กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
รหัสโครงการ 60-L1489-2-12
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สำนักปลัด อบต.ควนปริง
วันที่อนุมัติ 8 สิงหาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2559 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2560
งบประมาณ 15,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ สำนักปลัด อบต.ควนปริง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ห้องประชมที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลควนปริง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.521,99.596place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคหลอดเลือดสมอง หรือ อัมพฤกษ์ อัมพาตเป็นโรคทางระบบประสาทที่พบบ่อย และเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของทั่วโลกและประเทศไทย โดยสถานการณ์โรคหลอดเลือดสมองทั่วโลกนั้น องค์การอัมพาตโลก (World Stroke Organization : WSO) รายงานว่า สถานการณ์ทั่วโลกโรคหลอดเลือด-สมองเป็นสาเหตุการตายอันดับ 2 ของประชากรอายุมากกว่า 60 ปี และเป็นสาเหตุการตายอันดับ 5 ของประชากรอายุมากกว่า 15-59 ปี และในแต่ละปีมีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ประมาณ 6,000,000 คน ซึ่งมีจำนวนมากกว่าการเสียชีวิตด้วยโรคเอดส์, วัณโรค และมาลาเรีย (ธิดารัตน์ อภิญญาและนิตยา พันธุเวทย์, 2554) จากสถิติกระทรวงสาธารณสุข ปี 2549 ของสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าโรคหลอดเลือดสมองเป็นสาเหตุการตายอันดับที่ 3 ในประชากรไทย และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยข้อมูลในปี 2552 พบว่ามีผู้เสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดสมอง จำนวน 176,342 คน หรือคิดเป็น 3 คน ในทุก 2 ชั่วโมง (สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์, 2552) จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้นนับว่าโรคหลอดเลือดสมองเป็นภัยเงียบที่คุกคามชีวิตของประชากร-ไทย และทั่วโลก นอกจากนั้นยังพบว่าเป็นสาเหตุของการสูญเสียปีสุขภาวะ (disability adjusted life year) คือ ยังมีชีวิตอยู่ได้นานโดยไม่มีความสุขด้วยสภาวะความพิการ หรือสภาพการใช้งานของร่างกายที่เปลี่ยนไป ซึ่งความพิการดังกล่าวส่งผลกระทบมิใช่ต่อตัวผู้ป่วยเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อครอบครัว ชุมชน และประเทศชาติอีกด้วย การดูแลตนเองให้ห่างไกลจากโรคหลอดเลือดสมอง โดยการเฝ้าระวังปัจจัยต่อโรคหลอดเลือดสมองของตนเองอย่างต่อเนื่อง รวมถึงเมื่อเกิดอาการเตือนของการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง พบว่าสามารถลดอัตราการตาย ลดค่าใช้จ่ายในการรักษา ลดภาวะแทรกซ้อนของการเกิดโรค รวมทั้งลดความพิการของผู้ป่วย และภาระทางสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ (สถาบันประสาทวิทยา, 2552) จากข้อมูลโดยนักวิชาการสาธารณสุขของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขในปีงบประมาณ 2554 พบว่าประชากรไทยมีปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองได้อย่างมากได้แก่ 1) ความดันเลือดสูง 2) เป็นเบาหวาน3) สูบบุหรี่ หรือดมควันบุหรี่4) ไขมันในเลือดสูง 5) โภชนาการไม่ถูกต้อง 6) ไม่ออกกำลังกาย 7) อ้วน 8) ลงพุง โดยหากมีการแก้ไขปรับพฤติกรรมที่สามารถทำได้ จะเป็นวิธีการป้องกันที่ดีและมีผลลดการเป็นอัมพาตได้ถึงร้อยละ 80 (กรมควบคุมโรค, 2554)
สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลควนปริงจึงได้จัดทำโครงการปรับพฤติกรรมเสี่ยงในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ในการทำโครงการนี้คาดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เป็นความเสี่ยงต่อความเจ็บป่วยของโรคหลอดเลือดสมองในการป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ช่วยควบคุมสภาวะของโรค ลด หรือป้องกันการกลับเป็นซ้ำในกลุ่มผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง เกิดความคุ้มค่าลดค่าใช้จ่ายในการรักษา/ดูแล และที่สำคัญ อย่างยิ่ง คือการที่บุคคลอยู่รอดอย่างได้อย่างปกติไม่เกิดความพิการ ความทุกข์ทั้งร่างกาย และจิตใจต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อความเจ็บป่วยของโรคหลอดเลือดสมอง มีความตระหนักในสภาวะของโรค รับรู้ ความสามารถตนเอง รู้จักกำกับตนเอง และพัฒนาทักษะในการดูแลตนเองเพิ่มขึ้นกว่าก่อนเข้าร่วมโครงการอย่างน้อยร้อยละ 70 ของผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด

 

2 เพื่อให้ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อความเจ็บป่วยของโรคหลอดเลือดสมอง มีความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองที่ถูกต้องเพิ่มขึ้นกว่าก่อนเข้าร่วมโครงการอย่างน้อยร้อยละ 70 ของผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ประชุมอบรม ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลควนปริง
  2. พื้นที่ตำบลควนปริง
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความสามารถดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง และมีพฤติกรรมสุขภาพที่ควบคุมสภาวะของโรคได้
  2. มีรูปแบบแนวทางการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคเบาหวานในผู้รับบริการกลุ่มโรคหลอดเลือดสมอง และมีกลุ่มการดูแลตนเองต่อเนื่อง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ส.ค. 2560 12:51 น.