กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตุยง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

สร้างเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุและผู้พิการ ปี 2562

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตุยง

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ และคนพิการ หมู่ 3

1…นายลพ สืบประดิษ์……….………………………
2…นางสิริภัทร ไชยกิจ……………………………………
3…นายวรรณะ อำมาตย์…………………………………
4…นายคะนอง พุทธแสง………………………………..
5…นางจินดาอยู่ทองดี……………………………………

ม.1 - 8 ตำบลตุยง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานคนพิการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ในปัจจุบันอาศัยอยู่ตามลำพัง บุตรหลานไม่มีเวลาดูแล ต้องทำกิจวัตรและดูแลตนเอง
ในชีวิตประจำวันมากขึ้น สุขภาวะทางกายและใจจึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งในการดำเนินชีวิตประจำวัน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ จะต้องได้รับการส่งเสริมสุขภาวะอย่างต่อเนื่องอย่างน้อยปีละครั้ง เช่น การตรวจคัดกรองโรคเบื้องต้น การส่งเสริมองค์ความรู้ในเรื่องสุขภาพ เรื่องอาหาร การดูแลสุขภาพปากและฟัน การป้องกันอุบัติเหตุ เป็นต้น ด้านกิจกรรมการเคลื่อนไหวทางกายเพื่อป้องกันปัญหาข้อขัดต่างๆ เพื่อที่จะสามารถดูแลสุขภาพร่างกายของตัวเองอย่างง่ายได้ ประกอบกับปัจจุบันกระแสบริโภคนิยมมีผลต่อสุขภาพอย่างรวดเร็ว หากขาดความรู้ในเรื่องของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารก็จะส่งผลให้เกิดโรคอื่นๆตามมา เช่น อาหารไม่ย่อย ปวดข้อเข่า เหน็บชา โรคขาดสารอาหารต่างๆ โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน เป็นต้น โดยเฉพาะ โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานนับเป็นภัยเงียบที่คร่าชีวิตผู้คนไปเป็นจำนวนมาก จากการดำเนินงานโครงการสร้างเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุตั้งแต่ปี 2557 – 2561 พบว่าผู้สูงอายุ ผู้พิการ ส่วนใหญ่ไม่เคยไปหาหมอที่โรงพยาบาล เพราะไม่เคยป่วยหนักถึงขั้นต้องไปโรงพยาบาล เมื่อป่วยจะรักษาเองด้วยการซื้อยากินเองและภูมิปัญญาท้องถิ่น พบผู้สูงอายุหลายคนมีภาวะเสี่ยง และหลายคนได้มีการส่งต่อเพื่อวินิจฉัยโรคความดัน และเบาหวานโดยแพทย์ เพิ่มขึ้นทุกปี นอกจากนี้ยังพบว่าปัญหาสุขภาพในช่องปากก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ส่งผลกระทบกับสุขภาพส่วนใหญ่ของผู้สูงอายุ ผู้พิการ
ด้วยความตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวข้างต้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องให้ความสำคัญกับสุขภาวะผู้สูงอายุ ผู้
พิการอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ผู้สูงอายุ ผู้พิการ รู้สึกมีคุณค่า ไม่ถูกทอดทิ้งจากสังคม ทางศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ผู้พิการ หมู่ที่ 3 บ้านโคกดีปลี ร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลตุยง โรงพยาบาลหนองจิก ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลตุยง จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมาเพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการตรวจร่างกายขั้นพื้นฐาน ได้รับความรู้เพื่อใช้ในการดูแลสุขภาพ ส่งเสริมสุขภาวะทางกาย จิต สังคมและทางปัญญา ให้สอดคล้องกับบริบท วิถีชีวิตในพื้นที่ต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้สูงอายุและผู้พิการมีความรู้ในการดูแลตนเองและมีพฤติกรรมที่เหมาะสมในการป้องกันโรคต่างๆ

ร้อยละ 90 ผู้สูงอายุและผู้พิการมีความรู้ในการดูแลตนเองและมีพฤติกรรมที่เหมาะสมในการป้องกันโรคต่างๆได้อย่างถูกต้อง

586.00 90.00
2 เพื่อคัดกรอง ตรวจสุขภาพร่างกายเบื้องต้นและดูแลสุขภาพผู้สูงอายุและผู้พิการอย่างเป็นระบบ

ร้อยละ 90 ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ได้รับการตรวจสุขภาพร่างกายเบื้องต้นและได้รับการดูแลสุขภาพอย่างเป็นระบบ

586.00 90.00
3 เพื่อให้มีการส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุและผู้พิการอย่างต่อเนื่องทุกปี

มีการจัดกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุและผู้พิการอย่างต่อเนื่อง อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

586.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 500
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 86
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะกรรมการศูนย์ร่วมกับ ภาคีเครือข่ายในพื้นที่ จำนวน 2 ครั้ง

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะกรรมการศูนย์ร่วมกับ ภาคีเครือข่ายในพื้นที่ จำนวน 2 ครั้ง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม
  25 บx 40 คน x 2 มื้อ   เป็นเงิน  2,000  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีการประชุมวางแผนงาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2000.00

กิจกรรมที่ 2 เยี่ยมผู้สูงอายุ ผู้พิการ ที่ติดบ้าน/ติดเตียง

ชื่อกิจกรรม
เยี่ยมผู้สูงอายุ ผู้พิการ ที่ติดบ้าน/ติดเตียง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เยี่ยมผู้สูงอายุ ผู้พิการ ที่ติดบ้าน/ติดเตียง อย่างต่อเนื่อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 บริการคัดกรอง ตรวจสุขภาพร่างกายเบื้องต้น ให้แก่ผู้สูงอายุและผู้พิการ และอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ (เป้าหมายรวมถึง เครือข่ายสุขภาพในพื้นที่ด้วย)

ชื่อกิจกรรม
บริการคัดกรอง ตรวจสุขภาพร่างกายเบื้องต้น ให้แก่ผู้สูงอายุและผู้พิการ และอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ (เป้าหมายรวมถึง เครือข่ายสุขภาพในพื้นที่ด้วย)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม
      25 บ x 616 คน x 2 มื้อ   เป็นเงิน  30,800 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน
      ๕๐ บาท X 616 คน
      เป็นเงิน  30,800  บาท
  • ค่าวิทยากร 3 ชม. X 500 บาท
      x 8 วัน เป็นเงิน  12,000.- บาท
  • ค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่คัดกรอง
      ตรวจสุขภาพ 4 คน x 3 ชม. x 80
      บาท x 8 วัน   เป็นเงิน   7,680 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้สูงอายุและผู้พิการได้รับการคัดกรอง ตรวจสุขภาพเบื้องต้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
81280.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 83,280.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้สูงอายุ ผู้พิการ มีความรู้ในการดูแลตนเองและมีพฤติกรรมที่เหมาะสมในการป้องกันโรคต่างๆ
2. ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ได้รับการตรวจสุขภาพร่างกายเบื้องต้น
3. ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดูแลสุขภาพระหว่างกัน
4. มีการนำข้อมูลที่ได้รับจากการตรวจ คัดกรองสุขภาพไปแก้ไขปัญหาในขั้นตอนต่อไป


>