โครงการเยาวชนตำบลกะมิยอ รู้เท่าทันสื่อในยุดดิจิทัล สู่สุขภาพจิตที่ดี ประจำปี 2564
ชื่อโครงการ | โครงการเยาวชนตำบลกะมิยอ รู้เท่าทันสื่อในยุดดิจิทัล สู่สุขภาพจิตที่ดี ประจำปี 2564 |
รหัสโครงการ | 64-L3009-01-2 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลกะมิยอ |
วันที่อนุมัติ | 17 กุมภาพันธ์ 2564 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 กุมภาพันธ์ 2564 - 31 ธันวาคม 2564 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2564 |
งบประมาณ | 12,500.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวซารีนี กูวิง |
พี่เลี้ยงโครงการ | นายอับดุลกอเดร์ การีนา |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลกะมิยอ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.854,101.318place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ในปัจจุบันการใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านอุปกรณ์คอมพิวเตอร์อันเป็นเครื่องมือสมัยใหม่ซึ่งมีประสิทธิภาพมีความจำเป็นอย่างมากโดยเฉพาะในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งยุทธศาสตร์การเสริมสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ ในขณะนี้เกือบร้อยละ 90 ของมนุษย์ในปัจจุบันได้มีการใช้สมาร์ทโฟนอย่างแพร่หลาย เพื่อเพิ่มความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลอย่างรวดเร็วและทันเหตุการณ์จากสถิติต่าง ๆ ชี้ให้เห็นว่า ผู้ที่ใช้อินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่นั้นเป็นเด็กและเยาวชนที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี และสะท้อนให้เห็นว่าเด็กและเยาวชนเหล่านี้ได้ใช้เวลาของตนเองเข้าไปในโลกอินเทอร์เน็ตเป็นเวลานาน ซึ่งผลกระทบที่ตามมา หากขาดการควบคุมดูแลจากผู้ปกครอง และบุคคลที่เกี่ยวข้องก็อาจส่งผลเสียต่อเด็กที่ยังรู้เท่าไม่ถึงการณ์จากการใช้สื่อโซเชียลมีเดียเหล่านั้น อย่างไรก็ตามสมาร์ทโฟนยังคงเป็นอุปกรณ์ยอดนิยมของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต เมื่อพิจารณาในประเด็นของเนื้อหาที่มีอยู่มากกว่าพันล้านเว็บไซต์ทั่วโลกนั้น จะมีทั้งส่วนของเนื้อหาที่เป็นประโยชน์และเนื้อหาที่ก่อให้เกิดโทษ โดยอินเทอร์เน็ตถือเป็นสื่อที่ควบคุมดูแลยากที่สุดทั้งในแง่ของเนื้อหาสาระ และผู้รับสาร ซึ่งทำให้เด็กหรือเยาวชนที่มีวุฒิภาวะไม่เพียงพอต่อการพิจารณาใช้สื่อโซเชียลให้ถูกวิธีอันทำให้เกิดผลเสียต่อการดำรงชีวิตทั้งในด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิตของเด็ก เยาวชน และคนในสังคมได้ไม่ว่าจะเป็นผลกระทบกับการศึกษา หรือผลกระทบต่อสังคม ต่อครอบครัว ซึ่งในปัจจุบันการเข้าถึงโซเชียลมีเดียไม่ได้ถูกจำกัดเฉพาะโทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือแท็บเล็ตเท่านั้น ผสานกับการให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงแบบไร้สายของผู้ให้บริการต่าง ๆ ซึ่งส่งผลให้การเข้าสู่โซเชียลมีเดียเป็นเรื่องที่ทำได้อย่างง่ายดายเพราะใครๆก็สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ใน ทุกที่ ทุกเวลา แม้แต่ขณะเดินทาง ดังนั้นการใช้งานอินเทอร์เน็ตของคนในสังคมซึ่งเริ่มจากวัยเด็กจนถึงวัยทำงานโดยเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการเป็นช่องทางในการสื่อสารที่มีความหลากหลายรูปแบบ โดยมีทั้งสื่อที่ช่วยพัฒนาและสื่อที่เสริมสร้างความรุนแรงปะปนกันอยู่ในการใช้อินเทอร์เน็ตซึ่งไม่ได้ทำให้เด็กและคนในสังคมเกิดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์เพียงอย่างเดียว แต่ยังสามารถใช้สื่ออินเทอร์เน็ตเพื่อฝึกทักษะทางสมองและทักษะทางความคิดได้อีกด้วย โดยจำเป็นต้องมีการแนะนำวิธีการใช้อินเทอร์เน็ตได้อย่างเหมาะสมเพื่อป้องกันการเกิดปัญหาทางพฤติกรรมอันไม่พึงประสงค์อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมทักษะสำคัญที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตที่มีคุณภาพต่อไป จากความสำคัญดังกล่าว กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลกะมิยอ จึงได้จัดทำโครงการดังกล่าวขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจในการเลือกใช้สื่อ ICT ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจในการเลือกใช้สื่อ ICT ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม |
0.00 | |
2 | เพื่อลดปัญหาพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมที่ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพกายและสุขภาพจิตของเด็ก เยาวชน อันเนื่องมาจากการใช้สื่อ ICT ลดปัญหาพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมที่ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพกายและสุขภาพจิตของเด็ก เยาวชน อันเนื่องมาจากการใช้สื่อ ICT |
0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 100 | 12,500.00 | 0 | 0.00 | |
1 ก.พ. 64 - 30 ก.ย. 64 | กิจกรรมอบรมให้ความรู้ การใช้สื่อ ICT การเลือกใช้สื่ออย่างสร้างสรรค์ มีวิจารณญาณในการรับสื่อ ใช้สื่อเพื่อการศึกษาเรียนรู้พัฒนาตนเอง ครอบครัวและชุมชน | 50 | 10,500.00 | - | ||
1 ก.พ. 64 - 30 ก.ย. 64 | กิจกรรมการผลิตสื่อในรูปแบบต่างๆ อย่างสร้างสรรค์ | 50 | 2,000.00 | - |
- เสนอโครงการเพื่อพิจารณาอนุมัติและให้การสนับสนุน
- ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินโครงการ
- รับสมัครผู้สนใจ เพื่อเข้าร่วมอบรมตามโครงการ
- เข้าร่วมการอบรม ตามรายละเอียดของโครงการ
- ประเมินผลการดำเนินโครงการ
- เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจในการเลือกใช้สื่อ ICT ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
- เพื่อลดปัญหาพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมที่ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพกายและสุขภาพจิตของเด็ก เยาวชน อันเนื่องมาจากการใช้สื่อ ICT
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 ก.พ. 2564 10:21 น.