โครงการรวมพลังสร้างสุขภาพด้วยการออกกำลังกายสานสายใยชุมชนหลาโปด้วยบาสโลบ ปี 2567
08.30 น. – 09.00 น. ลงทะเบียน/ประเมินคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นโดย คณะกรรมการชุมชนหลาโป 09.00 น. – 09.10 น. พิธีเปิด 09.10 น. – 10.00 น. บรรยายเรื่อง การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดเสี่ยง ลดโรค 10.00 น. – 10.10 น. พักรับประทานอาหารว่าง 10.10 น. – 12.00 น. บรรยายเรื่อง การดูแลส่งเสริมสุขภาพด้วย 3อ 2ส 1ฟ 12.00 น. – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน 13.00 น. – 14.00 น. บรรยายเรื่อง หลักการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพและประโยชน์ของการออกกำลังกาย 14.00 น. – 14.10 น. พักรับประทานอาหารว่าง 14.10 น. – 15.10 น. บรรยายพร้อมฝึกปฏิบัติเรื่อง การออกกำลังกายแบบบาสโลบ 15.10 น. – 15.30 น. - ตอบข้อซักถาม - ประเมินความพึงพอใจ - ปิดการประชุม
- กิจกรรมคัดกรอง/ประเมินสุขภาพเบื้องต้น (ชั่งน้ำหนัก/วัดรอบเอว/วัดความดันโลหิต/ประเมินดัชนีมวลกาย) แก่ประชาชนในชุมชน มีประชาชนในชุมชนได้รับการคัดกรอง จำนวน 124 คน (เป้าหมายจำนวน 186 คน) พบว่า มีรอบเอวเกิน จำนวน 58 คน ระดับความดันโลหิตอยู่ในกลุ่มปกติ จำนวน 86 คน ระดับน้ำตาลอยู่ในเกณฑ์ปกติ จำนวน 90 คน
- กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้แก่ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง จำนวน 40 คน ในเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดเสี่ยง ลดโรค การดูแลส่งเสริมสุขภาพด้วย 3 อ 2 ส 1 ฟ หลักการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพและประโยชน์ของการออกกำลังกาย การออกกำลังกายด้วยบาสโลบ เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2567 ณ อาคารคอซิมบี๊ เทศบาลเมืองกันตัง มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 40 คน
- การประเมินความพึงพอใจผู้เข้ารับการอบรม เป้าหมายจำนวน 40 คน ซึ่งได้รับแบบประเมินคืน 40 ชุด ผู้เข้ารับการอบรมส่วนใหญ่ร้อยละ 89.4 มีความพึงพอใจในการดำเนินโครงการอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.47 โดยมีผลการประเมินแต่ละด้านดังนี้
3.1 ด้านวิทยากร และสื่อที่ใช้ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.39 คิดเป็นร้อยละ 87.8
- เนื้อหาครบถ้วนเหมาะสม มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.45 คิดเป็นร้อยละ 89
- วิทยากรถ่ายทอดความรู้ และตอบข้อซักถามได้ชัดเจน มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.35 คิดเป็นร้อยละ 87
- สื่อที่ใช้ในการจัดกิจกรรมมีความเหมาะสม มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.38 คิดเป็นร้อยละ 87.6
3.2 ด้านความรู้ ความเข้าใจ และการนำไปใช้ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.42 คิดเป็นร้อยละ 88.4
- มีความรู้ความเข้าใจหลังการอบรม มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.43 คิดเป็นร้อยละ 88.6
- สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.43 คิดเป็นร้อยละ 88.6
- สามารถนำความรู้ไปเผยแพร่/ถ่ายทอดได้ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.40 คิดเป็นร้อยละ 88
3.3 ด้านสถานที่/ระยะเวลา มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.52 คิดเป็นร้อยละ 90.4
- สถานที่ที่ใช้ในการจัดกิจกรรมเหมาะสมเพียงใด มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.50 คิดเป็นร้อยละ 90
- ระยะเวลาที่ใช้ในการจัดกิจกรรมเหมาะสมเพียงใด มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.53 คิดเป็นร้อยละ 90.6
3.4 ภาพรวมของโครงการ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.53 คิดเป็นร้อยละ 90.6
ข้อเสนอแนะ เสนอให้เชิญผู้สนใจจากชมรมอื่นๆ ทั้ง 12 ชุมชน เข้าร่วมกิจกรรมด้วยความสมัครใจ จะเกิดพลังศรัทธาร่วมมือร่วมใจดีมากขึ้น
4. จัดกิจกรรมส่งเสริมการออกกำลังกายแก่ประชาชนในชุมชน อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง
5. สรุปผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัด
ร้อยละ 80 ประชาชนที่เข้ารับการอบรม มีความพึงพอใจต่อการดำเนินโครงการอยู่ในระดับมาก ผลการดำเนินงานพบว่าผู้เข้ารับการอบรมร้อยละ 89.4 มีความพึงพอใจโครงการอยู่ในระดับมาก
6. สรุปค่าใช้จ่ายการดำเนินกิจกรรม/โครงการฯ ทั้งสิ้นจำนวน 18,950.- บาท ดังนี้
กิจกรรมคัดกรอง/ประเมินสุขภาพเบื้องต้น (ไม่มีค่าใช้จ่าย)
กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ
- ค่าสมนาคุณวิทยากร เป็นเงิน 3,000 บาท
- ค่าป้ายไวนิลโครงการ 1 ผืน เป็นเงิน 375 บาท
- ค่าป้ายประชาสัมพันธ์ 1 ผืน เป็นเงิน 375 บาท
- ค่าอาหารกลางวัน 40 คน x 70 บ. x 1 มื้อ เป็นเงิน 2,800 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 40 คน x 30 บ. x 2 มื้อ เป็นเงิน 2,400 บาท
- ค่าเอกสารประกอบการอบรม/แบบประเมินความพึงพอใจ เป็นเงิน 400 บาท
- ค่าวัสดุ/อุปกรณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นเงิน 800 บาท
กิจกรรมส่งเสริมการออกกำลังกาย
- ค่าเครื่องขยายเสียงเคลื่อนที่แบบลากจูง 1 เครื่อง เป็นเงิน 8,800 บาท