โครงการรู้ทันมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก ปี 2564
ชื่อโครงการ | โครงการรู้ทันมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก ปี 2564 |
รหัสโครงการ | 2564-L8412-7(1)-06 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | รพ.สต.ท่าสาป |
วันที่อนุมัติ | 21 พฤษภาคม 2564 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 พฤษภาคม 2564 - 30 กันยายน 2564 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2564 |
งบประมาณ | 21,900.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางยูนัยดะห์ กะดะแซ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลท่าสาป อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.538,101.235place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 30 ก.ย. 2564 | 21,900.00 | ||||
รวมงบประมาณ | 21,900.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
มะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบเป็นอันดับ 2 ของมะเร็งในสตรีทั่วโลก รองลงมาจากมะเร็งเต้านม สำหรับในประเทศไทยมะเร็งปากมดลูก เป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดในมะเร็งของสตรีไทย สาเหตุของมะเร็งปากมดลูกที่แท้จริงไม่ทราบแน่นอน แต่สาเหตุสำคัญเท่าที่วิทยาการทางการแพทย์ตรวจพบได้ในปัจจุบัน คือ การติดเชื้อ human papilloma virus หรือ HPV บริเวณปากมดลูก เป็นสาเหตุจำเพาะของมะเร็งปากมดลูก ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ เป็นเพียงปัจจัยส่งเสริมทำให้ปากมดลูกมีโอกาสติดเชื้อ HPV ได้มากขึ้นหรือง่ายขึ้น เช่นการมีคู่นอนหลายคน การมีเพศสัมพันธ์เมื่ออายุน้อย หรือการตั้งครรภ์เมื่ออายุน้อย มะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดเป็นอันดับ 1 ในผู้หญิงไทย และจะมีอัตราการเสียชีวิต เกินครึ่งหนึ่งเลยทีเดียว และเป็นต้นเหตุทำให้ผู้หญิงทั่วโลกเสียชีวิตมากกว่าปีละ 270,000 คน หรือเฉลี่ยวันละ 650 คน โดยมีสถิติของผู้เสียชีวิตเฉลี่ยสูงถึง 7 คนต่อวัน จากรายงานของ WHO/ICO Information Centre on HPV and Cervical Cancer (HPV Information Centre), Human Papillomavirus and Related Cancers in Thailand, Summary Report 2010 ได้รายงานในปี พ.ศ.2551 ประเทศไทยมีประชากรสตรีที่เสี่ยงต่อมะเร็งปากมดลูก 26.09 ล้านคน มีอายุตั้งแต่ 15 ปี ขึ้นไป มีจำนวนผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกรายใหม่ปีละ 9,999 ราย เสียชีวิต 5,216 ราย หรือประมาณร้อยละ 53 ถ้าคิดเป็นวันแล้วจะมีสตรีไทยเสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูกเฉลี่ยวันละ 14 คน อุบัติการณ์โดยรวมของมะเร็งปากมดลูกในช่วง 15 ปีที่ผ่านมาลดลงเพียงเล็กน้อย แต่จำนวนผู้ป่วยรายใหม่สูงขึ้นเรื่อยๆ ถ้าอุบัติการณ์ของมะเร็งปากมดลูกยังคงสูงในระดับนี้โดยไม่มีมาตรการหรือยุทธวิธีใหม่ที่มีประสิทธิภาพมาป้องกัน คาดว่าในปี พ.ศ.2568 จะมีจำนวนผู้ป่วยรายใหม่สูงขึ้นเป็นปีละประมาณ 13,082 คน เสียชีวิต 7,871 ราย สาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกยังไม่ทราบแน่ชัด
จากสถิติในปี 2550 พบผู้ป่วยใหม่ ประมาณ 7,000 ราย มีผู้เสียชีวิต ประมาณ 3,500 ราย หรือ 9 รายต่อวัน แต่โรคมะเร็งปากมดลูกสามารถรักษาให้หาย และมีความเป็นไปได้ในการที่จะกำจัดให้หมดไปจากประเทศไทย หากตรวจพบตั้งแต่อยู่ในระยะเริ่มแรก หรือระยะก่อนเป็นมะเร็ง ปัญหาสำคัญคือ คนไทยร้อยละ 50 มักไปพบแพทย์ขณะที่โรคลุกลามแล้ว ซึ่งยากต่อการรักษาให้หาย ผู้ป่วยมักเสียชีวิต รวมทั้งเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลจำนวนมาก ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าสาปจึงเห็นความสำคัญของการป้องกันการเกิดมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมโดยการตรวจคัดกรองค้นหามะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมในสตรีเป้าหมายกลุ่มอายุ 30-70 ปี
จากการดำเนินงานตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าสาป ปี 2558-2562 พบว่าได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกรวม 271 ราย คิดเป็นร้อยละ 21.1 พบผู้ป่วยที่มีอาการผิดปกติส่งต่อไปตรวจซ้ำที่รพ.ยะลา ผลปกติ จำนวน 4 ราย ไม่พบผู้ป่วยรายใหม่ การตรวจคัดกรองมะเร้งเต้านมจำนวน 1,126 ราย มีอาการผิดปกติและได้รับการส่งต่อจำนวน 2 ราย พบผู้ป่วย 1 รายและปกติ 1 ราย ผู้ป่วยได้รับการรักษา ประมาณ 1 ปีกว่า และได้เสียชีวิตลงอย่างสงบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าสาป เห็นความสำคัญในการป้องกันมากกว่าการรักษาโรค โดยเฉพาะการตรวจคัดกรองค้นหาโรคระยะแรกในสตรีกลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นวิธีหนึ่งที่สามารถลดอัตราอุบัติการณ์รายใหม่ได้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าสาป จึงได้จัดทำโครงการรู้ทันโรคมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก ปีงบประมาณ 2564 ขึ้นโดยเน้นการให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคมะเร็งเต้านมและตรวจคัดกรองหาCell มะเร็งปากมดลูกขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | ข้อที่ 1.กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ มีความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านม และมะเร็งปากมดลูก 1.กลุ่มเป้าหมาย มีความรู้อยู่ในระดับดี ร้อยละ 80 |
0.00 | |
2 | ข้อที่ 2.กลุ่มเป้าหมาย สามารถเข้าถึงบริการรักษาโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกได้ตามมาตรฐาน 2.กลุ่มเป้าหมาย ที่คัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก หากมีผลตรวจผิดปกติ ได้รับการส่งต่อเพื่อรับการดูแลจากแพทย์เฉพาะทาง ร้อยละ 100 |
0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 50 | 21,900.00 | 0 | 0.00 | 21,900.00 | |
1 ก.ค. 64 | อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้และฝึกการตรวจเต้านมด้วยตนเอง | 50 | 21,900.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 50 | 21,900.00 | 0 | 0.00 | 21,900.00 |
1 ขั้นเตรียมการ
1.1 ประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานแก่บุคลากรที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ เจ้าหน้าที่รพ.สต.
1.2 จัดทำทะเบียนรายชื่อสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30-70 ปี
2 ขั้นดำเนินการ
2.1 จัดอบรมให้ความรู้เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมแก่สตรีกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 3 รุ่น รุ่นละ 50 คน รวมทั้งหมด 150 คน
2.2 ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง และสาธิตย้อนกลับได้
2.3 ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกตามความสมัครใจ
2.4 แจ้งผลการตรวจมะเร็งปากมดลูกแก่ผู้รับบริการภายใน 1 เดือน
2.5 ติดตามและส่งต่อ กลุ่มเป้าหมายที่ตรวจคัดกรอง พบมีความผิดปกติเพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัย และได้รับการ รักษาตามมาตรฐานและต่อเนื่อง
3 ขั้นการประเมิน (Check) และรายงานผล
3.1 ประเมินผลของโครงการ
4 ขั้นนำผลประเมินไปใช้พัฒนา (Act)
4.1 ดำเนินงานเพื่อหาข้อสรุปและข้องบกพร่อง
4.2 นำผลการติดตามไปใช้พัฒนารูปแบบ วิธีการของโครงการ/กิจกรรม ดำเนินการในครั้งต่อไป
- สตรีที่มีอายุ 30-70 ปี สามารถตรวจค้นหามะเร็งเต้านมด้วยตนเอง
- สตรีที่มีอายุ 30-60 ปี ได้รับการตรวจค้นหาเซลล์มะเร็งปากมดลูกโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
- สตรีที่มีอายุ 30-70 ปีและสตรีแกนนำมีความรู้ในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 31 พ.ค. 2564 10:01 น.