กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการเทศบาลเมืองกันตัง ห่วงใยใส่ใจดูแลผู้พิการ/ทุพพลภาพทางการเคลื่อนไหว ปี 2566

กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ7 เมษายน 2566
7
เมษายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนสุขภาพเทศบาลเมืองกันตัง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

08.30 น. – 09.00 น. ลงทะเบียน/ประเมินความรู้ก่อนอบรมโดย  เจ้าหน้าที่ศูนย์บริการสาธารณสุข เทศบาลเมืองกันตัง
09.00 น. – 10.00 น. บรรยายเรื่อง  หลักการและประโยชน์ของการฝึกกิจวัตรประจำวันโดย  วิทยากรจากงานกายภาพบำบัดโรงพยาบาลกันตัง(คุณฐิริภรณ์  สุทธินนท์  นักกายภาพบำบัด) 10.00 น. – 10.10 น.  พักรับประทานอาหารว่าง 10.10 น. – 12.00 น. บรรยายเรื่อง  หลักการและประโยชน์ของการฟื้นฟูสมรรถภาพเบื้องต้นโดย  วิทยากรจากงานกายภาพบำบัดโรงพยาบาลกันตัง  (คุณโสรยา  แก้วนิลประเสริฐ  นักกายภาพบำบัดปฏิบัติการ) 12.00 น. – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน 13.00 น. – 16.00 น. แบ่งกลุ่มเข้าฐานการเรียนรู้  3  ฐาน  พร้อมประเมินทักษะ  เรื่อง - ฐานที่  1  วิธีการนวดบำบัดเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้พิการ/ทุพพลภาพโดย  วิทยากรจากงานแพทย์แผนไทยโรงพยาบาลกันตัง(คุณสุดารัตน์  เกตุรัตน์  แพทย์แผนไทยชำนาญการ) - ฐานที่  2  การจัดท่าทาง/การเปลี่ยนท่าที่ถูกต้องในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกและการบริหารข้อป้องกันข้อยึดติดโดย  วิทยากรจากงานกายภาพบำบัดโรงพยาบาลกันตัง  (คุณโสรยา  แก้วนิลประเสริฐ  นักกายภาพบำบัดปฏิบัติการ) - ฐานที่  3  วิธีการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยและการใช้อุปกรณ์เครื่องช่วยคนพิการโดย  วิทยากรจากงานกายภาพบำบัดโรงพยาบาลกันตัง (คุณฐิริภรณ์  สุทธินนท์  นักกายภาพบำบัด) 16.00 น. – 16.30 น. - ตอบข้อซักถาม/สรุปผลการเรียนรู้ ประเมินความรู้หลังอบรม หมายเหตุ  ช่วงบ่ายเวลา 14.30 – 14.40 รับประทานอาหารว่างระหว่างเข้าฐานการเรียนรู้

