กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าไห

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ส่งเสริมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพแบบบูรณาการ หมูที่7บ้านโนนจานเก่า

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าไห

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน บ้านโนนจานเก่า หมู่ที่ 7

ศาลาประชาคม บ้านโนนจานเก่าหมู่ที่ 7

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)

 

30.00
2 ร้อยละของผู้สูงอายุ 65 ปี ขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลาง อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)

 

20.00
3 ร้อยละของคนที่มีการสัญจรโดยการเดินหรือใช้จักรยานในชุมชน

 

20.00
4 ร้อยละของคนที่ออกกำลังกายในชุมชน

 

20.00

สุขภาพที่ดีเป็นสิ่งที่ทุกคนพึงปรารถนา การมีสุขภาพที่ดีมิได้หมายถึงเพียงการมีหลักประกันในการเข้าถึงบริการสุขภาพเท่านั้นต้องขึ้นอยู่กับประชาชนรู้จักการดูแลสุขภาพของตนเอง เพื่อให้มีสุขภาพที่แข็งแรงอยู่เสมอ เพราะโรคบางโรคสามารถป้องกันได้ด้วยการออกกำลังกายดีกว่าการรอให้เกิดการเจ็บป่วยแล้วรักษา จะทำให้สิ้นเปลืองทรัพยากรและงบประมาณในการดูแลรักษาจำนวนมากการที่คนเรามีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันโรคที่ดี ดังนั้นประชาชนจึงควรมีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ตนเองมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงและลดปัญหาการเจ็บป่วยด้วยโรคต่าง ๆ ตามมาเช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคอ้วน โรคมะเร็ง ความเครียด ฯลฯ
ดังนั้น กลุ่มอาสาสมัครหมู่บ้านและผู้นำชุมชน บ้านโนนจานเก่า หมู่ที่ 7ตำบลท่าไห ได้ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นของการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคด้วยการออกกำลังกายแบบบูรณาการ เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญในการออกกำลังกายและเป็นการปลูกฝังค่านิยมที่ดีให้แก่ประชาชนในเรื่องพฤติกรรมการออกกำลังกาย ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์แล้วยังช่วยเสริมสร้างให้ร่างกายแข็งแรง ผ่อนคลายอารมณ์ เสริมสร้างความสามัคคีและที่สำคัญการออกกำลังกายยังลดความเสี่ยงต่อการ เกิดโรคดังกล่าว จึงได้จัด โครงการ ส่งเสริมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพแบบบูรณาการต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้ใหญ่

ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์)

30.00 50.00
2 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้สูงอายุ

ร้อยละของผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางอย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์)

20.00 50.00
3 เพิ่มการสัญจรโดยการเดินหรือใช้จักรยานในชุมชน

ร้อยละของคนที่มีการสัญจรโดยการเดินหรือใช้จักรยานในชุมชน

20.00 30.00
4 เพิ่มการออกกำลังกายในชุมชน

ร้อยละของคนที่ออกกำลังกายในชุมชน

20.00 50.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 20
กลุ่มผู้สูงอายุ 30
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2018

กำหนดเสร็จ 30/09/2018

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 สร้างแกนนำ

ชื่อกิจกรรม
สร้างแกนนำ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1   ประชุมชี้แจงโครงการฯ แก่คณะทำงานและผู้เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดเนื้อหา กำหนดการประชุมเชิงปฏิบัติการฯ การพิจารณากลุ่มเป้าหมาย  และชี้แจงวัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน 1.2  ประสานกลุ่มเป้าหมายที่จะเข้าร่วมกิจกรรม  ได้แก่  ประชาชนกลุ่มวัยทำงาน  ผู้นำชุมชน  อสม.
1.3  ประสานวิทยากร 1.3  จัดตั้งชมรม ตนรักษ์สุขภาพ ประจำหมู่บ้าน 1.4  ติดต่อผู้นำออกกำลังกาย (ผู้นำเต้นในชุมชน) 1.5  ดำเนินการประชุมกลุ่ม เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้  และกำหนดกิจกรรม

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 การดำเนินการโครงการ ส่งเสริมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพแบบบูรณาการหมูที่ 7 บ้านโนนจานเก่า”

ชื่อกิจกรรม
การดำเนินการโครงการ ส่งเสริมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพแบบบูรณาการหมูที่ 7 บ้านโนนจานเก่า”
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

2.1  ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมอบรม 2.2  อบรมประชาชนกลุ่มเป้าหมาย  โดยให้ความรู้ / อภิปราย / สาธิต / ฝีกปฏิบัติ
2.3  ติดตามและประเมินผลการดำเนินการตามโครงการตามระยะเวลาที่กำหนด

.... 1. ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่ม ผู้เข้าอบรม  50  คนๆละ 50  บาท *1 มื้อ    จำนวน  2,500  บาท
    2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ผู้เข้าอบรม  50  คนๆละ 25  บาท *2 มื้อ            จำนวน  2,500  บาท     3. ค่าวิทยากร 6 ชม.ๆละ 300  บาท                           จำนวน 1,800  บาท
           4. ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการฯ                                                                  จำนวน     400  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แก่นนำ/กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมอบรม ร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7200.00

กิจกรรมที่ 3 การส่งเสริมกิจกรรมทางกาย

ชื่อกิจกรรม
การส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

3.1  ส่งเสริมกิจกรรมทางกาย  เช่น  การปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้   การจักรสานในชุมชน  การสัญจรโดยการเดิน ปั่นจักรยาน
3.2  ส่งเสริมกิจกรรมการออกกำลังกายทุกวันจันทร์  พุธ  และศุกร์
วันจันทร์  กิจกรรมออกกำลังกาย เต้นแอโรบิค
    วันพุธ       กิจกรรมออกกำลังกาย เต้นบาสโลบ     วันศุกร์     กิจกรรมออกกำลังกาย ฤาษีดัดตน/รำไม้พลอง/ยางยืด กิจกรรมสามารถปรับตามความเหมาะสม

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 7,200.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้ใหญ่เพิ่มมากขึ้น
2. ประชาชนมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น
3. ประชาชนออกกำลังกายในชุมชนเพิ่มมากขึ้น
4. ประชาชนสามารถดูแลสุขภาพตนเองได้


>