กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรวมพลังชุมชนป้องกันโรคไข้เลือดออก
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคูหา
วันที่อนุมัติ 28 เมษายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 1 ตุลาคม 2564
งบประมาณ 69,016.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวซารีนา ฮะมะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคูหา อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.61,100.833place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันประเทศไทย กำลังประสบปัญหาโรคไข้เลือดออกระบาด ทำให้เกิดความเสียหายต่อประเทศ ทั้งในด้านทรัพยากรบุคคล เนื่องจากโรคไข้เลือดออกทำอันตรายถึงชีวิต ด้านงบประมาณ ต้องสูญเสียงบประมาณ ในการรักษาผู้ป่วย ซึ่งงบประมาณที่ใช้รักษาแต่ละรายค่อนข้างสูง และทำให้การพัฒนาของประเทศต้องล่าช้า เนื่องจากต้องแก้ปัญหาด้านสุขภาพของคนภายในประเทศ จากรายงานการระบาดของโรคไข้เลือดออกของประเทศไทย ไข้เลือดออก     สำหรับประเทศไทยปี 2563 ตั้งแต่วัน 1 ม.ค.– 14 ต.ค.2563 (ข้อมูลจากรายงานระบบการเฝ้าระวังโรค 506 กองระบาดวิทยา) พบผู้ป่วยสะสมรวม 63,220 ราย อัตราป่วย 95.35 ต่อแสนประชากร เสียชีวิต 43 ราย อัตราตาย 0.06 ต่อแสนประชากร โดยผู้ป่วยกลุ่มอายุ 10–14 ปี มีอัตราป่วยสูงสุด สัดส่วนอาชีพที่พบผู้ป่วยสูงสุดคือนักเรียน สำหรับอำเภอสะบ้าย้อยเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดสงขลา มีลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศที่เอื้อต่อการเกิดโรค ประกอบกับเป็นพื้นที่รอยต่อติดกับจังหวัดยะลา มีการย้ายถิ่น การเคลื่อนไหวของประชากรเพื่อการศึกษา และประกอบอาชีพอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดภาวะเสี่ยงต่อการระบาดของโรคไข้เลือดออกได้มากกว่าพื้นที่อื่น โรคไข้เลือดออกในอำเภอสะบ้าย้อยในปี พ.ศ. 2563 (ข้อมูล ณ วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2563  ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ.2563) พบว่า พบผู้ป่วย จำนวน 149 ราย มีอัตราป่วยต่อประชากรแสนคนเท่ากับ 197 (ศูนย์ข้อมูลระบาดวิทยา คปสอ. สะบ้าย้อย)     โดยตำบลคูหาเป็นพื้นที่หนึ่งที่พบผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก อย่างต่อเนื่องไข้เลือดออกมีอัตราป่วยต่อแสนประชากรในปี 2561 เท่ากับ 15.13 (1 ราย) ปี 2562 เท่ากับ 136.36 (9 ราย) ปี 2563 พบไข้เลือด เท่ากับ 809.77 (53 ราย) (ศูนย์ข้อมูลระบาดวิทยา ศปสอ.สะบ้าย้อย) จากสถิติสถานการณ์โรคดังกล่าวจะเห็นได้ว่า อัตราการระบาดของโรคมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งจำเป็นต้องทำการควบคุมป้องกันและรณรงค์เพื่อให้สถานการณ์ของโรคกลับอยู่ในสภาวะที่ไม่รุนแรงและเพื่อเป็นการป้องกันอย่างต่อเนื่อง โดยทุกภาคส่วนจะต้องร่วมมือกันในการป้องกันและควบคุมโรคดังกล่าวอย่างจริงจัง และต่อเนื่อง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคูหา ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลคูหา ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการ “โครงการรวมพลังชุมชนป้องกันโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2564” ขึ้น เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก และเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของจังหวัดสงขลา ในการพัฒนาตามประเด็นจุดเน้นของจังหวัดสงขลา ปี 2564 ที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดต่อสำคัญ โรคอุบัติใหม่ และอุบัติซ้ำ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลคูหา

จำนวนผู้ป่วยในหมู่บ้านลดลงกว่าปี 2563

0.00
2 เพื่อลดความชุกชุมของ พาหะนำโรคไข้เลือดออก

ดัชนีลูกน้ำยุงลายน้อยกว่า ร้อยละ 10

0.00
3 เพื่อลดความชุกของ พาหะนำโรคไข้เลือดออกในโรงเรียน

ดัชนีลูกน้ำยุงลายในโรงเรียนน้อยกว่า ร้อยละ 10

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 122 69,016.00 0 0.00
20 พ.ค. 64 ดำเนินการพ่นหมอกควัน เพื่อทำลายยุงตัวแก่ ประจำปี (๒ครั้ง/ปี) ห่างกัน 1 สัปดาห์และดำเนินการพ่นหมอกควัน เมื่อมีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกหรือในกรณีมีการระบาด (๒ครั้ง/คน) 0 64,486.00 -
20 พ.ค. 64 เดินรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน โรงเรียน โดยมีแกนนำนักเรียนโรงเรียนบ้านคูหา, แกนนำประจำครอบครัวและอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม) 100 2,780.00 -
20 พ.ค. 64 ส่งเสริมสุขภาพในโรงเรียน อย.น้อย ปราบยุ่งลาย 22 1,750.00 -

