กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลตะลุโบะ ประจำปี 2562

ประชุมคณะกรรมการกองทุนฯครั้งที่1/256221 มีนาคม 2562
21
มีนาคม 2562รายงานจากพื้นที่ โดย Admin_กองทุนฯ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เริ่มประชุมเวลา 09.30 น.
เมื่อถึงเวลาประชุม นางสาวภัทรญา ภิญญาจิรกุล เลขานุการกองทุนฯ ได้เชิญ          นายอับดุลฮาลิม อีซอ ประธานกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลตะลุโบะ ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม ดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระดังนี้ ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ - ประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการ ระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ สำหรับรายละเอียดของประกาศได้สำเนาแจกจ่ายแก่คณะกรรมการพร้อมกับหนังสือเชิญประชุมแล้ว - สถานะทางการเงินของกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบลตะลุโบะ สำหรับรายละเอียดของสถานะทางการเงินได้สำเนาแจกจ่ายแก่คณะกรรมการพร้อมกับหนังสือเชิญประชุมแล้ว ผอ.กองสาธารณสุขฯ ได้แจ้ง สถานะการเงินประจำปี 2562 - ยอดคงเหลือ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๑ ในบัญชีทั้งสิ้น 1,306,679.92 บาท (เงินหนึ่งล้านสามแสนหกพันหกร้อยเจ็ดสิบเก้าบาทเก้าสิบสองสตางต์) ปีนี้ไม่มีการสมทบจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและจากองค์การบริหารส่วนตำบลตะลุโบะ ประมาณการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลตะลุโบะ ประมาณการยอดปี 2562
ยอดคงเหลือทั้งสิ้น เป็นเงิน 1,306,679.92 บาท ยอดคงเหลือ (15%) เป็นเงิน 196,001.98 บาท ประเภทที่ 1. กิจกรรมเพื่อสนับสนุนหน่วยบริการ หรือสถานบริการ หรือ หน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ -  อบต.,รพ.สต. (20%) เป็นเงิน 222,135.59 บาท ประเภทที่ 2. กิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพโดยประชาชน และชุมชนท้องถิ่น/หน่วยงานอื่น - ภาคประชาชนหรือหน่วยงานอื่น (35%) เป็นเงิน 388,737.28 บาท ประเภทที่ 3. กิจกรรมการสนับสนุนการดูแลเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ป่วยโรคเรื้อรัง - ศูนย์เด็ก,ผู้สูงอายุ (20%) เป็นเงิน 222,135.59 บาท

ประมาณการจากรายรับ 513,690 บาท ประเภทที่ 4. กิจกรรมการบริหารจัดการกองทุน/พัฒนาศักยภาพกรรมการ/และพัฒนาระบบบริหารจัดการ (15%) เป็นเงิน 77,053.50 บาท ประเภทที่ 5. กิจกรรมกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่ (10%) เป็นเงิน 51,369.-บาท คณะกรรมการสามารถตรวจสอบสถานะการเงินได้จากสำเนาเอกสารที่แจกจ่ายพร้อมกับหนังสือเชิญประชุม มติที่ประชุม  รับทราบ
ระเบียบวาระที่ ๒  เรื่องรับรองรายงานการประชุมครั้งที่แล้ว -

ระเบียบวาระที่ ๓  เรื่องเสนอเพื่อพิจาณา การดำเนินการจัดทำโครงการตามกองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลตะลุโบะ นายอดินันท์ หะยีสามะ ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ได้นำเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม จำนวน ๑ โครงการ เป็นเงิน 51,300.-บาท ดังนี้ ประเภทที่ ๑ กิจกรรมสนับสนุนหน่วยบริการหรือหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ ๑. โครงการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายในเยาวชนมุสลิม      ประจำปี 256๒ เป็นเงิน 51,300.-บาท วัตถุประสงค์
๑. บริการทำขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายแก่เด็กและเยาวชนมุสลิม ในพื้นที่ตะลุโบะ
๒. เพื่อลดภาวะเสี่ยงการติดเชื้อ และภาวะออกเลือดมาก (bleeding) ๓. เพื่อรณรงค์และสร้างความตระหนัก ความเข้าใจ ในการดูแลสุขภาพและป้องกันโรค โดยเฉพาะโรคติดเชื้อ ๔. เพื่อให้เด็กและเยาวชนมุสลิมในเขตพื้นที่ตะลุโบะสามารถเข้าถึงบริการด้านส่งเสริมและป้องกันโรค เป้าหมาย เด็กในพื้นที่ จำนวน ๔๕ คน       ผู้ปกครอง  จำนวน 45 คน ระยะเวลาดำเนินการ  1 เมษายน - 30 กันยายน 256๒

