กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการ สตรีร่วมใจ ใส่ใจสุขภาพด้วย 3อ 2ส ปี 2566

กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ21 มิถุนายน 2566
21
มิถุนายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนสุขภาพเทศบาลเมืองกันตัง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

08.30 น. – 09.00 น. ลงทะเบียน/ประเมินคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นโดย  กลุ่มสตรีเทศบาลเมืองกันตัง 09.00 น. - 09.10 น. พิธีเปิด
- กล่าวเปิด  โดย  นายสรนนท์  จิโรจน์มนตรี  นายกเทศมนตรีเมืองกันตัง
- กล่าวรายงาน  โดย  นางทัศนีย์  พลหลา  ประธานกลุ่มสตรีเทศบาลเมืองกันตัง 09.10 น. - 10.00 น. บรรยายเรื่อง  การดูแลส่งเสริมสุขภาพด้วย 3อ 2สโดย  วิทยากรจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกันตังใต้
10.00 น. - 10.10 น. พักรับประทานอาหารว่าง 10.10 น. - 12.00 น. บรรยายเรื่อง  หลักการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพโดย  วิทยากรจากโรงพยาบาลกันตัง 12.00 น. – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน 13.00 น. – 14.00 น. บรรยายพร้อมฝึกปฏิบัติ  เรื่อง  การออกกำลังกายด้วยยางยืดโดย  วิทยากรจากโรงพยาบาลกันตัง 14.00 น. - 14.10 น. พักรับประทานอาหารว่าง 14.10 น. – 16.10 น. บรรยายพร้อมฝึกปฏิบัติ  เรื่อง  การออกกำลังกายด้วยยางยืด (ต่อ)โดย  วิทยากรจากโรงพยาบาลกันตัง 16.10 น. – 16.30 น. ตอบข้อซักถาม/สรุปผลการเรียนรู้ ประเมินความพึงพอใจ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการแก่สมาชิกกลุ่มสตรีเทศบาลเมืองกันตังให้ความรู้เรื่อง  การดูแลส่งเสริมสุขภาพด้วย 3 อ 2 ส  หลักการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ  และบรรยายพร้อมฝึกปฏิบัติเรื่อง  การออกกำลังกายด้วยยางยืด  เมื่อวันที่  21  มิถุนายน  2566  ณ อาคารคอซิมบี๊  เทศบาลเมืองกันตัง  มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน  54 คน  โดยมีวิทยากรจากจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกันตังใต้ และโรงพยาบาลกันตังมาให้ความรู้ดังกล่าว  พร้อมประเมินความพึงพอใจผู้เข้ารับการอบรม
  2. ผลการประเมินความพึงพอใจผู้เข้ารับการอบรม  จำนวน 56 คน  มีผู้เข้ารับการอบรมตอบกลับแบบประเมิน จำนวน  50  คน ผู้เข้ารับการอบรมร้อยละ  82.6  มีความพึงพอใจในการดำเนินโครงการอยู่ในระดับมาก  ค่าเฉลี่ย  4.13  ซึ่งสามารถสรุปในแต่ละด้านได้ดังนี้
    2.1 ด้านวิทยากร  และสื่อที่ใช้  มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.15 คิดเป็นร้อยละ 83

- เนื้อหาครบถ้วนเหมาะสม  มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก  ค่าเฉลี่ย  4.28  คิดเป็นร้อยละ 85.6 - วิทยากรถ่ายทอดความรู้ และตอบข้อซักถามได้ชัดเจน  มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย  4.08  คิดเป็นร้อยละ  81.6 - สื่อที่ใช้ในการจัดกิจกรรมมีความเหมาะสม  มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก  ค่าเฉลี่ย  4.08  คิดเป็นร้อยละ  81.6 2.2  ด้านความรู้ ความเข้าใจ  และการนำไปใช้  มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก  ค่าเฉลี่ย  4.14  คิดเป็นร้อยละ  82.8
- มีความรู้ความเข้าใจหลังการอบรม มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.18 คิดเป็นร้อยละ  83.6 - สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้  มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก  ค่าเฉลี่ย  4.22  คิดเป็นร้อยละ  84.4 - สามารถนำความรู้ไปเผยแพร่/ถ่ายทอดได้  มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก  ค่าเฉลี่ย  4.02  คิดเป็นร้อยละ  80.4 2.3  ด้านสถานที่/ระยะเวลา  มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก  ค่าเฉลี่ย 4.07  คิดเป็นร้อยละ 81.4 - ระยะเวลาที่ใช้ในการจัดกิจกรรมเหมาะสมเพียงใด  มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก  ค่าเฉลี่ย 4.24 คิดเป็นร้อยละ 84.8 - สถานที่ที่ใช้ในการจัดกิจกรรมเหมาะสมเพียงใด  มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก  ค่าเฉลี่ย 3.90 คิดเป็นร้อยละ 78 2.4  ภาพรวมของโครงการ  มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.14 คิดเป็นร้อยละ 82.8 ข้อเสนอแนะ
1). ควรมีการฝึกปฏิบัติมากกว่านี้  และลดเนื้อหาลง เวลาในการทำกิจกรรมน่าจะ 2 วัน 2). จะนำความรู้จากการอบรมครั้งนี้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน/ควรจัดบ่อยๆ 3. สรุปผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัด ร้อยละ  82.6 ของประชาชนที่เข้ารับการอบรม มีความพึงพอใจต่อการดำเนินโครงการอยู่ในระดับมาก  (ตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ร้อยละ 80  มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก)