กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

กปท.7

แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะลุโบะ รหัส กปท. L3011

อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 16 (2) “ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10”

อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2567 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.
ชื่อ
check_box_outline_blank
แผนงาน
check_box
โครงการ
check_box_outline_blank
กิจกรรม
โครงการส่งเสริมสุขภาพอนามัยและภาวะโภชนาการในหญิงตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอดตำบลตะลุโบะ ประจำปี 2567
2.
ชื่อ
check_box_outline_blank
หน่วยงาน
check_box_outline_blank
องค์กร
check_box_outline_blank
กลุ่มประชาชน
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะลุโบะ
3.
หลักการและเหตุผล

งานอนามัยแม่และเด็กเป็นบริการสุขภาพขั้นพื้นฐานที่สำคัญของการพัฒนาคุณภาพประชากร ซึ่งเริ่มตั้งแต่การดูแลครรภ์จนถึงหลังคลอด เพื่อให้การตั้งครรภ์และการคลอดที่ปลอดภัยทั้งแม่และเด็ก ตั้งแต่การดูแลทารกในครรภ์ที่สมบูรณ์ การดูแลแม่ขณะตั้งครรภ์ให้ปลอดภัยป้องการเกิดภาวะเสี่ยง 5 โรค หรือ ในรายถ้ามีภาวะเสี่ยงให้ได้รับการติดตามดูแลที่ถูกต้อง เพื่อการคลอดที่ปลอดภัยอย่างมีคุณภาพมารดาและทารกปลอดภัยและมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง โดยใช้หลักฝากครรภ์เร็วทันทีที่รู้ว่าตั้งครรภ์ ฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ ฝากครรภ์ต่อเนื่องครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ มารดาทารกหลังคลอดได้รับการดูแลครบ 3 ครั้งตามเกณฑ์ มารดาที่มีภาวะเสี่ยง 5 โรค (โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไทรอยด์ โรคหัวใจและ โรคตกเลือดหลังคลอด) ได้รับการดูแลจากทีมสาธารณสุขอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว มารดาที่ขาดนัดได้รับการติดตามโดยเร่งด่วน เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่เกินขณะตั้งครรภ์ได้อย่างรวดเร็ว ส่งผลต่อลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัยและต่อเนื่องถึงการให้การดูแลเด็กในช่วงปฐมวัย ซึ่งเป็นทรัพยากรอันทรงคุณค่าและเป็นอนาคตของชาติ ควรให้การเลี้ยงดูให้เจริญเติบโตและมีพัฒนาการที่สมวัยทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญารวมถึงควรมีการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
งานอนามัยแม่และเด็กของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะลุโบะ พบว่าหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ คิดเป็นร้อยละ 76.58 หญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการดูแลก่อนคลอด 5 ครั้งตามเกณฑ์ คิดเป็นร้อยละ 70 หญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการดูแลก่อนคลอด 8 ครั้งตามเกณฑ์ คิดเป็นร้อยละ 14.95 มารดาและทารกหลังคลอดได้รับการดูแลครบ 3 ครั้งตามเกณฑ์คิดเป็นร้อยละ 66.4หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจาง ร้อยละ 18.5 หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงสูง 5 กลุ่มโรค ดังนี้ โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ เบาหวานขณะตั้งครรภ์ ไทรอยด์ เสี่ยงตกเลือด จำนวน 20 ราย แม้ว่าการดำเนินงานในปีที่แล้ว มีแนวโน้มดีขึ้น แต่ปัจจัยหนึ่งที่อาจทำให้ผลงานลดลง คือ การย้ายถิ่นออกฐานไป เป้าหมายหญิงตั้งครรภ์ ที่เปลี่ยนไปทุกปี คืออัตราการตั้งครรภ์ในอายุมากกว่า 35 ปี และการตั้งครรภ์บุตรคนที่ 4 เพิ่มมากขึ้นแนวทางการดูแลและป้องกันการเกิดปัญหาดังกล่าว คือต้องให้การดูแลที่มีคุณภาพ หญิงตั้งครรภ์ได้รับบริการฝากครรภ์คุณภาพและเสริมทักษะการดูแลหลังคลอดที่มีคุณภาพ เพื่อให้ทารกเกิดมามีพัฒนาการตามวัยและการมีส่วนร่วมของชุมชนมีเครือข่ายที่เข้มแข็ง
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะลุโบะ จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพอนามัยแม่และเด็กและมารดาหลังคลอดตำบลตะลุโบะ ประจำปี 2567 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์มีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี และยังเป็นการสร้างสายใยรักความผูกผันของครอบครัวโดยชุมชน สมาชิกครอบครัวมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาแบบยั่งยืนต่อไป

