กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องภาวะโภชนาการในเด็กวัยเรียน

กิจกรรม : กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องภาวะโภชนาการในเด็กวัยเรียน
วันที่ 07/03/2023 - 07/03/2023
งบประมาณที่ตั้งไว้ 33,745.00 บาท
กลุ่มเป้าหมาย 207 คน
รายละเอียดกลุ่มเป้าหมาย - ครูผู้ดูแลเด็ก/พี่เลี้ยง ผู้ปกครอง จำนวน 70 คน
- เด็กนักเรียน จำนวน 137 คน
รายละเอียดกิจกรรม :
1. เสนอโครงการเพื่อการอนุมัติตามวาระการประชุมของคณะกรรมการกองทุนฯ
2. ดำเนินการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงเด็ก ทุกๆ เดือน
3. บันทึกผลน้ำหนักและส่วนสูงในสุมดทะเบียนเด็ก พร้อมแจ้งพ่อแม่ทราบและบันทึกในสมุดบันทึกสุขภาพเด็ก
4. จัดทำทะเบียนเด็กที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน และเด็กที่มีน้ำหนักน้อยหรือผอม แยกเป็นการเฉพาะ
5. อบรมครูผู้ดูแลเด็ก/พี่เลี้ยง ผู้ปกครองเด็กที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน น้ำหนักน้อยหรือผอมเข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการในการดูแลน้ำหนักเด็ก โดยวิทยากรจาก รพ. หรือ ศูนย์บริการสาธารณสุขในพื้นที่ มีเนื้อหาดังนี้ (หรือตามหลักสูตรกรมอนามัย)
5.1 บรรยายให้ความรู้เรื่อง ความหมายและความสำคัญของภาวะโภชนาการสำหรับเด็กปฐมวัย(ผู้ปกครอง,เด็กนักเรียน)
5.2 บรรยายให้ความรู้เรื่อง ปัจจัยที่ส่งเสริมการเจริญเติบโตของเด็กปฐมวัย (ผู้ปกครอง,เด็กนักเรียน)
5.3 บรรยายให้ความรู้เรื่อง “ภาวะโภชนาการและการเจริญเติบโตของเด็กปฐมวัย”(ผู้ปกครอง)
5.3.1 การประเมินภาวะโภชนาการในเด็กปฐมวัย
5.3.2 โรคขาดสารอาหาร ภาวะเด็กน้ำหนักต่ำกว่าหรือมากกว่าเกณฑ์
5.3.3 โรคอ้วน โรคและความผิดปกติที่เกี่ยวกับโภชนาการและการเจริญเติบโต
**หมายเหตุ นักเรียนอนุบาล 1– ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงและแปรผลโดยใช้กราฟแสดงเกณฑ์อ้างอิง

5.4 บรรยายให้ความรู้เรื่อง “อาหารหลัก 5 หมู่และธงโภชนาการ 6 กลุ่ม”(ผู้ปกครอง)
5.4.1 อาหารที่เหมาะสมในแต่ละช่วงวัย
5.4.2 ปริมาณวัตถุดิบในการจัดอาหาร
5.4.3 การเลือกซื้อ การเตรียม การปรุงอาหาร
5.4.4 ปริมาณสารอาหารที่ได้รับใน 1 วัน
5.5 บรรยายให้ความรู้เรื่อง“การจัดสิ่งแวดล้อมและการสร้างสุขนิสัยที่ดีสำหรับเด็กในการรับประทานอาหาร(ผู้ปกครอง)
**หมายเหตุ นักเรียนอนุบาล 1 – ประถมศึกษาปีที่6 ฟังบรรยายให้ความรู้เรื่องการปลูกผักปลอดสารพิษและสาธิตปลูก ผักปลอดสารพิษเพื่อส่งเสริมโภชนาการ
6. ครูผู้ดูแลเด็ก/พี่เลี้ยง ร่วมกับผู้ปกครองในการแก้ปัญหาเด็กน้ำหนักเกินหรืออ้วน น้ำหนักน้อยหรือผอม โดย
6.1 ที่โรงเรียน
- ครูผู้ดูแลเด็ก/พี่เลี้ยง กระตุ้นให้เด็กอ้วนลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง และออกไปเล่นในสนามอย่างน้อยให้ได้วันละ 60 นาทีหรือมากกว่า กระตุ้นให้เด็กกินผักผลไม้มากขึ้น (ตามที่กรมอนามัยแนะนำ)
- กรณีเด็กผอม ครูผู้ดูแลเด็กเพิ่มอาหารเสริมให้เด็ก 1 มื้อ เช่น นมและไข่ กระตุ้นให้เด็กเล่นตามปกติ อย่างน้อยวันละ 60 นาที (ตามที่กรมอนามัยแนะนำ)
6.2 ที่บ้าน
- ผู้ปกครอง กรณีเด็กอ้วน ดูแลเรื่องการกินของเด็ก ลดการกินขนมกรุบกรอบ/ขนมหวาน กินโปรตีนเนื้อสัตว์ กระตุ้นให้เล่นเพิ่มเติม กรณีเด็กผอม กระตุ้นให้เด็กกินมากขึ้น เพิ่มอาหารที่มีไขมัน/โปรตีน (ตามที่กรมอนามัยแนะนำ)
7. จัดหานม และไข่เพิ่มเติม สำหรับให้เด็กที่โรงเรียน และสนับสนุนให้เด็กที่น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์
8. ดำเนินการชั่งน้ำหนัก/วัดส่วนสูงเด็กที่น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ เดือนละ 1 ครั้ง จนครบ 3 เดือน และแนะนำผู้ปกครองให้ดำเนินการต่อเนื่อง
9. ติดตามประเมินผล โดยการทำแบบทดสอบความรู้ก่อน-หลังการอบรม ,ถาม-ตอบระหว่างการอบรม และสังเกตความสนใจของผู้เข้ารับการอบรม และการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงเด็กที่น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ และแปรผลโดยใช้กราฟแสดงเกณฑ์อ้างอิง
10. สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการพร้อมแนบรายงาน ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองเบตง