กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเชิงรุก ประจำปี 2564
รหัสโครงการ 64-L3009-01-7
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขฯ องค์การบริหารส่วนตำบลกะมิยอ
วันที่อนุมัติ 17 กุมภาพันธ์ 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 44,980.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอับดุลรอแม มามะ
พี่เลี้ยงโครงการ นายอับดุลกอเดร์ การีนา
พื้นที่ดำเนินการ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลกะมิยอ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.84518,101.31564place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 240 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูงเป็นโรคติดต่อเรื้อรังที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ และถือว่าเป็น "ภัยเงียบ" เพราะเป็นโรคที่ไม่ปรากฏอาการ และเป็นสาเหตูของโรคแทรกซ้อนในอวัยวะสำคัญหลายระบบของร่างกายเช่น ตา ไต หลอดเลือด ในประเทศไทยนั้น อุบัติการณ์โรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ในแต่ละปีเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยเป็นอย่างมาก เนื่องจากโรคเรื้อรังเป็นโรคที่จำเป็นต้องรักษาอย่างต่อเนื่อง และยาวนานมีค่าใช้จ่ายด้านการรักษาสูงมาก ดังนั้นองค์การบริหารส่วนตำบลกะมิยอ ดำเนินงานเน้นนโยบายเชิงรุก เร่งการป้องกันโรคโดยใช้เครือข่ายระหว่างองค์การบริหารส่วนตำบลกะมิยอ รพ.สต.กับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเพราะการดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรค ที่เกิดจากพฤติกรรมของประชาชน จะประสบความสำเร็จมีประสิทธิภาพและเกิดความต่อเนื่องยั่งยืน จำเป็นอย่างยิ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทุกส่วน และใช้กระบวนการที่บูรณาการเชื่อมโยงการดำเนินงาน โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่เป็นปัญหาที่สำคัญในพื้นที่ และเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว
องค์การบริหารส่วนตำบลกะมิยอ จึงได้จัดทำโครงการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเชิงรุกขึ้น เพื่อให้ประชาชนได้รับการตรวจคัดกรองเบาหวานและความดันโลหิตสูงตามมาตรฐาน พร้อมทั้งรณรงค์ สร้างความตระหนักในการดูแลสุขภาพ มีพฤติกรรมที่ดี และได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อการการเกิดโรคเรื้อรัง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชน อายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองเบาหวาน ความดันโลหิตสูงอย่างน้อยร้อยละ 90

ประชาชน อายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองเบาหวาน ความดันโลหิตสูงอย่างน้อยร้อยละ 90

0.00
2 เพื่อค้นหาผู้ป่วยรายใหม่และส่งต่ออย่างเป็นระบบ

ค้นหาผู้ป่วยรายใหม่และส่งต่ออย่างเป็นระบบ

0.00
3 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง มีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมและมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง มีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมและมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 240 44,980.00 0 0.00
1 มี.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงแก่แกนนำสุขภาพในตำบลกะมิยอ 40 12,500.00 -
1 มี.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมออกตรวจคัดกรองสุขภาพ/คัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง 200 32,480.00 -
  1. รวบรวมวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนประชากรที่มีอายุ ๓๕ ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่จริง วางแผนและออกแบบกิจกรรมดำเนินงาน
  2. เขียนโครงการ
  3. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  4. ดำเนินการตามโครงการ   4.1 ชี้แจงโครงการและเผยแพร่ในเรื่องการตรวจสุขภาพ/ วัดความดันโลหิต การตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือดและการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง   4.2 จัดทำเอกสารแบบคัดกรองสุขภาพและแบบคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
      4.3 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงแก่แกนนำสุขภาพในตำบลกะมิยอ   4.4 ออกตรวจคัดกรองสุขภาพ/คัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง จำนวน 7 หมู่บ้าน   4.5 กลุ่มเสี่ยงสูงส่งต่อรพ.สต.เพื่อให้ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน
  5. นิเทศติดตามการปฏิบัติงานจากเจ้าหน้าร่วมกับภาคีเครือข่าย
  6. สรุปประเมินผลโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองและสามารถรู้ว่าตัวเองอยู่ในกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยงหรือกลุ่มป่วย
  2. ลดอัตราการเกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงรายใหม่และลดภาวะโรคแทรกซ้อนต่างๆ
  3. กลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ก.พ. 2564 11:18 น.