4.
วัตถุประสงค์(เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)
  • 1. เพื่อเพิ่มจำนวนหญิงตั้งครรภ์ที่ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์
    ตัวชี้วัด : หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ ร้อยละ 80
    ขนาดปัญหา 76.58 เป้าหมาย 80.00
  • 2. เพื่อเพิ่มจำนวนหญิงตั้งครรภ์ที่ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์
    ตัวชี้วัด : หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง ตามเกณฑ์มากกว่าร้อยละ 80
    ขนาดปัญหา 70.00 เป้าหมาย 80.00
  • 3. เพื่อลดจำนวนหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจาง
    ตัวชี้วัด : หญิงตั้งครรภ์มีภาวะโลหิตจางน้อยกว่า ร้อยละ 10
    ขนาดปัญหา 18.50 เป้าหมาย 10.00
  • 4. เพื่อให้ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย
    ตัวชี้วัด : อัตรามารดาตายและเด็กเกิดไร้ชีพเป็น 0
    ขนาดปัญหา 0.00 เป้าหมาย 0.00
  • 5. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ สามีและญาติ มีความรู้ ความเข้าใจ ในการดูแลสุขภาพในระยะตั้งครรภ์ ระยะก่อนคลอด และระยะหลังคลอด
    ตัวชี้วัด : หญิงตั้งครรภ์ สามี และญาติ มีความรู้ ความเข้าใจ ในการดูแลสุขภาพในระยะตั้งครรภ์ ระยะก่อนคลอด และระยะหลังคลอดร้อยละ 90
    ขนาดปัญหา 0.00 เป้าหมาย 90.00
  • 6. เพื่อให้มารดาหลังคลอดมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการรักษาด้วยศาสตร์แพทย์แผนไทย
    ตัวชี้วัด : เพื่อให้มารดาหลังคลอดมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการรักษาด้วยศาสตร์แพทย์แผนไทย 0ร้อยละ 80
    ขนาดปัญหา 0.00 เป้าหมาย 80.00
  • 7. เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำนมมารดาหลังคลอดที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างน้อย 6 เดือน
    ตัวชี้วัด : มารดาหลังคลอดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างน้อย 6 เดือน ร้อยละ 50
    ขนาดปัญหา 0.00 เป้าหมาย 50.00
5.
วิธีดำเนินการ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • 1. สร้างกระแส ประชาสัมพันธ์ แก่หญิงวัยเจริญพันธุ์ ฝากครรภ์เมื่อพร้อม การฝากครรภ์เร็วก่อน 12 สัปดาห์ การฝากครรภ์ตามนัดและให้ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ผ่านสื่อไวนิล
    รายละเอียด
    • ค่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์ในหมู่บ้าน (หมู่ละ 1 ป้าย ) ขนาด 1*2 เมตร  ราคาเมตรละ 300 บาท
      จำนวน 9 ป้ายๆ ละ 600  บาท  เป็นเงิน  5,400 บาท

                                  รวมเป็นเงิน 5,400.-บาท

    งบประมาณ 5,400.00 บาท
  • 2. จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่หญิงตั้งครรภ์สามีหรือญาติ
    รายละเอียด
    • ค่าแบบฟอร์มประเมินความรู้ก่อน-หลังการอบรม
      ชุดละ 2 บาท จำนวน 40 ชุด เป็นเงิน 80 บาท
    • คู่มือการอบรม 40 ชุด ชุดละ 20 บาท
      เป็นเงิน 800 บาท
    • ค่าแบบประเมินความพึงพอใจโครงการ ชุดละ 2 บาท จำนวน 40 ชุดเป็นเงิน 80 บาท
    • ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1*3 เมตร
      จำนวน 1 ป้าย ราคาเมตรละ 300 บาท เป็นเงิน900 บาท

    • ค่าวัสดุ อุปกรณ์และเครื่องเขียน เป็นเงิน 2,000 บาท

    • ค่าอาหารกลางผู้เข้าอบรม จำนวน40 คน(พร้อมผู้จัดอบรม 10 คน) รวม 50 คน คนละ 50 บาท จำนวน1 มื้อ x 1 วัน
      เป็นเงิน 2,500 บาท
    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าอบรม จำนวน 40 คน (พร้อมผู้จัดอบรม 10 คน) รวม 50 คน คนละ 35 บาทจำนวน2 มื้อ x 1 วัน เป็นเงิน 3,500-บาท รวมเป็นเงิน 9,860.-บาท
    งบประมาณ 9,860.00 บาท
  • 3. จัดอบรมให้ความรู้แก่มารดาหลังคลอด เกี่ยวกับการดูแลด้วยศาสตร์แพทย์แผนไทย และวิธีการใช้พืชสมุนไพรที่มีสรรพคุณในการสร้างน้ำนมแม่หลังคลอดเพื่อส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
    รายละเอียด
    • ค่าแบบฟอร์มประเมินความรู้ก่อน-หลังการอบรม
        ชุดละ 2 บาท จำนวน 50 ชุด            เป็นเงิน 100 บาท

