กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการสตรียุคใหม่ ใส่ใจป้องกันภัยมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก ปี 2562

อบรมแกนนำสตรี31 มกราคม 2562
31
มกราคม 2562รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนสุขภาพเทศบาลเมืองกันตัง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ลงทะเบียน/ประเมินความรู้ก่อนได้รับการอบรม  โดย เจ้าหน้าที่ศูนย์บริการสาธารณสุข  เทศบาลเมืองกันตัง
  • บรรยายเรื่องโรคมะเร็งปากมดลูก โดย  วิทยากรจากสาธารณสุขอำเภอกันตัง ( นางสาวประไพวรรณ์  ศรีเมธาวรคุณ )
  • พักรับประทานอาหารว่าง
  • บรรยายเรื่องโรคมะเร็งเต้านมและสาธิตการตรวจเต้านมด้วยตนเอง โดย  วิทยากรจากโรงพยาบาลกันตัง ( นางปราณี  ตรีรัตนไพบูลย์ )
  • พักรับประทานอาหารกลางวัน
  • บรรยาย เรื่องเทคนิคการเชิญชวนเข้าร่วมการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมและปากมดลูก โดย  วิทยากรจากสาธารณสุขอำเภอกันตัง (นางอภิรดี  ปิยวัฒน์)
  • พักรับประทานอาหารว่าง
  • แบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติและประเมินทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเอง 3 กลุ่ม  โดย  วิทยากรจากสาธารณสุขอำเภอกันตัง (นางสาวประไพวรรณ์  ศรีเมธาวรคุณ และ นางอภิรดี ปิยวัฒน์ )โดย  วิทยากรจากโรงพยาบาลกันตัง (นางปราณี  ตรีรัตนไพบูลย์)
  • อภิปรายสรุปผล/ตอบข้อซักถาม ประเมินความรู้หลังได้รับการอบรม
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการแก่แกนนำสุขภาพสตรีในชุมชน  จำนวน  100  คน ให้มีความรู้และตระหนักถึงความสำคัญของการเกิดโรค  อีกทั้งสามารถตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านมได้ด้วยตนเองและขยายต่อในชุมชนได้    ในวันที่  31  มกราคม  2562  ณ อาคารคอซิมบี๊  เทศบาลเมืองกันตัง มีค่าใช้จ่าย ดังนี้ 1.1 ค่าวิทยากรบรรยายและแบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติ    เป็นเงิน 6,000 บาท 1.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 2 มื้อๆละ 30 บาทเป็นเงิน 6,000 บาท 1.3 ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อๆละ 70 บาท เป็นเงิน 7,000 บาท 1.4. ค่าเอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการ 100 ชุดๆละ 10 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท 1.5. ค่าป้ายประชาสัมพันธ์ 1 ผืนๆละ 300 บาท  เป็นเงิน 300 บาท 1.6. ค่าวัสดุอุปกรณ์อื่นๆ รวมเป็นเงิน 1,000 บาท สรุปค่าใช้จ่ายทั้งหมดในระยะแรก เป็นเงิน  จำนวน  21,300.-  บาท
  2. ทดสอบความรู้ก่อน-หลังเข้ารับการอบรม  ซึ่งใช้แบบประเมินความรู้เรื่อง มะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก  (คำถามแบบกากถูกกากผิดหน้าข้อความ จำนวน  15 ข้อๆ ละ 1 คะแนน  รวมคะแนนเต็ม  15 คะแนน)  สามารถสรุปผลการประเมินได้  ดังนี้

- ก่อนการอบรม  ซึ่งได้รับแบบประเมินคืน จำนวน 89 ชุด พบว่าผู้เข้ารับการอบรมได้รับคะแนนสูงสุดอยู่ที่ 14 คะแนน จำนวน 6 คน รองลงมาคือ 13 คะแนน จำนวน 9 คน 12 คะแนน จำนวน 14  คน  11  คะแนน จำนวน 27  คน 10 คะแนน  จำนวน  23  คน  9  คะแนน  จำนวน  9  คน และคะแนนต่ำสุดอยู่ที่  8  คะแนน  จำนวน  2  คน  จะเห็นได้ว่าก่อนการอบรมผู้เข้าอบรมส่วนใหญ่ได้รับคะแนน  11  คะแนนมากที่สุด  คิดเป็นร้อยละ  30.34  รองลงมาคือ  10  คะแนน  คิดเป็นร้อยละ  25.84, 14 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 14.28,  12 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 15.73 , 13 และ 9 คะแนน  คิดเป็นร้อยละ  10.11 , 14  คะแนน  คิดเป็นร้อยละ  5.62  และ 8 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 2.25  ตามลำดับดังตาราง - หลังการอบรม ซึ่งได้รับแบบประเมินคืน จำนวน 9 ชุด พบว่าผู้เข้าอบรมได้รับคะแนนสูงสุดอยู่ที่  15 คะแนน จำนวน 5 คน รองลงมาคือ 14 คะแนน จำนวน  13 คน  13 คะแนน  จำนวน 29 คน
12  คะแนน จำนวน 16 คน 11 คะแนน จำนวน 8 คน 10  คะแนน จำนวน 9 คน  และคะแนนต่ำสุดอยู่ที่ 9 คะแนน จำนวน 10 คน  จะเห็นได้ว่าหลังการอบรมผู้เข้าอบรมส่วนใหญ่ได้รับคะแนน 13 คะแนนมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 32.22  รองลงมาคือ 12 คะแนน  คิดเป็นร้อยละ 17.78 , 14 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 14.44 , 9 คะแนน  คิดเป็นร้อยละ 11.00 , 10 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 10, 11 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 8.89 และ 15 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 5.56
-ประเมินทักษะแกนนำสุขภาพสตรีในการเข้ากลุ่มฝึกปฏิบัติการตรวจเต้านมด้วยตนเองสามารถสรุปผลการประเมินทักษะได้ว่า แกนนำสุขภาพสตรีสามารถผ่านการประเมินทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเอง