กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ ชุมชนตลาดใต้ ร่วมใจ ต้านภัยโควิด-19 ปี 2564
รหัสโครงการ 64-L6895-02-43
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองทุนสุขภาพชุมชนตลาดใต้
วันที่อนุมัติ 22 กุมภาพันธ์ 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2564 - 31 สิงหาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 21,930.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางวราพร ช่วยแจ้ง/นางสมใจ ปราบเสร็จ/นางอมรรัตน์ สีโกเมน
พี่เลี้ยงโครงการ นางสมใจ เป้าทอง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.41,99.519place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานความปลอดภัยทางถนน , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด 2019 ซึ่งมีการประกาศกระทรวงสาธารณสุขให้ โรคไวรัสโครน่า หรือ COVID-19 เป็นโรคร้ายแรง ทำให้เกิดการตื่นหนกของประชาชนทั่วโลกและคนไทย ซึ่งพบการระบาดไปในหลายประเทศส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจสังคมอย่างรุนแรง สถานการณ์การระบาดกำลังแพร่กระจายยังไม่สามารถควบคุมได้ โรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งย่อมาจาก “Coronavirus disease 2019” เป็นตระกูลเดียวกับโรคซาร์ส ที่ระบาดเมือปี 2545 ทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจอักเสบเสียบพลันปอดอักเสบและมีภาวะแทรกซ้อน สาเหตุการเสียชีวิตส่วนใหญ่ ตัวไวรัส COVID-19 จะทำให้เกิดการไข้สูง จาม ไอ การอักเสบของปอดและเยื้อหุ้มปอดอย่างรุนแรนแรง
จากข้อมูลกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ณ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 12.00 น. สถานการณ์การแพร่ระบาดในประเทศไทย ระลอกใหม่ พบผู้ป่วยรายใหม่ 836 ราย ผู้ป่วยยืนยันสะสม 19,618 ราย หายป่วยแล้ว 12,514 ราย มีผู้ป่วยรักษาอยู่ 7,027 ราย ผู้เสียชีวิตสะสม 77 ราย โดยมาตรการป้องกันโควิด-19 ระลอกใหม่ ยึดหลัก D-M-H-T-T คือ D : Distancing คือ เว้นระยะห่างระหว่างกัน M : Mask Wearing คือ สวมหน้ากากผ้า/หน้ากากอนามัยตลอดเวลา H : Hand Washing คือ ล้างมือบ่อย ๆ T : Testing คือ ตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายก่อนเข้างาน T : Thai Cha Na คือ เช็กอินผ่านแอปพลิเคชัน "ไทยชนะ" ทุกครั้ง เมื่อเข้าไปในสถานที่ต่าง ๆ ทางกลุ่ม อสม.ชุมชนตลาดใต้ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการเฝ้าระวัง ป้องกันการระบาดโรค จึงได้จัดทำโครงการชุมชนตลาดใต้ ร่วมใจ ต้านภัยโควิด-19 ปี 2564 ขึ้น เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับโรคและการป้องกันโรคโควิด-19 ให้กับประชาชนในชุมชน เป็นการป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) รวมถึงโรคระบาดหรือโรคติดต่ออุบัติใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนในชุมชน มีความรู้ และเสริมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับโรคและการป้องกันโรคโควิด-19

 

0.00
2 เพื่อเฝ้าระวัง ป้องกันโรคโควิด-19 ในชุมชน

ร้อยละ 100 ของประชาชนในชุมชน ที่เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยงหรือพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกใหม่ ได้รับการคัดกรอง/เฝ้าระวังโรคโควิด-19

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 50 21,930.00 2 21,930.00
30 ส.ค. 64 อบรมเชิงปฏิบัติการ 50 12,100.00 12,228.00
31 ส.ค. 64 รณรงค์การป้องกันโรคโควิด-19 ในชุมชน และติดตาม ค้นหากลุ่มเสี่ยงในชุมชน 0 9,830.00 9,702.00
  1. เสนอโครงการเพื่อของบประมาณสนับสนุน
  2. ประชุม อสม. /กรรมการชุมชน/แกนนำชุมชน เพื่อวางแผนการดำเนินงานตามโครงการ และกำหนดมาตรการ/การดำเนินงานในการเฝ้าระวัง/ป้องกันโรคโควิด-19 ของชุมชน
  3. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  4. จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์เพื่อใช้ในการดำเนินงาน
  5. จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่ประชาชนในชุมชน โดยปฏิบัติตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุข

- ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคโควิด-19
- ชี้แจงมาตรการ/การดำเนินงานในการเฝ้าระวัง/ป้องกันโรคโควิด-19 ของชุมชน - ประเมินความพึงพอใจผู้เข้ารับการอบรม
6. จัดกิจกรรมรณรงค์การป้องกันโรคโควิด-19 ในชุมชน
- จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ต่างๆ เช่น ป้ายไวนิลความรู้เกี่ยวกับโรคโควิด-19 ป้ายโฟมบอร์ดประชาสัมพันธ์ เป็นต้น - อสม. /แกนนำสุขภาพชุมชน ลงพื้นที่รณรงค์เคาะประตูบ้าน โดยการวัดอุณหภูมิให้กับประชาชนในชุมชน และเน้นย้ำมาตรการป้องกันโรคโควิด-19 7. กิจกรรมติดตาม ค้นหากลุ่มเสี่ยง/ผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยงหรือพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกใหม่ โดย อสม./แกนนำสุขภาพชุมชน
- สำรวจ ค้นหา และขึ้นทะเบียนผู้ที่เดินทางกลับมาจากพื้นที่เสี่ยงหรือพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคโควิด-19 ในชุมชน
- ติดตามวัดอุณหภูมิ/เฝ้าระวังสังเกตอาการ ตามแนวทางของกระทรวงสาธารณสุข พร้อมรายงานผลการเฝ้าระวังให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขทราบ
8. สรุปและรายงานผลการดำเนินงานโครงการต่อกองทุนสุขภาพฯ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนในชุมชนได้รับความรู้ และมีความเข้าใจเกี่ยวกับโรคและการป้องกันโรคโควิด-19
  2. ชุมชนมีมาตรการป้องกันโรคโควิด-19 ในชุมชน และมีการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในชุมชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 มี.ค. 2564 15:35 น.