กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด - ๑๙
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลคูหา
วันที่อนุมัติ 28 เมษายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 1 ตุลาคม 2564
งบประมาณ 18,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวฮารีซะห์ คอแล
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคูหา อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.61,100.833place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) ย่อมาจาก “Coronavirus disease 2019” ถูกประกาศให้เป็นโรคติดต่ออันตราย ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 (มีผลบังคับใช้วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2563) เป็นเชื้อตระกูลเดียวกับโรคซาร์ส ที่ระบาดเมื่อปี 2545 ทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจอักเสบเฉียบพลันปอดอักเสบและมีภาวะแทรกซ้อน พบแหล่งกำเนิดจากเมืองอู่ฮั่น มลฑลหูเป่ย ประเทศจีน จากที่มีผู้ป่วยมีอาการคล้ายปอดอักเสบและไข้หวัดใหญ่เป็นจำนวนมาก ต่อมาได้มีการแพร่กระจายไปในหลายเมืองในประเทศจีน และหลายประเทศ โดยประเทศไทยเป็นประเทศแรกนอกเหนือจากประเทศจีน ที่มีผู้ป่วยไวรัสโคโรนา ซึ่งพบผู้ป่วยรายแรกเป็นนักท่องเที่ยวหญิงชาวจีนอายุ 61 ปี จากเมืองอู่ฮั่น ซึ่งมีอาการไข้ หนาวสั่น ปวดศีรษะและเจ็บคอ เป็นเวลาสามวันก่อนเดินทางมาที่ประเทศไทย ต่อมาได้เดินทางมาพร้อมครอบครัวเพื่อท่องเที่ยว และได้รับการตรวจผ่านเครื่องตรวจจับความร้อนที่สนามบิน (Thermo scan) พบว่า มีไข้ จึงถูกส่งตัวไปรักษาที่โรงพยาบาลทันที และตรวจพบเชื้อ “ไวรัสโคโรนา 2019” (คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี, 2563)
อาการทั่วไปของโรคโควิด 19 พี่พบมากที่สุดคือ ไข้ ไอ ลิ้นไม่รับรส จมูกไม่ได้กลิ่น และอ่อนเพลีย อาการที่พบน้อยกว่าแต่อาจมีผลต่อผู้ป่วยบางรายคือ ปวดเมื่อย ปวดหัว คัดจมูก น้ำมูกไหล เจ็บคอ ท้องเสีย ตาแดง หรือผื่นตามผิวหนัง หรือสีผิวเปลี่ยนตามนิ้วมือนิ้วเท้า อาการเหล่านี้มักจะไม่รุนแรงนักและค่อยๆเริ่มทีละน้อย บางรายติดเชื้อแต่มีอาการไม่รุนแรง ผู้ป่วยส่วนมาก (80%) หายป่วยได้โดยไม่ต้องเข้ารักษาในโรงพยาบาล ประมาณ 1 ใน 5 ของผู้ติดเชื้อโควิด 19 มีอาการหนักและหายใจลำบาก ผู้สูงอายุและมีโรคประจำตัวเช่น ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคเบาหวาน หรือมะเร็งมีแนวโน้มที่จะมีอาการป่วยรุนแรงกว่า
ในเดือนเมษายน ๒๕๖๔ พบการระบาดของโรคโควิด ๑๙ ระลอกใหม่จากคลัสเตอร์สถานบันเทิงย่านทองหล่อ โดยภายในสามสัปดาห์ภายหลังจากมีการระบาด พบผู้ติดเชื้อในประเทศไทย ๑๔,๘๕๑ ราย สถานการณ์โรคโควิด ๑๙ ในจังหวัดสงขลา พบผู้ติดเชื้อรายใหม่สะสม ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๖๔ จำนวน ๔๙๒ ราย ติดเชื้อในประเทศ ๔๘๘ ราย ข้อมูลการระบาด ณ วันที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๖๔ พบผู้ติดเชื้อ ภายในประเทศ ๓๘ ราย จัดอยู่ในลำดับที่ ๙ ของจังหวัดที่มีผู้ติดเชื้อสูงสุด โดยผู้ติดเชื้อเป็นกลุ่มสถานบันเทิง ๑๐ ราย ผู้สัมผัสผู้ป่วยติดเชื้อในพื้นที่ ๑๗ ราย และเดินทางจากพื้นที่เสี่ยง ๑๑ ราย แนวทางป้องกันและลดการแพร่เชื้อโควิด 19 ตามคำแนะนำของกรมควบคุมโรค ได้แก่ 1. ออกจากบ้านเมื่อจำเป็นเท่านั้น หากออกนอกบ้านให้เว้นระยะห่างจากคนอื่นอย่างน้อย 1-2 เมตร หลีกเลี่ยงการเข้าไปในพื้นที่ที่มีคนหนาแน่น แออัด หรือพื้นที่ปิด 2. สวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าตลอดเวลา เมื่ออยู่นอกบ้าน 3. ใช้รถสาธารณะเมื่อจำเป็นเท่านั้น และหลีกเลี่ยงชั่วโมงเร่งด่วน หากต้องซ้อนมอเตอร์ไซด์ควรนั่งหันข้าง 4. ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ทุกครั้ง ก่อนรับประทานอาหาร หลังใช้ส้วม หรือหลังจากไอ จาม หรือหลังสัมผัสจุดเสี่ยงที่มีผู้ใช้งานร่วมกันในที่สาธารณะ เช่น กลอนหรือลูกบิดประตู ราวจับหรือ ราวบันได เป็นต้น 5. หลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสใบหน้า ตา ปาก จมูก โดยไม่จำเป็น 6. ผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยง ผู้สูงอายุที่อายุมากกว่า 70 ปี ผู้มีโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน โรคหัวใจ โรคความดัน โลหิตสูง โรคปอด และเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ให้เลี่ยงการออกนอกบ้าน เว้นแต่จำเป็น ให้ออกนอกบ้าน น้อยที่สุด ในระยะเวลาสั้นที่สุด 7. แยกของใช้ส่วนตัว ไม่ควรใช้ของร่วมกับผู้อื่น 8. เลือกทานอาหารที่ร้อนหรือปรุงสุกใหม่ๆ ควรทานอาหารแยกสำรับ หรือหากทานอาหารร่วมกันให้ใช้ ช้อนกลางส่วนตัว ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และพักผ่อนให้เพียงพอ 9. หากเดินทางกลับจากประเทศหรือพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ควรกักตัวเองที่บ้าน 14 วัน และปฏิบัติตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข 10. หมั่นสังเกตอาการตนเอง หากมีอาการไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส ให้ไปรับ การตรวจรักษาที่โรงพยาบาลใกล้บ้านทันที ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินงานมีความสอดคล้องตามประกาศคณะกรรมการฯ กองทุนสุขภาพตำบล องค์การบริหารส่วนตำบลคูหา ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการรับมือสถานการณ์โรคระบาดหรือภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้นองค์การบริหารส่วนตำบลคูหาจึงจัดทำโครงการโครงการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด – ๑๙ ขึ้น เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนสามารถเข้าถึงการล้างมือเพื่อป้องกันโรค ไม่เฉพาะโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เท่านั้น รวมถึงโรคระบาดหรือโรคติดต่ออุบัติใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต รวมทั้งสามารถตรวจคัดกรองตนเองเบื้องต้นก่อนรับบริการเพื่อป้องกันตนเอง ผู้รับบริการอื่น และเจ้าหน้าที่