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.  จัดอบรมให้ความรู้แก่แกนนำสุขภาพชุมชนที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการ  จำนวน  60  คน เมื่อวันที่  7  เมษายน  2566  ณ  อาคารคอซิมบี๊  เทศบาลเมืองกันตัง  ในเรื่องความรู้เกี่ยวกับหลักการและประโยชน์ของการฝึกกิจวัตรประจำวัน  หลักการและประโยชน์ของการฟื้นฟูสมรรถภาพเบื้องต้น  และแบ่งกลุ่มเข้าฐานการเรียนรู้พร้อมประเมินทักษะ  3  ฐาน  คือ  ฐานที่ 1  วิธีการนวดบำบัดเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้พิการ/ทุพพลภาพ  ฐานที่  2  การจัดท่าทาง/การเปลี่ยนท่าที่ถูกต้องในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกและการบริหารข้อป้องกันข้อยึดติด  และฐานที่  3  วิธีการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยและการใช้อุปกรณ์เครื่องช่วยคนพิการ  และประเมินความรู้ก่อน-หลังการเข้ารับการอบรม  และประเมินความพึงพอใจ  โดยมีวิทยากรจากงานแพทย์แผนไทย  และงานกายภาพบำบัดโรงพยาบาลกันตังมาให้ความรู้ดังกล่าว 1.1 การประเมินความรู้ก่อน-หลังการเข้ารับการอบรม  ซึ่งใช้แบบประเมินความรู้เรื่อง การดูแลและการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการ  (คำถามแบบกากบาทถูกผิดหน้าข้อความ จำนวน  10 ข้อ ๆ ละ 1 คะแนน  รวมคะแนนเต็ม  10  คะแนน) สามารถสรุปผลการประเมินได้  ดังนี้ - ก่อนการอบรม  ซึ่งได้รับแบบประเมินคืน จำนวน 60 ชุด พบว่าผู้เข้ารับการอบรมได้คะแนนเฉลี่ย 7.1  คะแนน  ได้รับคะแนนสูงสุดอยู่ที่  10  คะแนน  จำนวน  12  คน  รองลงมาคือ  9  คะแนน  จำนวน  14  คน  8 คะแนน  จำนวน  11  คน  7  คะแนน  จำนวน  8  คน  6  คะแนน  จำนวน  9  คน  และคะแนนต่ำสุดอยู่ที่  5 คะแนน  จำนวน  4  คน  จะเห็นได้ว่าก่อนการอบรมผู้เข้าอบรมส่วนใหญ่ได้รับคะแนน  9  คะแนนมากที่สุด  คิดเป็นร้อยละ  26.67  รองลงมาคือ  10  คะแนน  คิดเป็นร้อยละ  20,  8  คะแนน  คิดเป็นร้อยละ  18.33,  6 คะแนน  คิดเป็นร้อยละ  15,  7  คะแนน  คิดเป็นร้อยละ  13.33  และ 5 คะแนน  คิดเป็นร้อยละ  6.67
- หลังการอบรม ซึ่งได้รับแบบประเมินคืน จำนวน  54  ชุด พบว่าผู้เข้าอบรมได้คะแนนเฉลี่ย  8.83 คะแนน  ได้รับคะแนนสูงสุดอยู่ที่  10  คะแนน  จำนวน  19 คน  รองลงมาคือ  9  คะแนน  จำนวน  18  คน  8  คะแนน  จำนวน  8  คน  7  คะแนน  จำนวน  7  คน  และคะแนนต่ำสุดอยู่ที่  6 คะแนน  จำนวน  2  คน  จะเห็นได้ว่าหลังการอบรมผู้เข้าอบรมส่วนใหญ่ได้คะแนน  10  คะแนนมากที่สุด  คิดเป็นร้อยละ  35.2  รองลงมาคือ  9  คะแนน  คิดเป็นร้อยละ  33.33, 8  คะแนน  คิดเป็นร้อยละ  14.81, 7  คะแนน  คิดเป็นร้อยละ  12.96  และ  6 คะแนน  คิดเป็นร้อยละ  3.70
1.2  การประเมินทักษะการดูแล/ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการ/ทุพพลภาพทางการเคลื่อนไหว  แก่แกนนำสุขภาพชุมชน  จำนวน  60  คน  ตามฐานการเรียนรู้จำนวน  3  ฐาน  ซึ่งมีผลการประเมินดังนี้ -  ฐานที่  1  วิธีการนวดบำบัดเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้พิการ/ทุพพลภาพ  ผลการประเมินผู้เข้าร่วมกิจกรรม  พบว่า  ผ่านการประเมินร้อยละ 100 -  ฐานที่  2  การจัดท่าทาง/การเปลี่ยนท่าที่ถูกต้องในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกและการบริหารข้อป้องกันข้อยึดติด  ผลการประเมินผู้เข้าร่วมกิจกรรม  พบว่า  ผ่านการประเมินร้อยละ 100 -  ฐานที่  3  วิธีการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยและการใช้อุปกรณ์เครื่องช่วยคนพิการ  ผลการประเมินผู้เข้าร่วมกิจกรรม  พบว่า  ผ่านการประเมินร้อยละ 100 1.3  ผลการประเมินความพึงพอใจผู้เข้ารับการอบรม  จำนวน  60  คน  ซึ่งได้รับแบบประเมินคืน  54  ชุด  คิดเป็นร้อยละ 90  ผู้เข้ารับการอบรมส่วนใหญ่ร้อยละ  85.80  มีความพึงพอใจในการดำเนินโครงการอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย  4.29