งบประมาณ เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ตะลุโบะ ปี 256๒ (ประเภทที่ ๑ กิจกรรมสนับสนุนหน่วยบริการหรือหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ ดังรายละเอียดค่าใช้จ่ายดังนี้ ๑. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 90 คนๆละ ๕๐.-บาท เป็นเงิน 4,500.-บาท ๒. ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 90 คนๆละ ๒ มื้อๆละ 35.-บาท
    เป็นเงิน 6,300.-บาท ๓. ค่าวิทยากร จำนวน 2 คนๆละ 3 ชั่วโมงๆละ 600.-บาท
    เป็นเงิน 3,600.-บาท ๔. ค่าป้ายไวนิล กว้าง ๑ เมตร ยาว ๓ เมตร จำนวน ๑ ผืน
    เป็นเงิน 900.-บาท 5. ค่าขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย จำนวน ๔๕ คนๆละ ๘๐๐.-บาท
      เป็นเงิน ๓๖,๐๐๐.-บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 51,300.-บาท (เงินห้าหมื่นหนึ่งพันสามร้อยบาทถ้วน) ผลที่คาดว่าจะได้รับ ๑. เกิดความตระหนัก ความเข้าใจ ในการดูแลสุขภาพและป้องกันโรค โดยเฉพาะโรคติดเชื้อ ๒. เด็กและเยาวชนมุสลิมได้รับการทำสุหนัต (ขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย) สามารถลดภาวะเสี่ยงของการออกเลือด ภาวะแทรกซ้อน (การอักเสบรุนแรง) และการติดเชื้อ
ผู้รับผิดชอบโครงการ  นายอดินันท์ หะยีสามะ ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

ประธาน แจ้งให้คณะกรรมการซักถามเพิ่มเติม เมื่อไม่มีผู้ใดซักถามเพิ่มเติม จึงขอมติที่ประชุม
ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 1  สอบถามนอกจากค่าขลิบ หัวละ 800.-บาท เราสามารถเบิกค่าอะไรเพิ่มเติมได้บ้าง ผอ.กองสาธารณสุขฯ โครงการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายในส่วนค่าขลิบรายละ 800.-บาท ซึ่งดำเนินการตามหนังสือ สปสช.3.18.15/00036 ลงวันที่ 2 ธันวาคม 2558 เรื่อง การสนับสนุนการดำเนินงานโครงการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายในเยาวชนมุสลิม เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ประธาน แจ้งให้คณะกรรมการซักถามเพิ่มเติม เมื่อไม่มีผู้ใดซักถามเพิ่มเติม จึงขอมติที่ประชุม
มติที่ประชุม  เห็นชอบอนุมัติ

  ประเภทที่ ๑ กิจกรรมสนับสนุนหน่วยบริการหรือหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ นางสาวฮาลีมะห์ ยามา นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ ได้นำเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม จำนวน 6 โครงการ ดังนี้

๑. โครงการพัฒนาศักยภาพผู้นำเด็กและเยาวชนเพื่อป้องกันและควบคุมไข้เลือดออก(อสม.จิ๋ว) ปี 2562 เป็นเงิน 20,500.-บาท
วัตถุประสงค์ 1. เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้นำเด็กและเยาวชนอายุ 10 – 18 ปีจำนวน 140 คน ให้มีความรู้ในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก 2. เพื่อดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก เป้าหมาย 1. ผู้นำเด็กและเยาวชนในโรงเรียนอายุ 10 – 18 ปี จำนวน 5 โรง รวมทั้งหมด จำนวน 70 คน 2. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 9 หมู่    จำนวน  70 คน ระยะเวลาดำเนินการ วันที่ ๑ เมษายน - ๓๐ กันยายน ๒๕๖2 งบประมาณ เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ตะลุโบะ ปี 2562 (ประเภทที่ ๑ กิจกรรมสนับสนุนหน่วยบริการหรือหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ ดังรายละเอียดค่าใช้จ่ายดังนี้ กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ เรื่องการป้องกันโรคไข้เลือดออก และการกำจัดลูกน้ำยุงลาย ๑. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 70 คนๆละ ๕๐.-บาท เป็นเงิน 3,500-บาท ๒.  ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 70 คนๆ ละ 35.-บาท/มื้อ จำนวน 2 มื้อ  เป็นเงิน 4,900.-บาท 3. ค่าถ่ายเอกสารประกอบการอบรม จำนวน 70 ชุดๆ ละ 40.-บาท          เป็นเงิน 2,800.-บาท 4. ค่าป้ายโครงการ ขนาด 1 x 3 เมตร เป็นเงิน 900.-บาท รวมเป็นเงิน 12,100.-บาท กิจกรรมที่ 2 พัฒนาศักยภาพ อสม.(อสม.พี่เลี้ยง) ๑. ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าอบรม จำนวน 70 คนๆละ 50.-บาท        จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 3,500.-บาท ๒. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าอบรม จำนวน70 คนๆละ 35.-บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 4,900.-บาท รวมเป็นเงิน 8,400 .-บาท ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. กลุ่มผู้นำเด็กและเยาวชน มีการพัฒนาศักยภาพในการจัดการทางสุขภาพ
2. เกิดการบูรณาการร่วมกันในการทำงานของหน่วยงาน กลุ่มองค์กร จิตอาสา ปราชญ์ชาวบ้าน ในการดูแล สุขภาพของคนภายในชุมชน ผู้รับผิดชอบโครงการ  นายหวันมูฮำมัดรุสดี เจะอาแว ตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ รักษาการในตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะลุโบะ
ประธาน สอบถามเพิ่มเติม เกี่ยวกับพิกัดในการสำรวจ เจ้าหน้าที่ รพสต. ตามโครงการ อบรมแกนนำ 2 วัน เด็กนักเรียน 1 วัน และ อสม. 1 วัน จะดำเนินการสำรวจลูกน้ำยุงลาย เดือนละ 1 ครั้ง โดยแบ่งตามเขตรับผิดชอบของ อสม.

