กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

กิจกรรมอบรมให้ความรู้24 มิถุนายน 2567
24
มิถุนายน 2567รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนสุขภาพเทศบาลเมืองกันตัง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

08.30 น. – 09.00 น. ลงทะเบียนโดย  แกนนำสุขภาพชุมชนกิตติคุณ 09.00 น. – 09.15 น. พิธีเปิด 09.45 น. – 10.00 น. พักรับประทานอาหารว่าง
10.00 น. – 12.00 น. บรรยายเรื่อง  โรคไข้เลือดออก และการดูแลผู้ป่วยเบื้องต้นโดย วิทยากรจากศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงที่ 12.3 จ.ตรัง
12.00 น. – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน 13.00 น. – 13.30 น. บรรยายเรื่อง  ชีววิทยาของยุงโดย วิทยากรจากศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงที่ 12.3 จ.ตรัง
13.30 น. – 13.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง 13.45 น. – 15.45 น. บรรยายเรื่อง  การป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก  สาธิตการทำที่ใส่ทรายอะเบทจากเศษวัสดุเหลือใช้โดย วิทยากรจากศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงที่ 12.3 จ.ตรัง
15.45 น. – 16.15 น. - ตอบข้อซักถาม - ประเมินความพึงพอใจ - ปิดการประชุม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่แกนนำสุขภาพประจำครอบครัว/ประชาชนในชุมชนที่สนใจเข้าร่วมโครงการ เป้าหมายจำนวน 40  คน ในเรื่อง  สถานการณ์โรคไข้เลือดออก  โรคไข้เลือดออก และการดูแลผู้ป่วยเบื้องต้น ชีววิทยาของยุง การป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก และสาธิตการทำกับดักยุง  โดยวิทยากรจากศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงที่ 12.3 จ.ตรัง มาให้ความรู้ดังกล่าว ซึ่งมีผู้เข้ารับการอบรมจำนวน  42 คน  เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน  2567 ณ ชุมชนกิตติคุณ
  2. ประเมินความพึงพอใจผู้เข้ารับการอบรม เป้าหมายจำนวน 40 คน ซึ่งได้รับแบบประเมินคืน 40  ชุด ผู้เข้ารับการอบรมส่วนใหญ่ร้อยละ 90.6 มีความพึงพอใจในการดำเนินโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด  ค่าเฉลี่ย 4.53
  3. กิจกรรมป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน โดยจัดทำที่ใส่ทรายอะเบทจากเศษวัสดุเหลือใช้ พร้อมมอบให้ครัวเรือนที่สนใจนำไปใช้ในชุมชน
  4. กิจกรรมสำรวจ/ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในชุมชน/ครัวเรือนทุกเดือนๆ ละ 1 ครั้ง พร้อมลงบันทึกในแบบสำรวจลูกน้ำยุงลายและคำนวณดัชนีลูกน้ำยุงลายทุกเดือน เพื่อประเมินความชุกป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก  โดยแกนนำสุขภาพในชุมชน  เดินรณรงค์เคาะประตูบ้านประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก  และขอความร่วมมือประชาชนให้ร่วมกันทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย  พร้อมมอบเอกสารหรือแผ่นปลิวการป้องกันโรคไข้เลือดออกให้กับประชาชนในชุมชน  ซึ่งมีข้อมูลผลการสำรวจลูกน้ำยุงลายตั้งแต่เดือนมิถุนายน – สิงหาคม 2567  จากผลการสำรวจดังกล่าว  พบว่า  ค่าดัชนีความชุกลูกน้ำยุงลายในบ้าน (HI)  สูงที่สุดในเดือนกรกฎาคม  2567  ร้อยละ  9.46  และน้อยที่สุดในเดือนมิถุนายน ร้อยละ  6.29  ในเดือนสิงหาคม ค่า HI ลดลงจากเดือนกรกฎาคม  ร้อยละ 1.9
  5. สรุปผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัด ค่าดัชนีความชุกลูกน้ำยุงลายในบ้าน House Index น้อยกว่าหรือเท่า 10 (HI ≤10)