กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบการติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการ (Process Evaluation)

กิจกรรมระยะเวลาเป้าหมาย/วิธีการผลการดำเนินงานปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข
ตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริง
กิจกรรมสำรวจลูกน้ำยุงลาย 1 ม.ค. 2562 24 ส.ค. 2562

 

สำรวจ/ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในชุมชน

 

กิจกรรมสำรวจ/ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในชุมชน ก่อนดำเนินกิจกรรมอบรมและหลังดำเนินกิจกรรมรณรงค์ควบคุม/ป้องกันโรคไข้เลือดออก โดย อสม.ในชุมชน  ซึ่งมีข้อมูลผลการสำรวจลูกน้ำยุงลายตั้งแต่เดือนมกราคม – สิงหาคม  2562 จากผลการสำรวจดังกล่าว  พบว่า  ก่อนดำเนินกิจกรรมค่าดัชนีความชุกลูกน้ำยุงลายในบ้าน (HI)  สูงที่สุดในเดือนเมษายน ร้อยละ  30.49  น้อยที่สุดในเดือนกุมภาพันธ์  ร้อยละ 21.72  และหลังดำเนินกิจกรรมในเดือนสิงหาคม  พบว่า  ค่าดัชนีความชุกลูกน้ำยุงลายในบ้าน (HI)  ร้อยละ 26  ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ  2.48 จากเดือนกรกฎาคม  แสดงว่ามีความเสี่ยงสูงตอการเกิดการแพรโรคไขเลือดออกในชุมชน

 

กิจกรรมอบรมให้ความรู้ 31 ก.ค. 2562 31 ก.ค. 2562

 

  • ลงทะเบียนโดย  อสม.ชุมชนหลังสโมสรเก่า
  • พิธีเปิด
  • บรรยายเรื่อง  สถานการณ์โรคไข้เลือดออก
  • พักรับประทานอาหารว่าง
  • บรรยายเรื่อง  ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก  และการดูแลผู้ป่วย
  • พักรับประทานอาหารกลางวัน
  • บรรยายเรื่อง  ชีววิทยาของยุง
  • พักรับประทานอาหารว่าง
  • บรรยายเรื่อง  การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
  • สาธิตการทำปูนแดงตะไคร้หอม
  • มอบปูนแดงตะไคร้หอมแก่ครัวเรือนที่สนใจนำไปใช้
  • ตอบข้อซักถาม/ปิดการประชุม

 

จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย  จำนวน  60  คน  เมื่อวันที่  31  กรกฏาคม  2562  ณ  ชุมชนหลังสโมสรเก่า  โดยมีวิทยากรจากศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงที่ 12.3 จ.ตรัง  มาให้ความรู้ในเรื่องสถานการณ์โรคไข้เลือดออก  ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก  และการดูแลเบื้องต้นผู้ป่วย  ชีววิทยาของยุง  การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก  สาธิตการทำปูนแดงตะไคร้หอม  พร้อมมอบปูนแดงตะไคร้หอมแก่ครัวเรือนที่เข้ารับการอบรมและสนใจนำปูนแดงตะไคร้หอมไปใช้

 

กิจกรรมรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก 18 ส.ค. 2562 18 ส.ค. 2562

 

รณรงค์ควบคุม/ป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน

 

  1. จัดกิจกรรมควบคุม/ป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน โดยการทำปูนแดงตะไคร้หอม  และเดินรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก  สำรวจ/ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในชุมชนทุกเดือน  ปรับสภาพจัดสิ่งแวดล้อมในชุมชน  พร้อมแจกเอกสารหรือแผ่นปลิว  และมอบปูนแดงตะไคร้หอมให้กับครัวเรือนในชุมชน
  2. ครัวเรือนในชุมชนที่นำปูนแดงตะไคร้หอมไปใช้  จำนวน  160  หลัง  คิดเป็นร้อยละ 53.35  ของครัวเรือนทั้งหมดในชุมชน  (279  หลังคาเรือน)
  3. ประเมินความพึงพอใจการใช้ปูนแดงตะไคร้หอมในครัวเรือนที่นำปูนแดงตะไคร้หอมไปใช้  จำนวน  160  หลัง