กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ30 กรกฎาคม 2567
30
กรกฎาคม 2567รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนสุขภาพเทศบาลเมืองกันตัง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

08.30 น. - 09.00 น. ลงทะเบียนโดย แกนนำสุขภาพชุมชนหลาโป 09.00 น. - 09.10 น. พิธีเปิดโครงการ 09.10 น. - 10.00 น. บรรยายเรื่อง  โรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง   
10.00 น. - 10.10 น. พักรับประทานอาหารว่าง 10.10 น. - 12.00 น. บรรยายเรื่อง  การดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง
12.00 น. - 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน 13.00 น. - 14.00 น. บรรยายเรื่อง  อาหาร  ลดเค็ม...ลดโรค
14.00 น. - 14.10 น. พักรับประทานอาหารว่าง 14.10 น. - 15.10 น. บรรยายพร้อมฝึกปฏิบัติ  เรื่อง การออกกำลังกายด้วยยางยืด 15.10 น. - 15.30 น. - ตอบข้อซักถาม - ประเมินความพึงพอใจ - ปิดการประชุม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. กิจกรรมคัดกรอง/ประเมินความเสี่ยงแก่ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปในชุมชน  โดยแกนนำสุขภาพในชุมชน  ดำเนินการคัดกรอง/ประเมินสุขภาพเบื้องต้น  (วัดความดันโลหิต/เจาะน้ำตาลปลายนิ้ว/วัดรอบเอว/ประเมินดัชนีมวลกาย)  และประเมินความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง  มีประชาชนในชุมชนได้รับการคัดกรอง  จำนวน  247  คน  (เป้าหมายจำนวน  317  คน)  โดยมีผลการคัดกรองประเมินความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง ดังนี้  เสี่ยงน้อยจำนวน  124  คน  คิดเป็นร้อยละ  50.20  เสี่ยงปานกลาง  จำนวน  61 คน  คิดเป็นร้อยละ  24.7  เสี่ยงสูง  จำนวน  62  คน  คิดเป็นร้อยละ  25.10
  2. กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่ประชาชนที่มีภาวะเสี่ยง  จำนวน 40 คน  โดยให้ความรู้เรื่องโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง  การดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง  อาหาร  ลดเค็ม...ลดโรค  การออกกำลังกายด้วยยางยืด  เมื่อวันที่  30  กรกฎาคม  2567  ณ  ที่ทำการชุมชนหลาโป  มีผู้เข้ารับการอบรมจำนวน  50  คน
  3. ประเมินความพึงพอใจผู้เข้ารับการอบรม  เป้าหมายจำนวน  40  คน  ซึ่งได้รับแบบประเมินคืน  40  ชุด  ผู้เข้ารับการอบรมส่วนใหญ่ร้อยละ  86.8  มีความพึงพอใจในการดำเนินโครงการอยู่ในระดับมาก  ค่าเฉลี่ย  4.34  โดยมีผลการประเมินแต่ละด้านดังนี้ 3.1 ด้านวิทยากรและสื่อที่ใช้ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.375 คิดเป็นร้อยละ 87.5

- เนื้อหาครบถ้วนเหมาะสม มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก  ค่าเฉลี่ย  4.425  คิดเป็นร้อยละ 89 - วิทยากรถ่ายทอดความรู้ และตอบข้อซักถามได้ชัดเจน  มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย  4.45  คิดเป็นร้อยละ  89 - สื่อที่ใช้ในการจัดกิจกรรมมีความเหมาะสม  มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย  4.25 คิดเป็นร้อยละ  85 3.2  ด้านความรู้ ความเข้าใจ  และการนำไปใช้  มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย  4.31  คิดเป็นร้อยละ  86.2 - มีความรู้ความเข้าใจหลังการอบรม มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก  ค่าเฉลี่ย  4.35  คิดเป็นร้อยละ  82 - สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้  มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก  ค่าเฉลี่ย  4.35  คิดเป็นร้อยละ  87 - สามารถนำความรู้ไปเผยแพร่/ถ่ายทอดได้  มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก  ค่าเฉลี่ย  4.23  คิดเป็นร้อยละ  84.6 3.3  ด้านสถานที่/ระยะเวลา  มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก  ค่าเฉลี่ย  4.28 คิดเป็นร้อยละ 85.6 - สถานที่ที่ใช้ในการจัดกิจกรรมเหมาะสมเพียงใด  มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก  ค่าเฉลี่ย 4.20 คิดเป็นร้อยละ  84 - ระยะเวลาที่ใช้ในการจัดกิจกรรมเหมาะสมเพียงใด  มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.35 คิดเป็นร้อยละ  87 3.4  ภาพรวมของโครงการ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก  ค่าเฉลี่ย 4.375 คิดเป็นร้อยละ 87.5 4. กิจกรรมติดตามกลุ่มเสี่ยง  โดยแกนนำสุขภาพในชุมชนติดตามกลุ่มเสี่ยงในชุมชน  มีการประเมินสุขภาพเบื้องต้นซ้ำ  (วัดความดันโลหิต/เจาะน้ำตาลปลายนิ้ว/วัดรอบเอว/ประเมินดัชนีมวลกาย)  และประเมินความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดสมองซ้ำแก่กลุ่มเสี่ยง 


5. สรุปผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัด 1). ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปที่อาศัยอยู่จริงในชุมชน  ได้รับการคัดกรองความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง  คิดเป็นร้อยละ  77.92  (ตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ร้อยละ 80) 2). ร้อยละ  86.8  ของประชาชนที่เข้ารับการอบรม มีความพึงพอใจต่อการดำเนินโครงการอยู่ในระดับมาก  (ตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ร้อยละ  80  มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก) 6. สรุปค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานตามโครงการ จำนวนทั้งสิ้น 15,775 บาท โดยมีรายละเอียดดังนี้ กิจกรรมคัดกรองประเมินความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง
- ค่าจัดซื้อเครื่องชั่งน้ำหนัก 1 เครื่อง เป็นเงิน     800   บาท - ค่าจัดซื้อเครื่องเจาะน้ำตาลปลายนิ้ว 1 เครื่อง เป็นเงิน     690   บาท - ค่าแถบตรวจน้ำตาล (25 ชิ้น/กล่อง) 6 กล่อง เป็นเงิน   1,920  บาท - ค่าเข็มเจาะเลือดปลายนิ้ว 1 กล่อง เป็นเงิน     800   บาท - ค่าวัสดุอุปกรณ์/อื่นๆที่เกี่ยวข้อง (สำลี, แอลกอฮอล์) เป็นเงิน     200   บาท กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่ประชาชนที่มีภาวะเสี่ยง - ค่าสมนาคุณวิทยากร  5 ชม. x 600 บ. เป็นเงิน   3,000  บาท - ค่าป้ายไวนิลโครงการ 1 ผืน เป็นเงิน      375  บาท - ค่าป้ายประชาสัมพันธ์ 2 ผืน เป็นเงิน      750  บาท - ค่าอาหารกลางวัน 40 คน x 70 บ. x 1 มื้อ เป็นเงิน  2,800  บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 40 คน x 30 บ. x 2 มื้อ เป็นเงิน  2,400  บาท - ค่าเอกสารประกอบการอบรม/แบบประเมินความพึงพอใจ เป็นเงิน      400  บาท - ค่าวัสดุอุปกรณ์/อื่นๆที่เกี่ยวข้อง เป็นเงิน   1,100  บาท กิจกรรมติดตามกลุ่มเสี่ยงในชุมชน
- ค่าโฟมบอร์ดประชาสัมพันธ์แบบมีด้ามจับ 3 แผ่น เป็นเงิน  540  บาท