รองประธาน เสนอหลังจากดำเนินการโครงการเสร็จ ให้ดูตัวชี้วัดให้ชัดเจน พอดำเนินการเสร็จ PT ไข้เลือดออกลดลง หรือไม่

ประธาน แจ้งให้คณะกรรมการซักถามเพิ่มเติม เมื่อไม่มีผู้ใดซักถามเพิ่มเติม จึงขอมติที่ประชุม
มิตที่ประชุม  เห็นชอบอนุมัติ

  1. โครงการหนูน้อยสมาร์ทคิทส์ตำบลตะลุโบะ ปี ๒๕๖๒  เป็นเงิน 25,760.-บาท
    วัตถุประสงค์ ๑. เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้และสามารถดูแลสุขภาพเด็ก ๐-๕ ปี อย่างเป็นองค์รวมและครอบคลุมทั้ง ๔ ด้าน ๒. เพื่อส่งเสริมให้เด็ก ๐-๕ ปี มีสุขภาพที่ดีครอบคลุม ทั้ง ๔ ด้าน ( พัฒนาการสมวัย โภชนาการสมส่วน วัคซีนครบตามเกณฑ์ ฟันดี ไม่ผุ) ๓. เพื่อให้ อสม. มีความรู้และสามารถประเมินสุขภาพเด็ก ๐-๕ ปี เบื้องต้นอย่างเป็นองค์รวมและครอบคลุมทั้ง ๔ ด้าน เป้าหมาย
  2. ผู้ปกครองและเด็กที่เกิด ตั้งแต่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๙ – ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๐        (ที่เป็นเป้า Smart Kids ที่ครบอายุประเมิน) ในเขตตำบลตะลุโบะ อำเภอเมืองปัตตานี              จำนวน 75 คน
  3. อสม.ในเขตตำบลตะลุโบะ  จำนวน  9 คน ระยะเวลาดำเนินการ วันที่ ๑ เมษายน - ๓๐ กันยายน ๒๕๖2 งบประมาณ เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ตะลุโบะ ปี 2562 (ประเภทที่ ๑ กิจกรรมสนับสนุนหน่วยบริการหรือหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ ดังรายละเอียดค่าใช้จ่ายดังนี้ กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ผู้ปกครองและอสม. เรื่องการดูแลเด็ก 0 -5 ปี
    • ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้ปกครองเด็กสมาร์ทคิดส์ จำนวน 75 คน (รายชื่อกลุ่มเป้าหมายสมาร์ทคิดส์จากโปรแกรมสมาร์ทคิดส์ของสสจ.ปัตตานีที่ผ่านด้านวัคซีนจำนวน 75 คน) และอสม.ผู้เข้าอบรมการดูแลเด็ก จำนวน 9 หมู่ๆละ 1 คน รวมทั้งสิ้น 84 คนๆละ 50.-บาท จำนวน 1 มื้อ x 1 วัน เป็นเงิน 4,200.-บาท

- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้ปกครองเด็กสมาร์ทคิดส์ และอสม.ผู้เข้าอบรมการดูแลเด็ก จำนวน 84 คนๆละ 35.-บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 5,880.-บาท - ค่าไวนิลโครงการ ขนาด 1x 3 เมตร เป็นเงิน 900.-บาท                  รวมเป็นเงิน 10,980.-บาท กิจกรรมที่ 2 ประกวดหนูน้อยสมาร์ทคิดส์ - ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้ปกครองเด็กสมาร์ทคิดส์ จำนวน 40 คนและเด็กสมาร์ทคิดส์ จำนวน 40 คน เข้าประกวด และอสม.ผู้ดูแลเด็กเข้าร่วมกิจกรรมการประกวด จำนวน 9 หมู่ๆละ 1 คน รวมจำนวน 89 คนๆละ 50.-บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 4,450.-บาท

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าอบรม จำนวน 89 คนๆละ 35.-บาท จำนวน 2 มื้อ              เป็นเงิน 6,230.-บาท
    ค่ารางวัลการประกวด
  • ชนะเลิศอันดับ ๑ จำนวน ๑ รางวัล
                          เป็นเงิน ๑,๐๐๐.-บาท
  • รองชนะเลิศอันดับ ๑ จำนวน๑ รางวัล
                        เป็นเงิน ๗๐๐.-บาท
  • รองชนะเลิศอันดับ ๒ จำนวน ๑ รางวัล
                        เป็นเงิน ๕๐๐.-บาท
  • ชมเชยรางวัลละ ๓๐๐.-บาท จำนวน ๓ รางวัล
                        เป็นเงิน ๙๐๐.-บาท
                    รวมเป็นเงิน ๓,๑๐๐.-บาท
  • ค่าวัสดุอุกปกรณ์ในการจัดงาน เป็นเงิน 1,000.-บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 25,760.-บาท ผลที่คาดว่าจะได้รับ ๑. ผู้ปกครองทราบและสามารถดูแลสุขภาพเด็ก ๐ - ๕ ปี ได้รับการดูแลสุขภาพอย่างเป็นองค์รวมและครอบคลุมทั้ง ๔ ด้าน ๒. เด็กอายุ ๐-๕ ปี มีสุขภาพที่ดีครอบคลุมทั้ง ๔ ด้าน
    ๓. อสม. มีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพเด็ก ๐ – ๕ ปี อย่างเป็นองค์รวมและครอบคลุมทั้ง ๔ ด้าน ผู้รับผิดชอบโครงการ  นายหวันมูฮำมัดรุสดี เจะอาแว ตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ รักษาการในตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะลุโบะ