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด ๑๙ ในพื้นที่ตำบลคูหา

สามารถป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด ๑๙ ในพื้นที่ตำบลคูหา

0.00
2 เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนสามารถป้องกันโรคด้วยตนเอง

ประชาชนในพื้นที่ตำบลคูหาสามารถป้องกันตนเองจากโรคโควิด ๑๙

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 18,000.00 0 0.00
19 พ.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 - ตรวจวัดไข้ผู้รับบริการ และเจ้าหน้าที่ในองค์การบริหารส่วนตำบลคูหา - จัดจุดบริการล้างมือสำหรับผู้รับบริการ และเจ้าหน้าที่ในองค์การบริหารส่วนตำบลคูหา 0 18,000.00 -

ขั้นก่อนดำเนินการ 1. จัดทำโครงการเสนอผู้บริหารเพื่อขออนุมัติโครงการ   4. ประสานงานกับผู้ที่เกี่ยวข้อง   5. จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ บุคลากรและสถานที่   ขั้นดำเนินการ ๑. ดำเนินกิจกรรมตามแผนที่วางไว้ ๒. ตรวจสอบความถูกต้องแม่นยำของอุปกรณ์ ๓. ส่งเสริมให้มีการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง   ขั้นหลังดำเนินการ 1. ประเมิน 2. สรุปโครงการ 3. นำเสนอผลงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑ สามารถลดการแพร่ระบาดของโรคโควิด ๑๙ ในตำบลคูหาได้ ๒ สามารถพบผู้ติดเชื้อได้ในระยะเริ่มแรก และได้รับการรักษาโดยเร็วจนสามารถลดความรุนแรงของโรคได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 พ.ค. 2564 14:51 น.