กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการส่งเสริมสุขภาพด้วยการออกกำลังกายแบบลีลาศด้วย 4 จังหวะ ปี 2566

กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ27 พฤษภาคม 2566
27
พฤษภาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนสุขภาพเทศบาลเมืองกันตัง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันที่  27  พฤษภาคม  2566 08.00 น. – 08.45 น. ลงทะเบียน/ประเมินคัดกรองสุขภาพเบื้องต้น โดย  ชมรมลีลาศเพื่อสุขภาพเทศบาลเมืองกันตัง 08.45 น. – 09.00 น. พิธีเปิด - กล่าวเปิด โดย  นายกเทศมนตรีเมืองกันตัง
- กล่าวรายงาน โดย  ประธานชมรมลีลาศเพื่อสุขภาพเทศบาลเมืองกันตัง 09.00 น. – 10.00 น. บรรยายเรื่อง  การส่งเสริมสุขภาพ ชะลอชรา ชีวียืนยาว โดย  วิทยากร  คุณเขมจิรา  สาลีผล 10.00 น. – 10.10 น. พักรับประทานอาหารว่าง 10.10 น. – 12.00 น. บรรยายเรื่อง  เทคนิคการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่ดี
โดย  วิทยากร คุณเขมจิรา  สาลีผล 12.00 น. – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน 13.00 น. – 14.00 น. บรรยายพร้อมฝึกปฏิบัติ  เรื่อง  ดนตรีในจังหวะบีกินและช่า ช่า ช่า การฟังและการ                               นับจังหวะ โดย  วิทยากร  คุณชไมกาญจน์  อ่อนสนิท 14.00 น. – 14.10 น. พักรับประทานอาหารว่าง 14.10 น. – 16.10 น.  บรรยายพร้อมฝึกปฏิบัติ เรื่อง ดนตรีในจังหวะอเมริกันรุมบ้าและตะลุง การฟังและการนับจังหวะ โดย  วิทยากร  คุณชไมกาญจน์  อ่อนสนิท 16.10 น. – 16.30 น. ตอบข้อซักถาม/สรุปผลการเรียนรู้ .......................................................................................................

วันที่  28  พฤษภาคม  2566 08.00 น. – 09.00 น. ลงทะเบียน โดย  ชมรมลีลาศเพื่อสุขภาพเทศบาลเมืองกันตัง 09.00 น. – 12.00 น. บรรยายพร้อมฝึกปฏิบัติ  เรื่อง  การออกกำลังกายแบบลีลาศพื้นฐานในจังหวะบีกิน และจังหวะช่า ช่า ช่า โดย  วิทยากร  คุณชไมกาญจน์  อ่อนสนิท 12.00 น. – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน 13.00 น. – 16.00 น. บรรยายพร้อมฝึกปฏิบัติ  เรื่อง  การออกกำลังกายแบบลีลาศพื้นฐานในจังหวะอเมริกันรุมบ้าและตะลุง โดย  วิทยากร  คุณชไมกาญจน์  อ่อนสนิท 16.00 น. – 16.30 น. ตอบข้อซักถาม/สรุปผลการเรียนรู้ ประเมินความพึงพอใจ .......................................................................................................

หมายเหตุ  วันที่  28  พฤษภาคม  2566  รับประทานอาหารว่างระหว่างฝึกปฏิบัติในช่วงเช้าเวลา 10.00 – 10.10 น. และช่วงบ่ายเวลา  14.00 – 14.10 น.

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. จัดกิจกรรมคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นแก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม  ซึ่งมีผู้สนใจเข้ารับการคัดกรอง  จำนวน  70  คน (ชั่งน้ำหนัก/วัดรอบเอว/วัดความดันโลหิต/ประเมินดัชนีมวลกาย) เพื่อประเมินสภาวะสุขภาพเบื้องต้น
  2. จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ในเรื่องการส่งเสริมสุขภาพ ชะลอชรา  ชีวียืนยาว  เทคนิคการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่ดี  ดนตรีในจังหวะบีกิน, ช่าช่าช่า ,อเมริกันรุมบ้า และตะลุง พร้อมฝึกปฏิบัติการฟัง  และการนับจังหวะ  ฝึกปฏิบัติการออกกำลังกายแบบลีลาศพื้นฐานในจังหวะบีกิน , ช่าช่าช่า , อเมริกันรุมบ้า และจังหวะตะลุง จำนวน  2  วัน  แก่สมาชิกชมรมลีลาศที่สนใจเข้าร่วมโครงการ จำนวน  70  คน  ซึ่งจัดขึ้นจำนวน 2 วัน  ระหว่างวันที่  27 - 28  พฤษภาคม  2566 ณ อาคารคอซิมบี๊  เทศบาลเมืองกันตัง  มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมในวันที่  27  พฤษภาคม  2566  จำนวน  79  คน  โดยมีวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพและด้านลีลาศมาให้ความรู้ดังกล่าว และในวันที่ 28  พฤษภาคม  2566  มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 70 คน โดยมีวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านลีลาศมาให้ความรู้ดังกล่าว
  3. ประเมินความพึงพอใจผู้เข้าร่วมโครงการ  ผลการปะเมินความพึงพอใจผู้เข้ารับการอบรม  จำนวน 70 คน  พบว่าผู้เข้ารับการอบรมร้อยละ  90.2  มีความพึงพอใจในการดำเนินโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด  ค่าเฉลี่ย  4.51  ซึ่งสามารถสรุปในแต่ละด้านได้ดังนี้
    1) เนื้อหาการอบรม มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.53 คิดเป็นร้อยละ 90.6
    2) กิจกรรมการอบรม มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด  ค่าเฉลี่ย  4.60 คิดเป็นร้อยละ  92 3) เอกสารประกอบการอบรม มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก  ค่าเฉลี่ย  4.29  คิดเป็นร้อยละ  85.8
    4) สื่อและอุปกรณ์ประกอบการฝึกอบรม  มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก  ค่าเฉลี่ย 4.26 คิดเป็นร้อยละ 85.2 5) การอำนวยความสะดวก  มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด  ค่าเฉลี่ย 4.59 คิดเป็นร้อยละ 91.8 6) อาหารและอาหารว่าง  มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด  ค่าเฉลี่ย 4.60 คิดเป็นร้อยละ 92 7) สถานที่อบรม มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.81 คิดเป็นร้อยละ 96.2
    8) โสตทัศนูปกรณ์  มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก  ค่าเฉลี่ย 4.41 คิดเป็นร้อยละ 88.2
    9) ระยะเวลาในการอบรม  มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.39 คิดเป็นร้อยละ 87.8
    10) ผลการประเมินโดยภาพรวม มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.66 คิดเป็นร้อยละ 93.2