กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการการส่งเสริมผู้สูงวัย สุขภาพฟันดี มีความสุข ตำบลท่าโพธิ์ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกเนียน
วันที่อนุมัติ 22 กุมภาพันธ์ 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 22,522.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกเนียน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าโพธิ์ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.796,100.416place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 818 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สุขภาพช่องปากมีความสำคัญต่อการมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดี สุขภาพช่องปากไม่ดีอาจส่งผลให้เกิดการเจ็บป่วยทางร่างกายหรือทำให้คุณภาพชีวิตลดลง จากการศึกษา พบว่า ผู้ที่มีสุขภาพช่องปากดีและมีจำนวนฟันในช่องปากมากจะรับประทานอาหาร/มีการกลืนที่ดีกว่าผู้ที่มีสุขภาพช่องปากไม่ดีหรือมีฟันน้อย ซึ่งกลุ่มอายุที่มีปัญหาจำนวนฟันในช่องปากเหลือน้อยส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มผู้สูงอายุ จากการสำรวจสภาวะทันต์สุขภาพระดับประเทศครั้งที่8 (ล่าสุด) ปี พ.ศ. 2560 พบว่าผู้สูงอายุ 60-74 ปี มีฟันใช้งานอย่างน้อย20 ซี่และมีคู่สบฟันหลัง 4 คู่สบ ร้อยละ 39.4 ไม่มีฟันทั้งปาก ร้อยละ 8.7 มีร่องลึก ปริทันต์ ≥6 มม. ร้อยละ12.2 และจากการสำรวจของตำบลท่าโพธิ์ ปี2563 พบว่า ผู้สูงอายุมีอัตราฟันผุ ร้อยละ 43.5 เหงือกอักเสบ/หินปูน ร้อยละ 74.6 ไม่มีฟันทั้งปาก ร้อยละ 25.6           ซึ่งการสูญเสียฟันในผู้สูงอายุนั้น ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการบดเคี้ยวอาหาร การกัดและการกลืนอาหาร ทำให้ผู้สูงอายุได้รับสารอาหารไม่ครบ 5 หมู่ อาจส่งผลต่อสุขภาพโดยรวมทำให้ร่างกายอ่อนแอและเจ็บป่วยง่าย นอกจากนี้ยังส่งผลให้ความสูงของใบหน้าลดลงเนื่องจากไม่มีฟันมารองรับ ใบหน้าเหี่ยวย่น เกิดการพูดไม่ชัดและอาจทำให้เกิดความกังวลในการเข้าสังคมได้ โดยสาเหตุของโรคในช่องปากเกิดจาก การเรียงตัวของฟันที่ล้มเอียง ทำให้ผู้สูงอายุทำความสะอาดช่องปากได้ไม่ดีทำให้เกิดการสะสมของเชื้อโรคซึ่งเป็นสาเหตุของโรคฟันผุ และพฤติกรรมเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคปริทันต์อักเสบ เช่น การสูบบุหรี่ การเคี้ยวหมาก ความสามารถในการเคลื่อนไหว การมองเห็นที่ลดลง เนื่องจากอายุที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้ประสิทธิภาพในการดูแลอนามัยช่องปากลดลง ผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเบาหวานที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ควบคุมไม่ได้ จะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาวะที่รุนแรงของโรคปริทันต์เพิ่มขึ้น การเข้ารับบริการทันตกรรมของผู้สูงอายุ เนื่องจากผู้สูงอายุจะคิดว่าอายุมากแล้วไม่มีความจำเป็นต้องมารับบริการ
          เพื่อส่งเสริมการมีสุขภาพช่องปากที่ดีสำหรับผู้สูงอายุ จะต้องใส่ใจและเข้าไปมีส่วนร่วมในการดูแลทั้งผู้สูงอายุที่ติดสังคม สามารถช่วยเหลือตนเองได้ดี ผู้สูงอายุติดบ้านหรือแม้กระทั้งผู้สูงอายุที่ติดเตียงที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ จึงดำเนินโครงการนี้ขึ้น เพื่อให้ผู้สูงอายุตำบลท่าโพธิ์ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและได้รับการดูแลสุขภาพช่องปากที่เหมาะสม ช่วยลดการสูญเสียฟันและลดรอยโรคในช่องปาก อีกทั้งทำให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุสามารถดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองได้