ประธาน แจ้งให้คณะกรรมการซักถามเพิ่มเติม เมื่อไม่มีผู้ใดซักถามเพิ่มเติม จึงขอมติที่ประชุม
มิตที่ประชุม  เห็นชอบอนุมัติ

  1. โครงการผู้สูงวัยสุขภาพดี ประจำปีงบประมาณ 2562                เป็นเงิน 20,700.-บาท วัตถุประสงค์
  2. เพื่อให้ผู้สูงอายุได้มีการพบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์และรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง
  3. เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ในเรื่อง “การดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ”
  4. เพื่อส่งเสริมการออกกำลังกายในผู้สูงอายุ เป้าหมาย ผู้สงอายุ จำนวน 60 คน
    ระยะเวลาดำเนินการ วันที่ ๑ เมษายน - ๓๐ กันยายน ๒๕๖2

งบประมาณ เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ตะลุโบะ ปี 2562 (ประเภทที่ ๑ กิจกรรมสนับสนุนหน่วยบริการหรือหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ ดังรายละเอียดค่าใช้จ่ายดังนี้ อบรมให้ความรู้โดยผู้นำศาสนาเรื่อง “การดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ” - ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 60 คนๆละ 50.-บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 3,000.-บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าอบรมร้านชำ จำนวน 60 คนๆละ        35.-บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 4,200.-บาท - ค่าป้ายไวนิล ขนาด 1 X 3 เมตร เป็นเงิน 900.-บาท   รวมเป็นเงิน 8,100.-บาท กิจกรรมที่ 2 จัดตั้งชมรม “รำไม้พลองในผู้สูงอายุ”ตำบลตะลุโบะ -  ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมการจัดตั้งชมรม “รำไม้พลองในผู้สูงอายุ” ตำบลตะลุโบะ  จำนวน 60 คนๆละ 50.-บาท จำนวน 1 มื้อ      เป็นเงิน 3,000.-บาท - ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าอบรม จำนวน 60 คนๆละ      35.-บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 4,200.-บาท -  ค่าวัสดุอุปกรณ์ เป็นเงิน 3,000.-บาท รวมเป็นเงิน 10,200.-บาท กิจกรรมที่ 3 ออกกำลังกาย “รำไม้พลองในผู้สูงอายุ” ตำบลตะลุโบะ จำนวน 2 ครั้ง/เดือน - ค่าตอบแทนผู้นำออกกำลังกาย จำนวน 8 วันๆ ละ 300.-บาท เป็นเงิน 2,400.-บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 20,700.-บาท ผลที่คาดว่าจะได้รับ       1. ผู้สูงอายุได้มีการพบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์และรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง       2. ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมอบรมได้รับการดูแลสุขภาพตามความเหมาะสม มีความรู้ มีทักษะการดูแลสุขภาพตนเอง และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ดี       3. ผู้สูงอายุสามารถออกกำลังกายได้ถูกต้อง สุขภาพแข็งแรง ผู้รับผิดชอบโครงการ  นายหวันมูฮำมัดรุสดี เจะอาแว ตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ รักษาการในตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะลุโบะ
ประธาน แจ้งให้คณะกรรมการซักถามเพิ่มเติม รองประธาน ซักถามในส่วนของวิทยากร วิทยากรมาจากไหน เจ้าหน้าที่รพ.สต. วิทยากรจากชมรม ผู้สูงอายุ ตำบลตันหยงลูโละ สมาชิก หมู่ที่ 3 ซักถามเพิ่มเติม กลุ่มเป้าหมายเป็นผู้หญิง ผู้ชาย ซึ่งถ้าวิทยากรผู้หญิง อาจจะไม่เหมาะสำหรับกลุ่มเป้าหมายผู้ชาย ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 1 เสนอให้จัดแยก ผู้ชาย/ผู้หญิง ประธาน เสนอถ้าหากจะจัดร่วม จัดได้แต่ต้องเปลี่ยนรูปแบบในการจัด

ประธาน แจ้งให้คณะกรรมการซักถามเพิ่มเติม เมื่อไม่มีผู้ใดซักถามเพิ่มเติม จึงขอมติที่ประชุม
มิตที่ประชุม  เห็นชอบอนุมัติ

