กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการขยับกาย ออกกำลังด้วยไทเก็ก
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์ไทเก็กคลองแงะ
วันที่อนุมัติ 19 กรกฎาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 25 กรกฎาคม 2560 - 31 ธันวาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 38,650.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ศูนย์ไทเก็กคลองแงะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันสังคมของคนไทยเริ่มเปลี่ยนไปจากอดีต ดังจะเห็นได้จากบริบทการทำงาน เศรษฐกิจ และวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป มีการแข่งขันทั้งทางด้านข่าวสารสารสนเทศและเทคโนโลยี ทำให้วิถีชีวิตของคนในสังคมต้องเร่งรีบและแข่งขันตามกลไกเศรษฐกิจ แต่ในความเจริญนั้นก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ เกิดขึ้นด้วย ไม่ว่าจะเป็นปัญหาอาชญากรรม สุขภาพทั้งร่างกาย จิตใจแต่ระบบเศรษฐกิจนั้นยังคงดำเนินไปเรื่อยๆ โดยทรัพยากรสำคัญที่สุดคือทรัพยากรมนุษย์นั้นไม่ยั่งยืนและพัฒนาขึ้น เพราะร่างกายมนุษย์เสื่อมลงตามกาลเวลา ประกอบกับมลภาวะทางสิ่งแวดล้อมที่เพิ่มขึ้น แต่เวลาในการดูแลสุขภาพของตนเองกลับน้อยลง เกิดปัญหาด้านสุขภาพเพิ่มขึ้น ทำให้ประชาชนหันไปพึ่งพาสินค้าที่จะทำให้สุขภาพดีจากสื่อต่างๆน้ำสมุนไพรต่างๆ ซึ่งไม่จำเป็นและมีราคาแพง ดังนั้นการสร้างเสริมสุขภาพด้วยวิธีง่ายๆ และได้ผลจึงเป็นสิ่งที่เหมาะสมกับช่วงเวลาที่เศรษฐกิจไม่ดีนัก เคยมีคำกล่าวที่ว่า ไม่มีสมบัติใดจะล้ำค่าไปกว่าสุขภาพที่ดี สุขภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้คนมากมายเริ่มหันมาให้ความสนใจมากขึ้น แต่เมื่อสูงอายุมากขึ้น การจะออกกำลังกายอย่างหนักคงไม่สะดวกนัก ดังนั้นการออกกำลังกายโดยใช้การรำไทเก๊กซึ่งไม่ต้องใช้แรงมาก โอกาสบาดเจ็บน้อย เนื่องจากไทเก๊กที่นำมาออกกำลังกายนี้ไม่ใช่ไทเก๊กสายต่อสู้ แต่เป็นไทเก๊กเพื่อสุขภาพโดยเฉพาะจังหวะช้าๆ และไม่ยากจนเกินไป ง่ายต่อการทำตามที่ไม่ว่ารุ่นไหนวัยไหนก็สามารถทำได้ หากรวมเข้ากับอากาศบริสุทธิ์และบรรยากาศผ่อนคลายของสวนสาธารณะจะยิ่งได้ผล ที่ดีมากขึ้น นอกจากรำไทเก๊กแล้ว ในสวนสาธารณะยังมีสถานที่ให้เล่นกีฬาชนิดอื่นหรือเพื่อให้คนในครอบครัวได้มา พักผ่อนหย่อนใจได้ด้วย ประกอบกับสังคมคลองแงะเป็นสังคมคนเชื้อสายจีนเป็นส่วนใหญ่ศูนย์ไท้เก็ก คลองแงะได้เล็งเห็นความสำคัญเรื่องการดูแลสุขภาพของประชาชนจึงได้จัดทำโครงการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ โครงการ “ขยับกายออกกำลัง ด้วย ไท้เก็ก” ขึ้น เพื่อให้ประชาชนในชุมชนมีความตระหนักถึงการออกกำลังกาย การมีสุขภาพที่แข็งแรง ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ และการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องและเหมาะสมกับสภาพของร่างกายพร้อมทั้งมีแกนนำ ในการออกกำลังกายทุกวัน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.สร้างแกนนำในการออกกำลังกายอย่างเป็นรูปแบบ

มีแกนนำการออกกำลังกายในชุมชน.

0.00
2 เพื่อให้ประชาชนในชุมชนออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องและเหมาะสมกับวัย

.ประชาชนมาออกกำลังกายร้อยละ 70 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 38,920.00 3 33,341.00
1 ต.ค. 60 - 7 พ.ย. 60 1…ประชาสัมพันธ์โครงการ และรับสมัครเข้าร่วมกิจกรรม 1.1 กิจกรรมประชาสัมพันธ์โครงการตามจุดสำคัญในชุมชน. 1.2 กิจกรรมรับสมัครผู้เข้าร่วมกิจกรรม. 0 770.00 450.00
6 พ.ย. 60 - 30 ธ.ค. 60 กิจกรรมฝึกปฏิบัตออกกำลังกายโดยไท้เก็ก 0 18,000.00 18,000.00
8 พ.ย. 60 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องไท้เก็กและประเมินสภาวะสุขภาพเบื้องต้น 0 20,150.00 14,891.00

.ประชาสัมพันธ์ในชุมชนถึงการดำเนินโครงการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ ““ขยับกายออกกำลัง ด้วย ไทเก็ก”” 2.ดำเนินการรับสมัครผู้เข้าโครงการ
3.ประเมินสภาวะสุขภาพของผู้เข้าร่วมทั้งในด้านร่างกายจิตใจ ชั่งน้ำหนักวัดความดันรอบเอว ก่อน- หลังดำเนินโครงการ 4.อบรมให้ความรู้ในการออกกำลังกายที่ถูกวิธีและเหมาะสมกับวัย 5.ดำเนินการออกกำลังกายทุกวันละต่อเนื่อง จัดให้มีผู้นำในการออกกำลังกาย มานำในการออกกำลังกายที่ถูกวิธีใน เวลา 17.00น. -18.30 น. โดยมีผู้นำออกกำลังกายวันละ 1 คน 6.บันทึกผู้มาเข้าร่วมกิจกรรมทุกวัน
7.ประเมินผลก่อน –หลังดำเนินโครงการโดยการประเมินสุขภาพทั้งด้านร่างกายและจิตใจ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนได้ออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง มีการใส่ใจตัวเองในการดูแลสุขภาพมากขึ้น ส่งผลให้ผู้ที่เข้าร่วมโครงการมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง 2.ผู้เข้าร่วมในชุมชนเกิดความคุ้นเคยสนิทสนมกลมเกลียวกันและเกิดความสามัคคี 3.ผู้เข้าร่วมมีสุขภาพกายและจิตที่ดี และรู้สึกมีคุณค่า

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 ส.ค. 2560 14:19 น.