1) ผู้สูงอายุ ได้รับการอบรมเชิงปฏิบัติการ ร้อยละ 80 2) ผู้สูงอายุมีความรู้การดูแลสุขภาพช่องปากเพิ่มขึ้น ร้อยละ 20

0.00
2 เพื่อติดตามการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุที่บ้าน(ผู้สูงอายุติดบ้าน/ติดเตียง)

ผู้สูงอายุ(ติดบ้าน/ติดเตียง)ได้รับการติดตามเยี่ยมบ้าน ร้อยละ80

0.00
3 เพื่อลดปัญหาสุขาภาพช่องปากและปัญหาไม่มีฟันเคี้ยวในผู้สูงอายุ

คราบจุลินทรีย์ในช่องปากลดลง ร้อยละ10

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.1 ขั้นเตรียมการ     1.1 ศึกษาและสำรวจข้อมูลปัญหาของกลุ่มเป้าหมาย     1.2 จัดทำโครงการขออนุมัติ 1.2 ขั้นดำเนินกิจกรรม   1.2.1 กิจกรรมที่ 1 การตรวจสุขภาพช่องปากตรวจสุขภาพช่องปากและประเมินสภาวะช่องปากของผู้สูงอายุ             1) การประชุมวางแผนการดำเนินงาน             2) การออกแบบฟอร์มการตรวจสุขภาพช่องปาก             3) การลงพื้นที่พร้อมกับ อสม.เชี่ยวชาญทันตฯ             4) การสรุปผลการตรวจสุขภาพช่องปาก   1.2.2 กิจกรรมที่ 2 การอบรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพช่องปากเชิงปฏิบัติเคลื่อนที่ในชุมชน             1) การประชุมวางแผนและ เตรียมพื้นที่             2) การทำแบบทดสอบก่อนอบรม (Pre-test)             3) การอบรมผ่านการบรรยายและฝึกทดลองปฏิบัติจริงแบบเคลื่อนที่               3.1) พื้นที่หมู่ที่ 1 บ้านสองพี่น้อง สถานที่จัดอบรม ณ ศาลาประชาคมกำนันผู้ใหญ่บ้าน
              3.2) พื้นที่หมู่ที่ 2 บ้านท่าโพธิ์ออก สถานที่จัดอบรม ณ อาคารอเนกประสงค์หมู่บ้าน               3.3) พื้นที่หมู่ที่ 3 บ้านท่าโพธิ์ สถานที่จัดอบรม ณ อาคารอเนกประสงค์หมู่บ้าน               3.4) พื้นที่หมู่ที่ 4 บ้านโคกเนียนตก สถานที่จัดอบรม ณ รพ.สต.โคกเนียน               3.5) พื้นที่หมู่ที่ 5 บ้านโคกเนียนออก สถานที่จัดอบรม ณ อาคารอเนกประสงค์                           หมู่บ้าน               3.6) พื้นที่หมู่ที่ 6 บ้านหนำคอก สถานที่จัดอบรม ณ อาคารอเนกประสงค์หมู่บ้าน

              3.7) พื้นที่หมู่ที่ 8 บ้านทุ่งยาว-ม่วงหวาน สถานที่จัดอบรม ณ อาคารอเนกประสงค์                           หมู่บ้าน           4) การทำแบบทดสอบหลังอบรม (Post-test) 1.2.3 กิจกรรมที่ 3 ติดตามเยี่ยมบ้านการดูแลสุขภาพช่องปากตนเองที่บ้านแก่ผู้สูงอายุติดบ้าน/ติดเตียง เดือนละ 1 ครั้ง จำนวน 3 เดือน 1) สำรวจข้อมูลของกลุ่มเป้าหมายและผู้ดูแล 2) การลงพื้นที่พร้อมกับ อสม.เชี่ยวชาญทันตฯเดือนละ 1 ครั้ง จำนวน 3 เดือน 3) สรุปผลการเยี่ยมบ้าน 1.3 ขั้นสรุปโครงการและทำรายงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้สูงอายุสามารถดูแลสุขภาพช่องปากตนเองช่องปากของตนเองได้ ตลอดจนสามารถให้คำแนะนำแก่ผู้อื่นได้ 2.ผู้สูงอายุมีสุขภาพช่องปากที่ดีขึ้น คราบจุลินทรีย์ในช่องปากลดน้อยลง 3.ผู้สูงอายุมีสุขภาพและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ก.พ. 2564 15:06 น.