัติการ26 พฤษภาคม 2565
26
พฤษภาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนสุขภาพเทศบาลเมืองกันตัง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ลงทะเบียน/ประเมินความรู้ก่อนการอบรม
  • บรรยายเรื่อง  การดูแลสุขภาพแบบองค์รวมในผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง โดย  วิทยากรจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลย่านซื่อ
  • พัก
  • บรรยายเรื่อง  การฟื้นฟูสภาพร่างกายโดยการทำกายภาพบำบัด โดย  วิทยากรจากโรงพยาบาลกันตัง
  • พัก
  • แบ่งกลุ่มเรียนรู้  2 ฐาน ฐานที่  1  การดูแลแผล  การดูแลผู้ป่วยที่ให้อาหารทางสายยาง  การดูแลผู้ป่วยที่ใส่สายสวนปัสสาวะ และการดูแลผู้ป่วยที่ใส่สายออกซิเจนโดย  วิทยากรจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลย่านซื่อ  ฐานที่  2  การจัดท่าทาง  การพลิกตะแคงตัวผู้ป่วย  การทำกายภาพบำบัด  การป้องกันการเกิดกล้ามเนื้อลีบ ข้อติดแข็ง  การป้องกันการเกิดข้อไหล่เคลื่อนหลุดและการป้องกันการเกิดข้อเท้าตกโดย  วิทยากรจากโรงพยาบาลกันตัง
  • ประเมินความรู้หลังการอบรม/สรุปผลการเรียนรู้
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. จัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้ดูแลผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง และอาสาสมัครดูแลผู้ป่วยติดบ้าน    ติดเตียงที่สนใจเข้าร่วมโครงการ  จำนวน  35  คน  เมื่อวันที่  26  พฤษภาคม  2565  ณ อาคารคอซิมบี๊ เทศบาลเมืองกันตัง  ในเรื่องการดูแลสุขภาพในผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง การฟื้นฟูสภาพร่างกายโดยการทำกายภาพบำบัด  แบ่งกลุ่มเรียนรู้  2 ฐาน  คือ  ฐานที่  1  การดูแลแผล  การดูแลผู้ป่วยที่ให้อาหารทางสายยาง  การดูแลผู้ป่วยที่ใส่สายสวนปัสสาวะ และการดูแลผู้ป่วยที่ใส่สายออกซิเจน  และฐานที่  2  การจัดท่าทาง  การพลิกตะแคงตัวผู้ป่วย  การทำกายภาพบำบัด  การป้องกันการเกิดกล้ามเนื้อลีบ ข้อติดแข็ง  การป้องกันการเกิดข้อไหล่เคลื่อนหลุดและการป้องกันการเกิดข้อเท้าตก  โดยทีมวิทยากรจากโรงพยาบาลกันตังและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลย่านซื่อ
  2. การประเมินผล 2.1 ประเมินความรู้ในการดูแลผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง  ซึ่งใช้แบบประเมินความรู้ก่อนและหลังการอบรม  (คำถามแบบกากบาทถูกผิดหน้าข้อความ จำนวน  10  ข้อ ๆ ละ  1  คะแนน  รวมคะแนนเต็ม  10  คะแนน)  สามารถสรุปผลการประเมินได้  ดังนี้

- ก่อนการอบรม  ซึ่งได้รับแบบประเมินคืน  จำนวน  35  ชุด พบว่าผู้เข้ารับการอบรมได้คะแนนสูงสุด  อยู่ที่  8  คะแนน  จำนวน  6  คน  รองลงมา  คือ  7  คะแนน  จำนวน  12  คน  6 คะแนน จำนวน  10  คน  และ  5  คะแนน  จำนวน  4  คน  และ  4  คะแนน  จำนวน  3  คน  จะเห็นได้ว่าก่อนการอบรมผู้เข้ารับการอบรมส่วนใหญ่  ได้คะแนนมากที่สุด  คือ  8  คะแนน  คิดเป็นร้อยละ 17.14  รองลงมา คือ  7  คะแนน  คิดเป็นร้อยละ 34.29  , 6  คะแนน  คิดเป็นร้อยละ  28.57,  5  คะแนน คิดเป็นร้อยละ  11.43  และ  4  คะแนน  คิดเป็นร้อยละ  8.57  ตามลำดับ - หลังการอบรม  ซึ่งได้รับแบบประเมินคืน  จำนวน  30  ชุด  พบว่าผู้เข้ารับการอบรมได้คะแนนสูงสุด  อยู่ที่  10  คะแนน  จำนวน  9  คน  รองลงมา  คือ  9 คะแนน  จำนวน  10  คน  8 คะแนน จำนวน  8  คน  และคะแนนต่ำสุดอยู่ที่  7  คะแนน  จำนวน  3  คน  จะเห็นได้ว่าหลังการอบรมผู้เข้ารับการอบรมส่วนใหญ่  ได้คะแนนมากที่สุด  คือ  9  คะแนน  คิดเป็นร้อยละ  30.00 รองลงมา คือ  10  คะแนน  คิดเป็นร้อยละ  33.33  , 8  คะแนน  คิดเป็นร้อยละ  26.67  และ  7  คะแนน  คิดเป็นร้อยละ  10  ตามลำดับ 2.2  ประเมินทักษะการดูแลผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง  แก่ผู้เข้ารับการอบรม  จำนวน  35  คน  ตามฐานการเรียนรู้จำนวน  2  ฐาน  ได้แก่ - ฐานที่  1  การดูแลแผล  การดูแลผู้ป่วยที่ให้อาหารทางสายยาง  การดูแลผู้ป่วยที่ใส่สายสวนปัสสาวะ และการดูแลผู้ป่วยที่ใส่สายออกซิเจน  ผลการประเมินผู้เข้าร่วมกิจกรรม  พบว่า ผ่านการประเมินร้อยละ 100 - ฐานที่  2  การจัดท่าทาง  การพลิกตะแคงตัวผู้ป่วย  การทำกายภาพบำบัด  การป้องกันการเกิดกล้ามเนื้อลีบ ข้อติดแข็ง  การป้องกันการเกิดข้อไหล่เคลื่อนหลุดและการป้องกันการเกิดข้อเท้าตก  ผลการประเมินผู้เข้าร่วมกิจกรรม  พบว่า  ผ่านการประเมินร้อยละ 100