กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการเฝ้าระวังโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน ในประชาชนกลุ่มเสี่ยง ชุมชนร่วมใจพัฒนา

อบรมให้ความรู้กับประชาชนทั่วไปและแกนนำสุขภาพ30 พฤศจิกายน 2565
30
พฤศจิกายน 2565รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองเบตง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ประชุมวางแผนการดำเนินการจัดโครงการ             - ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง             - ประชุมปรึกษารูปแบบของโครงการ             - จัดเตรียมบุคลากร อุปกรณ์ สถานที่ วันและเวลาตลอดจนรับลงทะเบียนผู้เข้าร่วมโครงการ         2. กิจกรรม จัดซื้อวัสดุประกอบการอบรม และครุภัณฑ์เครื่องวัดความดันโลหิตแบบดิจิตอล เครื่องชั่งน้ำหนักแบบดิจิตอล
            เครื่องวัดส่วนสูง เครื่องตรวจเบาหวาน         3. กิจกรรม อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้สร้างศักยภาพแก่แกนนำสุขภาพและประชาชนในชุมชน
            4. กิจกรรม เฝ้าระวังคัดกรองกลุ่มเสี่ยง เพื่อค้นหาโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานในชุมชน พร้อมทั้งให้ความรู้ในการป้องกันและควบคุมโรคแก่กลุ่มเสี่ยง         5. ส่งต่อผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานรายใหม่         6. กิจกรรมติดตามผล ประเมินผล กลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ทุก 3 เดือน         7. สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองเบตง
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

การอบรมโครงการเฝ้าระวังโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวานในประชาชนกลุ่มเสี่ยง ชุมชนร่วมใจพัฒนา ได้ตั้งกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 40 คน มีผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 40 คน คิดเป็นร้อยละร้อย
และสามารถประเมินผลการอบรมตามวัตถุประสงค์ ได้ดังนี้     วัตถุประสงค์ ข้อที่ 1 เพื่อสร้างศักยภาพให้แกนนำสุขภาพและประชาชนในการค้นหาผู้ป่วยโรคความดันสูงและโรคเบาหวาน  มีตัวชี้วัดผู้เข้ารับการอบรมมีศักยภาพสามารถคัดกรองและให้ความรู้ในการป้องกันและควบคุมโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานได้อย่างถูกต้อง โดยใช้เครื่องมือเป็นแบบทดสอบความรู้ ก่อน-หลัง การอบรม จำนวน 10 ข้อ มีเกณฑ์แปลผล ดังนี้   ได้ 8-10 คะแนน มีความรู้ในระดับมาก   ได้ 6-7  คะแนน มีความรู้ระดับปานกลาง   ได้ 4-5  คะแนน มีความรู้ระดับน้อย ได้ต่ำกว่า 4 คะแนน มีความรู้ระดับน้อยที่สุด -ผลการทดสอบความรู้ผู้เข้ารับการอบรม ก่อนการอบรม พบว่า มีความรู้ร้อยละ 50 อยู่ในระดับปานกลางและอีกร้อยละ 50 อยู่ในระดับน้อย -ผลการทดสอบความรู้ หลังการอบรม พบว่าร้อยละ 80 มีความรู้อยู่ในระดับดีมาก ส่วนร้อยละ 20 อยู่ในระดับดี