โครงการหนูน้อยปฐมวัยว่ายน้ำเป็นเล่นน้ำปลอดภัย
ชื่อโครงการ | โครงการหนูน้อยปฐมวัยว่ายน้ำเป็นเล่นน้ำปลอดภัย |
รหัสโครงการ | 64-L5202(3)-1 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 3 สนับสนุนหน่วยงานที่มีหน้ารับผิดชอบเกี่ยวกับเด็ก ผู้สูงอายุ และคนพิการ |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลประกอบ |
วันที่อนุมัติ | 11 มีนาคม 2564 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 17 พฤษภาคม 2564 - 30 กันยายน 2564 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 31 ธันวาคม 2564 |
งบประมาณ | 23,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวนงลักษณ์ เหมะรักษ์ |
พี่เลี้ยงโครงการ | นายมงคล ชูรุ่ง |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลประกอบ อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.483,100.643place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 11 พ.ค. 2564 | 30 ก.ย. 2564 | 23,000.00 | |||
รวมงบประมาณ | 23,000.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน | 40 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ข้อมูลจากกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานว่าในช่วง ๑๐ ปีที่ผ่านมา (ปีพ.ศ. ๒๕๕๔ - ๒๕๖๓) มีเด็กอายุต่ำกว่า ๑๕ ปี จมน้ำเสียชีวิต ๗,๗๙๔ คน เฉลี่ยปีละ ๗๗๙ คน หรือวันละ ๒ คน กลุ่มเด็กอายุ ๕ - ๙ ปี มีสัดส่วนการเสียชีวิตสูงที่สุด (ร้อยละ ๓๙.๗) รองลงมาคือ กลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี (ร้อยละ 35.๔) ทั้งนี้เมื่อเปรียบเทียบกับอัตราต่อประชากรเด็กแสนคนพบว่า กลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า ๕ - ๙ ปี มีอัตราการเสียชีวิตสูงที่สุดเช่นเดียวกัน โดยเฉลี่ยเท่ากับ ๗.๘ และข้อมูลในปี พ.ศ.๒๕๖๓ มีเด็กจมน้ำเสียชีวิต ๕๓๑ คน ช่วงเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคมเป็นเดือนที่มีเด็กจมน้ำเสียชีวิตมากที่สุด เพราะตรงกับช่วงปิดภาคการศึกษาและช่วงฤดูร้อน โดยเฉลี่ยปีละ ๒๖๓ คน เด็กเล็ก (อายุ ๐ - ๒ ปี) จมน้ำเสียชีวิตถึง ๙๑ คน (ร้อยละ ๑๗.๑ ของเด็กอายุต่ำกว่า ๑๕ ปี) เดือนกรกฎาคมพบเด็กจมน้ำเสียชีวิตมากที่สุด (๕๕ คน) รองลงมาคือมิถุนายน (๕๔ คน) และพฤศจิกายน (๕๔ คน) ซึ่งแตกต่างจากทุกปีที่ผ่านมา ทั้งนี้อาจเป็นผลมาจากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด ๑๙ แหล่งน้ำตามธรรมชาติ บ่อขุดเพื่อการเกษตรยังคงเป็นแหล่งน้ำที่พบการจมน้ำสูงสุด (ร้อยละ ๓๓.๒) อย่างไรก็ตาม กลุ่มเด็กอายุ ๐ - ๒ ปีพบจมน้ำเสียชีวิตสูง เฉลี่ยถึงปีละ ๑๖1 คน (ซึ่งส่วนใหญ่เสียชีวิตจากการจมน้ำภายในบ้านและละแวกบ้านของตนเอง เพราะขาดการจัดการพื้นที่เล่นที่ปลอดภัยให้เด็ก ทั้งนี้เด็กเล็ก สามารถจมน้ำในภาชนะที่มีน้ำเพียงเล็กน้อย ประมาณ 1 - 2 นิ้ว) และ 10 จังหวัดแรกที่มีจำนวนเด็กจมน้ำเสียชีวิตสูงที่สุด ได้แก่ บุรีรัมย์ (2๔ คน), นครราชสีมา (๒๑ คน), สุรินทร์ (๒๐ คน), ขอนแก่น (๑๙ คน), นราธิวาส (๑๙ คน), สกลนคร (๑๗ คน), นครศรีธรรมราช (๑๕ คน), ร้อยเอ็ด (๑๔ คน), เชียงใหม่ (1๓ คน) และสงขลา (๑๓ คน) ข้อมูลช่วงปิดเทอม 3 เดือน (มีนาคม - พฤษภาคม) ปี พ.ศ. 2563 พบว่า เด็กอายุต่ำกว่า ๑๕ ปี จมน้ำเสียชีวิต ๑๓๕ คน (ร้อยละ ๒๕.๔ ของเด็กที่จมน้ำเสียชีวิตตลอดทั้งปี) แหล่งน้ำที่เกิดเหตุจมน้ำมากที่สุด คือ แม่น้ำ (ร้อยละ ๒๓.๗) รองลงมาคือ บ่อน้ำ (ร้อยละ ๑๕.๘) อ่างเก็บน้ำ (ร้อยละ ๑๓.๒) และคลอง (ร้อยละ ๑๓.๒) สาเหตุเกิดจากการไปเล่นน้ำมากที่สุด (ร้อยละ ๕๒.๖) รองลงมาคือพลัดตก ลื่น (ร้อยละ ๒๑.๑) และที่น่าสนใจคือ ลงไปช่วยคนที่ตกน้ำและตนเองจมน้ำเสียชีวิต (ร้อยละ ๕.๓) เด็กที่ตกลงไปในน้ำ (เฉพาะที่ทราบสถานะความสามารถในการว่ายน้ำ) พบว่า ร้อยละ ๕๗.๙ ว่ายน้ำไม่เป็น เด็กที่ตกลงไปในน้ำ (เฉพาะที่ทราบสถานะ การใช้เสื้อชูชีพ) พบว่า ร้อยละ ๖๘.๔ ไม่สวมเสื้อชูชีพ ขณะที่เกิดเหตุจมน้ำพบว่า เด็กอยู่กับเพื่อนมากที่สุด (ร้อยละ ๓๙.๕) รองลงมาคืออยู่กับผู้ปกครอง (ร้อยละ ๓๒.๖) เด็กที่จมน้ำพบว่า เสียชีวิต ณ ที่เกิดเหตุมากที่สุด (ร้อยละ ๕๒.๖) รองลงมาคือ เสียชีวิต ณ โรงพยาบาล/ห้องฉุกเฉิน (ร้อยละ ๑๓.๒) และมีการช่วยเหลือคนตกน้ำที่ผิดวิธี โดยการกระโดดลงไปช่วย ถึงร้อยละ ๒๗.๕ จากข้อมูลดังกล่าวทำให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลประกอบ เล็งเห็นถึงความจำเป็นในการป้องกันและเฝ้าระวังปัญหาเด็กเสียชีวิตจากการจมน้ำ ประกอบกับพื้นที่ของตำบลประกอบมีแหล่งน้ำต่างๆ มากมาย เช่น น้ำตก ลำคลอง บ่อน้ำและแหล่งน้ำต่างๆ อีกมากมาย จึงมีความจำเป็นที่ต้องมีการบรรจุเรื่องการป้องกันการจมน้ำในเด็กปฐมวัยศูนย์พัฒนาเด็กเล็กไว้ในกิจกรรมการเรียนรู้ของเด็ก เพื่อให้ครูผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้สอนให้เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กรู้จักแหล่งน้ำเสี่ยง โดยกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดแนวทางการสอนให้เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กรู้จักแหล่งน้ำเสี่ยง เน้นการสอน “อย่าใกล้ อย่าเก็บ อย่าก้ม” และการตะโกนขอความช่วยเหลือ ซึ่งครูและผู้ปกครองถือว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมาก ซึ่งต้องมีความรู้ ในการดูแลและสอนบุตรหลาน ให้รู้จักแหล่งน้ำเสี่ยงและหากเด็กจมน้ำต้องมีความรู้ความเข้าใจในการกู้ชีพหรือปฐมพยาบาลอย่างถูกวิธี ดังนั้น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลประกอบ ได้จัดทำโครงการ “โครงการหนูน้อยปฐมวัยว่ายน้ำเป็นเล่นน้ำปลอดภัย” เพื่อฝึกทักษะเสริมประสบการณ์การว่ายน้ำและเล่นน้ำอย่างปลอดภัยให้กับเด็กปฐมวัย และการอบรมให้ความรู้ ป้องกันและการช่วยเหลือที่ถูกต้อง หากพบเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน ให้กับครูและผู้ปกครอง ขึ้นในปีงบประมาณ พ.ศ.2564
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | ข้อที่ 1 เพื่อส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยให้มีทักษะการว่ายน้ำและเล่นน้ำได้อย่างปลอดภัย
|
0.00 | |
2 | ข้อที่ 2 เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้านของเด็กปฐมวัย
|
0.00 | |
3 | ข้อที่ 3 เพื่อส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยเรียนรู้ทักษะการป้องกันตนเองจากการจมน้ำและเรียนรู้ขั้นตอนการช่วยเหลือผู้อื่นเมื่อประสบเหตุ
|
0.00 | |
4 | ข้อที่ 4 เพื่อให้ครูและผู้ปกครองเรียนรู้และฝึกทักษะการช่วยเหลือ เมื่อเจอเหตุการณ์เด็กจมน้ำ
|
0.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 |
- จัดประชุมวางแผนการดำเนินงานครูผู้ดูแลเด็ก เจ้าหน้าผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
2. จัดทำโครงการเพื่อขอรับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลประกอบ
3. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
4. จัดเตรียมข้อมูล เอกสาร และวัสดุอุปกรณ์
5. ดำเนินงานตามโครงการ
5.1 จัดกิจกรรมการฝึกอบรมให้ความรู้กับผู้ดูแลเด็กและผู้ปกครองเด็กเล็ก เกี่ยวกับมาตรการในการป้องกันการจมน้ำ และการปฐมพยาบาลถูกวิธี
5.2 กิจกรรมสาธิตการ กู้ชีพ/ปฐมพยาบาลถูกวิธี สำหรับเด็กจมน้ำ 5.3 กิจกรรมเสริมสร้างทักษะและฝึกประสบการณ์การว่ายน้ำถูกต้องและการเล่นน้ำอย่างปลอดภัย
6. สรุปผล และประเมินผลการดำเนินงาน
- เด็กปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลประกอบว่ายน้ำเป็น สามารถเล่นน้ำได้อย่างปลอดภัย และมีความรู้ในการป้องกันการจมน้ำ 2. เด็กปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลประกอบมีพัฒนาการครบถ้วนทุกด้าน 3. ผู้ปกครอง ครูผู้ดูแลเด็ก มีความรู้ในการป้องกันเด็กจมน้ำและการปฐมพยาบาล อย่างถูกวิธี
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 มี.ค. 2564 15:32 น.