เป้าหมาย พื้นที่ตำบลคูหา 5 หมู่บ้าน หมู่ที่ 2,3,4,5,6 ตำบลคูหา
1. หลังคาเรือนทั้งหมด จำนวน 1,240 หลังคาเรือน แยกเป็นรายหมู่บ้านดังนี้ หมู่ที่ 2 จำนวน 241 หลังคาเรือน หมู่ที่ 3 จำนวน 265 หลังคาเรือน หมู่ที่ 4 จำนวน 292 หลังคาเรือน หมู่ที่ 5 จำนวน 128 หลังคาเรือน หมู่ที่ 6 จำนวน 314 หลังคาเรือน 2. โรงเรียน จำนวน 2 โรงเรียน 3. ศาสนสถาน จำนวน 6 แห่ง 4. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 2 แห่ง

ขั้นตอนการดำเนินงาน   ๑. ขั้นเตรียมการ ๑.๒ ศึกษาชุมชน สำรวจข้อมูลพื้นฐานของชุมชน ๑.๓ ระบุปัญหา - เก็บรวบรวมข้อมูล - วิเคราะห์ข้อมูล - นำเสนอข้อมูลและระบุปัญหาร่วมกับชุมชน ๑.๔ จัดลำดับความสำคัญของปัญหาและวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา - จัดลำดับความสำคัญของปัญหาร่วมกับชุมชน - เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา - การเชื่อมโยงปัญหา - การกำหนดทางเลือกในการแก้ไขปัญหา - การวางแผนโครงการเพื่อแก้ไขปัญหา
- ประชาสัมพันธ์โครงการ ขั้นดำเนินงาน กิจกรรมที่ ๑ ดำเนินการพ่นหมอกควัน เพื่อทำลายยุงตัวแก่ ประจำปี (๒ครั้ง/ปี) ห่างกัน 1 สัปดาห์ กิจกรรมที่ 2 ดำเนินการพ่นหมอกควัน เมื่อมีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกหรือในกรณีมีการระบาด (๒ครั้ง/คน)
กิจกรรมที่ 3 เดินรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน โรงเรียน โดยมีแกนนำนักเรียนโรงเรียนบ้านคูหา, แกนนำประจำครอบครัวและอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม) จำนวน 100 คน โดยวิธี ทางกายภาพ - รณรงค์เคาะประตูบ้านในชุมชนและในโรงเรียน พร้อมร่วมกันดำเนินการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ทางเคมีภาพ - รณรงค์ใส่สารเคมีทรายอะเบทในตุ่มน้ำใช้ในครัวเรือน และโรงเรียน โดยอสม.นักเรียนและพ่นสารเคมีกำจัดยุงลายในพื้นที่เสี่ยงและพื้นที่เกิดโรคทันทีเมื่อมีการระบาด ทางชีวภาพ – ส่งเสริมความรู้ให้แกนนำประจำครอบครัวในชุมชนเกี่ยวกับการปลูกพืชไล่ยุง เช่นตะไคร้ไล่ยุ่ง การเลี้ยงปลากินลูกน้ำ เช่น ปลาหางนกยูง กิจกรรมที่ 4 ส่งเสริมสุขภาพในโรงเรียน อย.น้อย ปราบยุ่งลาย     กิจกรรมที่ 4.1 ให้ความรู้แกรนนำนักเรียน อย.น้อย จำนวน 20 คน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และ5     กิจกรรม 4.2 เดินสำรวจพาหะนำโรคไข้เลือดออก ทุกๆ 2 สัปดาห์     กิจกรรม 4.3 ประชาสัมพันธ์เสียงตามสายในเรียน ทุก 1 เดือน

ขั้นหลังดำเนินงาน -  ประเมินผลโครงการ -  สรุปผลโครงการ -  นำเสนอผลการการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ลดลงและสามารถควบคุม โรคอุบัติการณ์ใหม่ อุบัติการณ์ซ้ำไว้ได้ และความชุกชุมของ พาหะนำโรคไข้เลือดออกลดลง รวมทั้งนักเรียนและประชาชน มีความรู้ที่ถูกต้อง ให้ความสำคัญในการป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างจริงจัง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 พ.ค. 2564 09:06 น.