    • คู่มือการอบรม 50 ชุด ชุดละ 20 บาท
                                                      เป็นเงิน 1,000 บาท

    • ค่าแบบประเมินความพึงพอใจโครงการ   ชุดละ 2 บาท จำนวน 50 ชุด          เป็นเงิน  100 บาท

    • ค่าอาหารกลางวันผู้เข้าอบรม จำนวน  50 คน              (พร้อมผู้จัดอบรม 10 คน) รวม 60 คน คนละ  50.-บาท จำนวน  1 มื้อ x 1 วัน                  เป็นเงิน 3,000 บาท

    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าอบรม จำนวน 50 คน (พร้อมผู้จัดอบรม 10 คน) รวม 60 คน คนละ  35.-บาท  จำนวน  2 มื้อ x 1 วัน                  เป็นเงิน 4,200-บาท
                                          รวมเป็นเงิน 8,400.-บาท

    งบประมาณ 8,400.00 บาท
  • 4. ติดตามเยี่ยมมารดาหลังคลอด
    รายละเอียด

    -

    งบประมาณ 0.00 บาท
6.
กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม(เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
6.1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน คน

6.2. กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน คน

6.3. กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน คน

6.4. กลุ่มวัยทำงาน จำนวน คน

6.5. กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน คน

6.6. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน คน

6.7. กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ จำนวน คน

6.8. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน คน

6.9. สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] จำนวน คน

7.
ระยะเวลาดำเนินการ(ควรระบุตามการดำเนินงานจริง)

ตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567

8.
สถานที่ดำเนินการ

ตำบลตะลุโบะ

9.
งบประมาณ(ให้สอดคล้องกับวิธีดำเนินการ ที่ตั้งไว้ตามข้อ 5)

รวมงบประมาณโครงการ 23,660.00 บาท

10.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)

1.หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลในระยะตั้งครรภ์ได้อย่างมีคุณภาพได้แก่ ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ ฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ และได้คลอดในโรงพยาบาล 2.หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงได้รับการดูแลตลอดระยะของการตั้งครรภ์อย่างมีคุณภาพ 3.ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย ลูกสมบูรณ์ และมีพัฒนาการสมวัย
4.หญิงตั้งครรภ์มีความรู้และตระหนักถึงความสำคัญของการฝากครรภ์และสามารถดูแลตนเองในระยะตั้งครรภ์ได้ 5.เพื่อให้ชุมชนและทุกคนในครอบครัวมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลหญิงตั้งครรภ์เสริมสร้างสัมพันธภาพที่ดีเกิดสายใยรักครอบครัว

11.
คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ

ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้

  • check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
  • check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
  • check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


ลงชื่อ............................................................ผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- เห็นชอบ/อนุมัติ
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ


ลงชื่อ............................................................หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................

กปท.8

แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะลุโบะ รหัส กปท. L3011

อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
เรื่อง ขอเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2567
เรียน ประธานกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะลุโบะ
เอกสารแนบ แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (แบบ กปท.7) จำนวน 1 ชุด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น

หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ

ลงชื่อ .................................................. หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

(...........................................................)

ตำแหน่ง ...............................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................

กปท.9

แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะลุโบะ รหัส กปท. L3011

อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
ผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

1. ความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน
check_box_outline_blank
สอดคล้อง
check_box_outline_blank
ไม่สอดคล้อง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
2. ความซ้ำซ้อนของงบประมาณกองทุน ฯ กับงบประมาณจากแหล่งอื่น
check_box_outline_blank
ซ้ำซ้อน
check_box_outline_blank
ไม่ซ้ำซ้อน
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
3. ความเสี่ยงจากผลประโยชน์ทับซ้อน
check_box_outline_blank
เสี่ยง
check_box_outline_blank
ไม่เสี่ยง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
4. เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
5. ประเภทการสนับสนุน (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
6.งบประมาณที่เสนอ จำนวน 23,660.00 บาท
check_box_outline_blank
อนุมัติงบประมาณ เนื่องจากแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
check_box_outline_blank
ประชาชนได้รับผลประโยชน์
check_box_outline_blank
ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
check_box_outline_blank
ผู้รับผิดชอบงานมีศักยภาพ
check_box_outline_blank
ค่าใช้จ่ายมีความคุ้มค่า
จึงเห็นควรสนับสนุน เป็นเงิน จำนวน ........................................ บาท
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ไม่อนุมัติงบประมาณ
เพราะ...................................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ให้รายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ภายในวันที่................................................(ตามแบบฟอร์ม ฯ กปท.10)
check_box_outline_blank
ให้ อปท. แจ้งผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ทราบผล เพื่อดำเนินการ ต่อไป
ลงชื่อ ....................................................................

(....................................................................)

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม

วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................

ลงชื่อ ....................................................................

ตำแหน่ง ....................................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................