  1. โครงการอาหารปลอดภัยในเดือนรอมฏอน ตำบลตะลุโบะ          ปีงบประมาณ ๒๕๖๒ เป็นเงิน 21,500.-บาท วัตถุประสงค์
  2. เพื่อให้ผู้ประกอบจำหน่ายอาหารในเดือนรอมฏอนมีความรู้เรื่องสุขาภิบาลอาหาร และตระหนักถึงพิษภัยของสารปนเปื้อนในอาหาร
  3. 2.เพื่อตรวจประเมินมาตรฐานแผงจำหน่ายอาหารในเดือนรอมฏอนให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานแผงจำหน่ายอาหาร เป้าหมาย ร้านอาหารและผู้ประกอบการจำหน่ายอาหาร ในเดือนรอมฏอน        จำนวน 40 ร้าน
    ระยะเวลาดำเนินการ วันที่ ๑ เมษายน - ๓๐ กันยายน ๒๕๖2 งบประมาณ เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ตะลุโบะ ปี 2562 (ประเภทที่ ๑ กิจกรรมสนับสนุนหน่วยบริการหรือหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ ดังรายละเอียดค่าใช้จ่ายดังนี้

กิจกรรมที่ 1. อบรมผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารในเดือนรอมฏอน - ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าอบรม จำนวน ๔0
คนๆละ 50.-บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน ๒,0๐0.-บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าอบรมร้านอาหารและแผงจำหน่ายอาหาร จำนวน ๔๐ คนๆละ 35.-บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 2,๘๐0.-บาท - ค่าชุดทดสอบตรวจหาโคลิฟอร์มแบคทีเรีย SI-2
จำนวน ๖ ชุด ชุดละ ๖00 บาท  เป็นเงิน ๓,๖๐0.-บาท - ค่าคู่มือผู้ประกอบการจำหน่ายอาหาร ในเดือนรอมฏอน จำนวน ๔๐ ชุดๆละ 30.-บาท เป็นเงิน ๑,๒๐0.-บาท - ค่าไวนิล เป็นเงิน 900.-บาท
- ค่าป้ายอาหารปลอดภัย จำนวน 40 ป้ายๆละ 100 บาท เป็นเงิน 4,0๐0.-บาท รวมเป็นเงิน 14,500-บาท กิจกรรมที่ 2 ตรวจบ้านและแผงผู้ประกอบการจำหน่ายอาหาร ในเดือนรอมฏอน - ค่าอาหารกลางวันสำหรับเจ้าหน้าที่และอสม. ที่ออกตรวจ บ้านและแผงผู้ประกอบการจำหน่ายอาหาร ในเดือนรอมฏอนจำนวน 10 คนๆละ 50.-บาท จำนวน 5 มื้อ เป็นเงิน 2,5๐0.-บาท

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับเจ้าหน้าที่และอสม. ที่ออกตรวจบ้านและแผงผู้ประกอบการจำหน่ายอาหาร ในเดือนรอมฏอน จำนวน 1๐ คนๆละ 35.-บาท จำนวน 10 มื้อ เป็นเงิน 3,5๐0.-บาท
  • ค่าวัสดุอุปกรณ์ จำนวน 1,000.-บาท รวมเป็นเงิน 7,000-บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 21,500.-บาท ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนในเขตพื้นที่เป้าหมายได้บริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัยปราศจากสารเคมีและสิ่งปนเปื้อน ๒. แผงจำหน่ายอาหารในเดือนรอมฏอน ที่เข้าร่วมโครงการฯ มีการปรับปรุงและพัฒนาแผงจำหน่ายอาหารตนเองและประเมินผ่าน Clean Food Good Taste ๓. เพื่อให้ผู้ประกอบการร้านอาหาร มีความเข้าใจในงานคุ้มครองผู้บริโภคและตระหนักถึงความปลอดภัยของบริโภค
    ผู้รับผิดชอบโครงการ  นายหวันมูฮำมัดรุสดี เจะอาแว ตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ รักษาการในตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะลุโบะ
    รองปลัด อบต. แจ้งให้คณะกรรมการซักถามเพิ่มเติม เมื่อไม่มีผู้ใดซักถามเพิ่มเติม จึงขอมติที่ประชุม
    มิตที่ประชุม  เห็นชอบอนุมัติ

  2. โครงการคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชน ตำบลตะลุโบะ เป็นเงิน 32,400.-บาท
    วัตถุประสงค์ ๑. เพื่อให้ผู้ประกอบการมีความรู้เรื่องสุขาภิบาลอาหาร และตระหนักถึงพิษภัยของสารปนเปื้อนในอาหาร ๒. เพื่อตรวจประเมินมาตรฐานร้านอาหารและแผงลอยในพื้นที่ที่ให้เกณฑ์มาตรฐานร้านอาหารและแผงลอย ๓. เพื่อให้ผู้ประกอบการร้านชำมีความรู้ ความเข้าใจ ในการดูเลือกซื้ออาหารมีฉลากอาหาร เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย และการใช้ยาปฏิชีนะอย่างสมเหตุผล

  3. เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง มีความรู้ ความเข้าใจในการดูเลือกซื้ออาหารมีฉลากอาหาร เครื่องสำอางค์ ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย และการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล
  4. เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขมีความรู้ ความเข้าใจในการดูเลือกซื้ออาหารมีฉลากอาหาร เครื่องสำอางค์ ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย และการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล เป้าหมาย
  5. นร.อย.น้อยในโรงเรียน จำนวน ๕ โรงๆละ 25 คน รวมทั้งหมด จำนวน 125 คน ๒. ครูผู้รับผิดชอบงาน อย.น้อย จำนวน ๕ โรงๆละ 1 คน รวมทั้งหมด จำนวน 5 คน -12-
  6. ร้านชำ ในชุมชน ๙ หมู่ จำนวน 55 ร้าน
  7. ร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหารในชุมชน ๙ หมู่ จำนวน 35 ร้าน ๕. ร้านอาหารและผู้ประกอบการจำหน่ายอาหาร ในเดือนรอมฏอน จำนวน 40 ร้าน
  8. ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน 30 คน ๗. อาสาสมัครสาธารณสุข ในตำบลตะลุโบะ จำนวน 70 คน ๘. คณะกรรมการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคตำบลตะลุโบะ จำนวน ๒๐ คน ระยะเวลาดำเนินการ วันที่ ๑ เมษายน - ๓๐ กันยายน ๒๕๖2 งบประมาณ เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ตะลุโบะ ปี 2562 (ประเภทที่ ๑ กิจกรรมสนับสนุนหน่วยบริการหรือหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ ดังรายละเอียดค่าใช้จ่ายดังนี้ กิจกรรมที่ 1 อบรมผู้ประกอบการร้านชำ -  ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าอบรมร้านชำ จำนวน 5๕ คนๆละ 50.-บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 2,๗50 บาท

- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าอบรมร้านชำ  จำนวน 5๕ คนๆละ      35.-บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 3,๘๕0.-บาท - ค่าแฟ้ม สมุด ปากกา จำนวน 5๕ ชุดๆละ 30.-บาท เป็นเงิน 1,๖๕0.-บาท   รวมเป็นเงิน ๘,๒50.-บาท กิจกรรมที่ 2 อบรมผู้ประกอบการร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหาร - ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าอบรม ร้านอาหารและ
แผงจำหน่ายอาหาร จำนวน 3๕ คนๆละ 50.-บาท จำนวน 1 มื้อ        เป็นเงิน 1,๗50.-บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าอบรมร้านอาหาร  และแผงจำหน่ายอาหาร จำนวน 3๕ คนๆละ 35.-บาท    จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 2,๔๕0.-บาท - ค่าชุดทดสอบตรวจหาโคลิฟอร์มแบคทีเรีย SI-2
จำนวน ๕ ชุด ชุดละ 600 บาท เป็นเงิน ๓,000.-บาท - ค่าแฟ้ม สมุด ปากกา 3๕ ชุด ชุดละ 30.-บาท เป็นเงิน ๑,0๕0.-บาท - ค่าไวนิลโครงการ เป็นเงิน 900.-บาท รวมเป็นเงิน ๙,๑50.-บาท
อบรมผู้ป่วยโรคเรื้อรัง/อบรมอาสาสมัครสาธารณสุขในตำบลตะลุโบะ
- ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าอบรมผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน ๓0 คนๆละ 50.-บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน ๑,๕๐0.-บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าอบรมผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน ๓๐ คนๆละ 35.-บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 2,๑๐0.-บาท - คู่มือผลิตภัณฑ์สุขภาพและการใช้ยาอย่างปลอดภัยในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน 30 ชุดๆละ 30.-บาท เป็นเงิน 900.-บาท - ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าอบรม จำนวน ๗0 คนๆละ 50.- บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน ๓,๕๐0.-บาท

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าอบรม จำนวน ๗๐ คนๆละ 35.-บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน ๔,๙๐0.-บาท
  • ค่าแฟ้ม สมุด ปากกา จำนวน ๗๐ ชุดๆละ 30.-บาท เป็นเงิน ๒,๑๐0.-บาท
  • คู่มือผลิตภัณฑ์สุขภาพและการใช้ยาอย่างปลอดภัยในอาสาสมัครสาธารณสุข จำนวน 70 ชุดๆละ 30.-บาท เป็นเงิน 2,100.-บาท รวมเป็นเงิน 15,000.-บาท
    รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 32,400.-บาท ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนในเขตพื้นที่เป้าหมายได้บริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัยปราศจากสารเคมีและสิ่งปนเปื้อน
  2. ประชาชนมีความรู้และพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ถูกต้อง อันจะส่งผลให้มีสุขภาพแข็งแรง และปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ ๓. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจในการดูเลือกซื้ออาหารมีฉลากอาหาร เครื่องสำอางค์ ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย และการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล ผู้รับผิดชอบโครงการ  นายหวันมูฮำมัดรุสดี เจะอาแว ตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ รักษาการในตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะลุโบะ

ประธาน แจ้งให้คณะกรรมการซักถามเพิ่มเติม เมื่อไม่มีผู้ใดซักถามเพิ่มเติม จึงขอมติที่ประชุม
มิตที่ประชุม  เห็นชอบอนุมัติ

โครงการ อย. น้อย คุ้มครองผู้บริโภคในโรงเรียน ปีงบประมาณ ๒๕๖๒ เป็นเงิน 30,400.-บาท วัตถุประสงค์ ๑. เพื่อให้แกนนำนักเรียน อย.น้อยได้มีความรู้เรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพและสามารถเลือกซื้อเลือกบริโภคได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย สามารถเผยแพร่ความรู้ที่ได้รับไปยังเพื่อนนักเรียนและครอบครัว ๒. เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ในการรณรงค์ ให้ความรู้ด้านการบริโภคสู่เพื่อนนักเรียนและบุคคลอื่นๆในโรงเรียนและชุมชนได้ เป้าหมาย 1. นร.อย.น้อยในโรงเรียน จำนวน ๕ โรงๆละ 25 คน รวมทั้งหมด จำนวน 125 คน ๒. ครูผู้รับผิดชอบงาน อย.น้อย จำนวน ๕ โรงๆละ 1 คน รวมทั้งหมด จำนวน 5 คน ระยะเวลาดำเนินการ วันที่ ๑ เมษายน - ๓๐ กันยายน ๒๕๖2

งบประมาณ เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ตะลุโบะ ปี 2562 (ประเภทที่ ๑ กิจกรรมสนับสนุนหน่วยบริการหรือหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ ดังรายละเอียดค่าใช้จ่ายดังนี้ กิจกรรมที่ 1. อบรมแกนนำนักเรียน อย.น้อย - ค่าอาหารกลางวันสำหรับนักเรียนผู้เข้าอบรม อย.น้อย จำนวน 125 คนๆ        ละ 50.-บาท จำนวน 1 มื้อ  เป็นเงิน 6,250.-บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับนักเรียนผู้เข้าอบรม อย.น้อย จำนวน 125 คนๆละ 35.-บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 8,750.-บาท - ค่าอาหารกลางวันสำหรับคุณครูผู้เข้าอบรม อย.น้อย จำนวน ๕ คนๆ      ละ 50.-บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 250.-บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับคุณครูผู้เข้าอบรม  อย.น้อย จำนวน 5 คนๆ  ละ 35.-บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 350.-บาท - ค่าชุดทดสอบสารปนเปื้อนในอาหาร จำนวน 10 ชุดๆละ 1,000.-บาท        เป็นเงิน 10,000.-บาท -  ค่าคู่มือ อย.น้อย คุ้มครองผู้บริโภคในโรงเรียน  จำนวน 130 ชุดๆละ 30.-บาท   เป็นเงิน 3,900 บาท - ค่าไวนิล เป็นเงิน 900.-บาท   รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 30,400.-บาท ผลที่คาดว่าจะได้รับ ๑. มีแกนนำอย.น้อยในการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคในโรงเรียนและชุมชน ๒. นักเรียน อย.น้อยมีความรู้ในเรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพ และสามารถเลือกซื้อเลือกบริโภคได้อย่างถูกต้องปลอดภัยรวมทั้งสามารถเผยแพร่ความรู้ที่ได้รับให้แก่เพื่อนนักเรียนและครอบครัว ๓. นักเรียน อย.น้อยสามารถดำเนินกิจกรรม อย.น้อยทั้งในโรงเรียนและชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้รับผิดชอบโครงการ  นายหวันมูฮำมัดรุสดี เจะอาแว ตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ รักษาการในตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะลุโบะ
ประธาน แจ้งให้คณะกรรมการซักถามเพิ่มเติม เมื่อไม่มีผู้ใดซักถามเพิ่มเติม จึงขอมติที่ประชุม
มิตที่ประชุม  ไม่อนุมัติ รองประธาน เนื่องด้วยโครงการ อย.น้อย ดำเนินการอยู่ทุกปี ซึ่งกลุ่มเป้าหมายเป็นเด็กนักเรียนชั้น ป.5 ป.6 แต่เมื่อมีเด็กนักเรียนชั้น ป.6 จบการศึกษา ก้อจะมีเด็กนักเรียนชั้น ป.5 อยู่อีก

ประเภทที่ ๔ กิจกรรมการบริหารจัดการกองทุน/พัฒนาศักยภาพกรรมการ/และพัฒนาระบบบริหารจัดการ
นายอดินันท์ หะยีสามะ ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ได้นำเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

  • โครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลตะลุโบะ เป็นเงิน 39,575.-บาท วัตถุประสงค์
  1. เพื่อพิจารณาอนุมัติแผนงาน หรือโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน ๒. เพื่อพิจารณาออกระเบียบที่จำเป็นเพื่อประสิทธิภาพในการบริหารกองทุน
    ๓. เพื่อควบคุมและกำกับดูแลการรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงินและการจัดทำบัญชีเงินหรือทรัพย์สินในกองทุนหลักประกันสุขภาพ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด ๔. เพื่อกำกับดูแลให้หน่วยงาน หรือกลุ่มหรือองค์กรผู้ที่ได้รับอนุมัติงบประมาณ ให้เป็นไปตามแผนงาน โครงการที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ และตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพกำหนด ๕. เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบการจัดทำสรุปผลการดำเนินงาน รายงานการรับจ่ายและเงินคงเหลือของกองทุนหลักประกันสุขภาพ เป้าหมาย คณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ตะลุโบะ
                                        จำนวน ๒๐ คน คณะอนุกรรมการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ตะลุโบะ          จำนวน  ๙ คน
    ระยะเวลาดำเนินการ วันที่ ๑ เมษายน - ๓๐ กันยายน ๒๕๖2 งบประมาณ เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ตะลุโบะ ปี 2562 (ประเภทที่ ๑ กิจกรรมสนับสนุนหน่วยบริการหรือหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ ดังรายละเอียดค่าใช้จ่ายดังนี้
  2. ค่าป้ายไวนิล ขนาดกว้าง ๓ เมตร ยาว ๑ เมตร จำนวน ๑ ผืน          เป็นเงิน ๙๐๐.-บาท ๒. ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม คณะอนุกรรมการกองทุนฯ

