กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการสนับสนุนกองทุนสุขภาพตำบลโดยพี่เลี้ยง ปี 2564 จังหวัดสงขลา

ประเมินผลโครงการ/ถอดบทเรียนโครงการ กองทุนสุขภาพตำบลเทศบาลตำบลคูหาใต้ โดยนางสาวปราณี วุ่นฝ่าย และทีม27 กรกฎาคม 2564
27
กรกฎาคม 2564รายงานจากพื้นที่ โดย ดวงดาว อุปสิทธิ์
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประเมินโครงการกองทุนพี่เลี้ยง"กองทุนฯเทศบาลตำบลคูหาใต้ วันที่ 16 กค.64 ผ่านระบบ Zoom เวลา 13.00 - 16.00 น.

โดยมีประเด็นในการประเมินดังนี้

ส่วนที่ 1 ประเมินรายละเอียดโครงการในระบบกองทุนฯ

ส่วนที่ 2 ประเมินผู้ขอรับทุนและกระบวนการในการทำโครงการ

ส่วนที่ 3 ประเมินเอกสารสรุปโครงการในระบบ และตัวจริง

ส่วนที่ 4 การประเมินคุณค่าโครงการ ส่วนที่ 5 ข้อเสนอแนะ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลการประเมิน

ส่วนที่ 1 ประเมินรายละเอียดโครงการในระบบกองทุนฯ ปานกลาง

ส่วนที่ 2 ประเมินผู้ขอรับทุนและกระบวนการในการทำโครงการ ปานกลาง

ส่วนที่ 3 ประเมินเอกสารสรุปโครงการในระบบ และตัวจริง ปานกลาง

ส่วนที่ 4 การประเมินคุณค่าโครงการ น้อย

ส่วนที่ 5 ข้อเสนอแนะ ปานกลาง

การประเมินคุณ ค่า

  • เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน

□ ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่

  • รายละเอียด......การส่งเสริมให้ชุมชนกลับมาใช้พืชสมุนไพรในการดูแลสุขภาพ
  • หลักฐาน.....คนในชุมชนพึ่งตนเองในการดูแลสุขภาพมากขึ้น จากสถานการณ์ที่แพทย์/โรงพยาบาลหลัก และโรงพยาบาลสนามมีไม่เพียงพอ
  • แนวทางพัฒนาต่อ.....โอกาสในการฟื้นฟูภูมิปัญญาแพทย์แผนไทยและองค์ความรู้การดูแลสุขภาพมีมากขึ้น โดยการพัฒนาและต่อยอดในวงที่กว้างขวางมากขึ้น.....................

□ วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่

  • รายละเอียด...การทำงานงานยังเป็นรูปแบบเดิมคือเน้นการประชุมคณะทำงาน ยังไม่เกิดมิติการสร้างนวัตกรรมหรือวิธีการทำงานแบบใหม่หรือการจัดการแบบใหม่................/หลักฐาน...การจัดประชุมเพื่อทำความเข้าใจหรือการอบรม ยังเป็นกิจกรรมหลัก
  • แนวทางพัฒนาต่อ...การยกระดับการทำงานหรือการคิดค้นวิธีการทำงานที่สอดคล้องกับสถานการณ์มากขึ้น...............................

□ เกิดแหล่งเรียนรู้ใหม่

  • องค์ความรู้ยังไม่ขยายผลไปในวงกว้าง ยังไม่มีแหล่งเรียนรู้ใหม่
  • หลักฐาน...................ยังไม่มีแหล่งเรียนรู้ใหม่
  • แนวทางพัฒนาต่อ.....การเชื่อมโยงการทำงานกับมิติอื่นๆ ในพื้นที่ และการบูรณาการการทำงานกับภาคีอื่นๆในระดับชุมชน


    • เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

□ การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล
- รายละเอียด......มีการส่งเสริมการดูแลสุขภาพในการป้องกัน เฝ้าระวัง การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคลอย่างต่อเนื่อง - หลักฐาน.....มีกิจกรรมต่อเนื่อง - แนวทางพัฒนาต่อ....การขยายผลในเชิงจำนวนในการส่งเสริมการดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล