กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมทันตสุขภาพโรงเรียนประถมศึกษา ปีงบประมาณ 2564
รหัสโครงการ 64-L4120-01-15
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแหร
วันที่อนุมัติ 17 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 19,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายยูสนิง หะมะ
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวฟาตีมะห์ ปูเต๊ะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านแหร อำเภอธารโต จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 18 มี.ค. 2564 26 มี.ค. 2564 19,100.00
รวมงบประมาณ 19,100.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาด้านทันตสุขภาพเป็นปัญหาสำคัญที่พบมากในโรงเรียนประถมศึกษาเมื่อเทียบกับโรคอื่น ๆ ที่ตรวจพบในกลุ่มเดียวกัน และปัญหาด้านทันตสุขภาพนั้น นอกจากจะมีผลเสียโดยตรงต่อสุขภาพช่องปากของเด็กแล้วยังมีผลกระทบต่อการเรียนและพัฒนาการของเด็ก อีกทั้งเด็กที่อยู่ในช่วงอายุ 6 - 12 ปี ซึ่งเป็นวัยที่มีฟันแท้ขึ้นใหม่ ๆ ลักษณะรูปร่างฟันมีหลุมร่องลึกทำให้เกิดโรคฟันผุได้ง่าย นอกจากอุปนิสัยของเด็กที่ชอบรับประทานของหวาน ตลอดจนมีข้อจำกัดในเรื่องความสามารถในการดูแลสุขภาพช่องปากด้วยตนเองล้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคในช่องปากได้ง่าย หากไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่ที่ดีพอ โรคในช่องปากเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้และสามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพหากเริ่มต้นส่งเสริมตั้งแต่วัยเด็ก การฝึกฝนให้เด็กมีทันตสุขนิสัยที่ดี การส่งเสริมและป้องกันรวมทั้งการบำบัดรักษาในระยะเริ่มแรกของการเป็นโรคจะช่วยป้องกันและควบคุมโรคในช่องปากของเด็กได้ จากการตรวจสุขภาพช่องปากนักเรียนโรงเรียนบ้านบัวทอง พบว่านักเรียนประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 มีค่าปราศจากฟันผุร้อยละ 40 ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 45 ในกลุ่มนักเรียนประถมศึกษา ด้วยเหตุนี้ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแหร ตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาช่องปาก จึงจัดทำโครงการนี้ขึ้น โดยมุ่งเน้นให้มีกิจกรรมส่งเสริมทันตสุขภาพในโรงเรียน เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากในนักเรียน โดยให้ทันตสุขศึกษา กิจกรรมการแปรงฟันหลังอาหารกลางวัน และตรวจความสะอาดของการแปรงฟันโดยแกนนำนักเรียน กิจกรรมติดตามนักเรียนที่มีปัญหาช่องปากให้ได้รับการรักษา เพื่อคงไว้สุขภาพช่องปากที่ดี  และสร้างกระแสในการดูแลทันตสุขภาพตนเองของนักเรียน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพในช่องปาก

นักเรียนทำแบบทดสอบหลังให้ความรู้ผ่านร้อยละ 80

0.00
2 เพื่อให้นักเรียนมีทักษะในการแปรงฟันและสามารถตรวจความสะอาดของการแปรงฟันได้

แบบบันทึกความสะอาดหลังการแปรงฟัน โดยเจ้าหน้าที่ ผ่านร้อยละ 80

0.00
3 เพื่อลดอัตราการเกิดฟันผุในนักเรียน

การติดตามและการนัดให้บริการในนักเรียนที่มีฟันผุ ร้อยละ 50

0.00
4 เพื่อให้โรงเรียนมีกิจกรรมส่งเสริมทันตสุขภาพที่เป็นรูปธรรม และดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง

นักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนให้ความสำคัญและตระหนักเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปาก ยังคงดำรงไว้ซึ่งกิจกรรมต่างๆ

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 19,100.00 0 0.00
19 มี.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 1.1.อบรมให้ความรู้เกี่ยวทันตสุขภาพ 0 19,100.00 -
  1. เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ   1.1 ประชุมร่วมกันระหว่าง อบต. บ้านแหร และคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ
  2. ดำเนินงานตามโครงการ
      2.1 ประชุมชี้แจงโครงการแก่ผู้อำนวยการโรงเรียน และคุณครูที่เกี่ยวข้อง   2.2 ตรวจสุขภาพช่องปากนักเรียน และสรุปข้อมูลเสนอต่อคุณครูประจำชั้น   2.3 จัดอบรมนักเรียนแกนนำทันตสุขภาพในโรงเรียนประถมศึกษา
      2.4 จัดกิจกรรมแปรงฟันหลังอาหารกลางวันทุกระดับชั้นทุกห้องเรียน   2.5 จัดมุมแปรงฟัน และมุมทันตสุขภาพในโรงเรียน   2.6 เจ้าหน้าที่สาธารณสุขติดตามประเมินสภาวะทันตสุขภาพทุก 6 เดือน


  2.7 จัดกิจกรรมให้บริการทางทันตกรรม สำหรับนักเรียนที่มีปัญหาสุขภาพช่องปาก   2.8 คัดเลือกนักเรียนที่มีฟันดี พร้อมมอบรางวัลและเกียรติบัตร
3.4. ขั้นสรุปและประเมินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการปฏิบัติตัวเพื่อการมีสุขภาพช่องปากที่ดี
    1. โรงเรียนมีกิจกรรมด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปากที่ชัดเจน เป็นรูปแบบ และสามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง มีระบบการตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพ
    2. นักเรียนเข้าถึงการให้บริการของเจ้าหน้าที่ โดยการทำงานเชิงรุก
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 มี.ค. 2564 00:00 น.