- ครั้งที่ ๑/๒๕๖๒ จำนวน ๙ คนๆละ ๓๕.-บาท เป็นเงิน 315.-บาท                            - ครั้งที่ ๒/๒๕๖๒ จำนวน ๙ คนๆละ ๓๕.-บาท เป็นเงิน 315.-บาท                              - ครั้งที่ ๓/๒๕๖๒ จำนวน ๙ คนๆละ ๓๕.-บาท เป็นเงิน 315.-บาท
  รวมเป็นเงิน 945.-บาท ๓. ค่าตอบแทน คณะอนุกรรมการบริหารกองทุนฯ
คณะอนุกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ตะลุโบะ ประกอบด้วย                                    - ครั้งที่ ๑/๒๕๖๒ จำนวน 9 คนๆละ 3๐๐.-บาท เป็นเงิน 2,700-บาท                          - ครั้งที่ ๒/๒๕๖๒ จำนวน 9 คนๆละ 3๐๐.-บาท    เป็นเงิน 2,700-บาท
- ครั้งที่ ๓/๒๕๖๒ จำนวน 9 คนๆละ 3๐๐.-บาท เป็นเงิน 2,700-บาท
รวมเป็นเงิน 8,100.-บาท ๔. ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม คณะกรรมบริการกองทุนและคณะอนุกรรมการกองทุนฯ
- ครั้งที่ ๑/๒๕๖๒ จำนวน ๒๖ คนๆละ ๓๕.-บาท เป็นเงิน ๙๑๐.-บาท                              - ครั้งที่ ๒/๒๕๖๒ จำนวน ๒๖ คนๆละ ๓๕.-บาท เป็นเงิน 910.-บาท                              - ครั้งที่ ๓/๒๕๖๒ จำนวน ๒๖ คนๆละ ๓๕.-บาท เป็นเงิน  910.-บาท
รวมเป็นเงิน 2,730.-บาท ๕. ค่าตอบแทน คณะกรรมการบริหารกองทุนฯ
คณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ตะลุโบะ ประกอบด้วย                                    - ครั้งที่ ๑/๒๕๖๒ จำนวน 20 คนๆละ ๔๐๐.-บาท เป็นเงิน 8,000-บาท                          - ครั้งที่ ๒/๒๕๖๒ จำนวน 20 คนๆละ ๔๐๐.-บาท  เป็นเงิน 8,000-บาท
- ครั้งที่ ๓/๒๕๖๒ จำนวน 20 คนๆละ ๔๐๐.-บาท เป็นเงิน 8,000-บาท
รวมเป็นเงิน 24,000.-บาท ๖. ค่าตอบแทน คณะอนุกรรมการบริหารกองทุนฯ
คณะอนุกรรมการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ตะลุโบะ ประกอบด้วย
-  ครั้งที่ ๑/๒๕๖2 จำนวน 6 คนๆละ ๓๐๐.-บาท  เป็นเงิน  1,80๐.-บาท
-  ครั้งที่ ๒/๒๕๖2 จำนวน 6 คนๆละ ๓๐๐.-บาท เป็นเงิน 1,8๐๐.-บาท                            - ครั้งที่ ๓/๒๕๖2 จำนวน 6 คนๆละ ๓๐๐.-บาท  เป็นเงิน  1,8๐๐.-บาท
              รวมเป็นเงิน 4,500.-บาท ๗. ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการอบรม เป็นเงิน ๓,5๐๐.-บาท ๘. ค่าถ่ายเอกสารเข้าเล่ม เป็นเงิน ๕,๐๐๐.-บาท รวมเป็นเงิน 50,575.-บาท
๙. กิจกรรมพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลตะลุโบะ เป็นเงิน 1๔,000.-บาท (ประกอบด้วย      ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าที่พัก ค่าเดินทางฯ)
๑๐. ค่ารับรองพี่เลี้ยง กองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบล      ตะลุโบะ เป็นเงิน ๕,๐๐๐.-บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 69,575.-บาท ผลที่คาดว่าจะได้รับ ๑. แผนงาน หรือโครงการ หรือกิจกรรมที่ผ่านการอนุมัติเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน ๒. การรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงินและการจัดทำบัญชีเงินหรือทรัพย์สินในกองทุนหลักประกันสุขภาพ เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด ผู้รับผิดชอบโครงการ  นายอดินันท์ หะยีสามะ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

ประธาน แจ้งให้คณะกรรมการซักถามเพิ่มเติม เมื่อไม่มีผู้ใดซักถามเพิ่มเติม จึงขอมติที่ประชุม
มิตที่ประชุม  เห็นชอบอนุมัติ

ประเภทที่ ๕ กิจกรรมกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่ - โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหากรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติฉุกเฉิน


ระเบียบวาระที่ ๔ เรื่องอื่นๆ (ถ้ามี) ขอปิดการประชุม
ปิดประชุมเวลา ๑๒.๐

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • บรรลุตามวัตถุประสงค์