กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบการติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการ (Process Evaluation)

กิจกรรมระยะเวลาเป้าหมาย/วิธีการผลการดำเนินงานปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข
ตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริง
กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ 18 มิ.ย. 2565 18 มิ.ย. 2565

 

จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้การดูแลส่งเสริมสุขภาพ พร้อมฝึกปฏิบัติการออกกำลังกายด้วยการเต้นลีลาศพื้นฐาน จำนวน 4 จังหวะ ( คิวบันรัมบ้า , ไจว์ฟ, วอลซ์ และควิกสเตป) แก่สมาชิกชมรมลีลาศที่สนใจเข้าร่วมโครงการ จำนวน  70  คน

 

จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้การดูแลส่งเสริมสุขภาพ พร้อมฝึกปฏิบัติการออกกำลังกายด้วยการเต้นลีลาศพื้นฐาน จำนวน 4 จังหวะ ( คิวบันรัมบ้า , ไจว์ฟ, วอลซ์ และควิกสเตป) แก่สมาชิกชมรมลีลาศที่สนใจเข้าร่วมโครงการ จำนวน  70  คน  ซึ่งจัดขึ้นจำนวน 2 วัน  ระหว่างวันที่  18 – 19 มิถุนายน  2565  ณ อาคารคอซิมบี๊  เทศบาลเมืองกันตัง  มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมในวันที่ 18  มิถุนายน  2565  จำนวน 82 คน  โดยมีวิทยากรจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรังและวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านลีลาศมาให้ความรู้ดังกล่าว และในวันที่ 19  มิถุนายน  2565  มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 76 คน  ซึ่งปฏิบัติตามมาตรการ/แนวทางการควบคุมป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด ภายใต้สถานการณ์การควบคุมป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19

 

กิจกรรมออกกำลังกายแบบลีลาศ 20 มิ.ย. 2565 20 มิ.ย. 2565

 

  • จัดกิจกรรมออกกำลังกายแบบลีลาศจำนวน 4 จังหวะอย่างต่อเนื่อง อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง โดยมีวิทยากรนำออกกำลังกาย  เป็นระยะเวลา 3 เดือน
  • ประเมินความทักษะของผู้เข้าร่วมกิจกรรมหลัง 3 เดือน
  • ประเมินผลความพึงพอใจต่อโครงการ

 

  1. จัดกิจกรรมออกกำลังกายแบบลีลาศจำนวน 4 จังหวะอย่างต่อเนื่อง อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง โดยมีวิทยากรนำออกกำลังกาย  เป็นระยะเวลา 3 เดือน ตั้งแต่วันที่ 20  มิถุนายนถึงวันที่ 7  กันยายน  2565 โดยมีวิทยากรนำออกกำลังกาย จำนวน  36 ครั้ง  มีผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมออกกำลังกายอย่างน้อยครั้งละ  18-25 คน  โดยดำเนินการตามมาตรการ/แนวทางการควบคุมป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด ภายใต้สถานการณ์การควบคุมป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19
  2. ประเมินทักษะของสมาชิกผู้เข้าร่วมกิจกรรมออกกำลังกายด้วยลีลาศ 4  จังหวะหลังเข้าร่วมกิจกรรมการออกกำลังกาย 3 เดือน  พบว่าผู้เข้าร่วมกิจกรรมออกกำลังกายร้อยละ 100  ผ่านการประเมินการออกกำลังกายด้วยลีลาศท่าพื้นฐานการเต้นลีลาศ  4  จังหวะ
  3. ประเมินความพึงพอใจผู้เข้าร่วมโครงการ  ผลการปะเมินความพึงพอใจผู้เข้ารับการอบรม  จำนวน 70 คน  พบว่าผู้เข้ารับการอบรมร้อยละ  94  มีความพึงพอใจในการดำเนินโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด  ค่าเฉลี่ย  4.7  ซึ่งสามารถสรุปในแต่ละด้านได้ดังนี้
    1) เนื้อหาการอบรม มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.64 คิดเป็นร้อยละ 92.8
    2) กิจกรรมการอบรม มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก  ค่าเฉลี่ย  4.37 คิดเป็นร้อยละ  87.4 3) เอกสารประกอบการอบรม มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก  ค่าเฉลี่ย  4.29  คิดเป็นร้อยละ  85.8
    4) สื่อและอุปกรณ์ประกอบการฝึกอบรม  มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก  ค่าเฉลี่ย 4.27 คิดเป็นร้อยละ 85.4 5) การอำนวยความสะดวก  มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก  ค่าเฉลี่ย 4.43 คิดเป็นร้อยละ 88.6 6) อาหารและอาหารว่าง  มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก  ค่าเฉลี่ย 4.39 คิดเป็นร้อยละ 87.8 7) สถานที่อบรม มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 5.51 คิดเป็นร้อยละ 90.2
    8) โสตทัศนูปกรณ์  มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก  ค่าเฉลี่ย 4.44 คิดเป็นร้อยละ 88.8
    9) ระยะเวลาในการอบรม  มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.34 คิดเป็นร้อยละ 86.8
    10) ผลการประเมินโดยภาพรวม  มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด  ค่าเฉลี่ย 4.7 คิดเป็นร้อยละ 94 ข้อเสนอแนะ  เห็นสมควรให้มการอบรมทุกปีและมีการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง