กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการลูกน้อยสุขภาพดี ด้วยวัคซีนครบชุด ปี 2564
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทัพหลวง
วันที่อนุมัติ 4 กุมภาพันธ์ 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 1 ตุลาคม 2564
งบประมาณ 29,770.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนิภาวรรณ มันยะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคูหา อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.61,100.833place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข และยึดถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน การได้รับบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของเด็ก เด็กทุกคนในประเทศไทยควรได้รับวัคซีนพื้นฐาน ครบทุกชนิดตามกำหนดของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งรวมถึงการได้รับวัคซีนกระตุ้นตามกำหนดที่เหมาะสมสำหรับวัคซีนแต่ละชนิดด้วย ซึ่งหากเด็กกลุ่มวัยดังกล่าวมีอัตราป่วยและตายด้วยวัยที่ไม่สมควรเนื่องจากโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีนแล้ว หมู่บ้านชุมชน และประเทศชาติจะพัฒนาไปได้อย่างไรในอนาคต ฉะนั้นการเร่งรัดติดตามให้ประชากรกลุ่มเป้าหมายทุกคนได้รับการฉีดให้ครอบคลุมตามแผนที่วางไว้ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องดำเนินการซึ่งการบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคจะต้องจัดให้แก่ประชาชนด้วยความสะดวก และปลอดภัย
งานสร้างเสริมภูมิคุมกันโรค ต้องดำเนินการให้ครอบคลุมประชากรเป้าหมายในระดับสูงที่สุดและมีความต่อเนื่องต่อไป งานสร้างเสริมภูมิคุมกันโรค จะพยายามป้องกันประชาชนจากโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนให้ได้มากโรคที่สุด โดยการเพิ่มชนิดของวัคซีนที่ใช้ ทั้งนี้โดยความเหมาะสมกับสถานการณ์ทางระบาดวิทยาของโรค จากการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทัพหลวง ตำบลคูหา อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา ในรอบปีที่ผ่านมาปรากฏว่า กลุ่มเด็ก 0-5 ปีในเขตรับผิดชอบทั้งหมด 262 คน มารับบริการทั้งหมด 184 คน คิดเป็นร้อยละ 70.22 ซึ่งต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนดคือร้อยละ95 ฉะนั้นเพื่อให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมายตามแผนฯจากรายงานอัตราความครอบคลุมวัคซีนขั้นพื้นฐานพบว่าเด็ก 0-5 ปีในเขตรับผิดขอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทัพหลวงตำบลคูหา อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา ได้รับวัคซีนไม่ครอบคลุม จึงจำเป็นต้องดำเนินการเร่งรัด ติดตาม ค้นหาเด็กตามกลุ่มเป้าหมายให้มารับการฉีดวัคซีนทุกคนเพื่อการป้องกันโรคที่อาจจะเกิดขึ้นกับประชากรกลุ่มอายุดังกล่าวไปสู่อนาคตต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อสร้างจิตสำนึก เจตคติที่ดี แก่บิดา มารดาและผู้ปกครองเด็กต่อการรับวัคซีน

 

0.00
2 2. เพื่อเพิ่มความความครอบคลุมของการรับวัคซีนในเด็กอายุครบ 1 ปี ไม่น้อยกว่าร้อยละ 95

 

0.00
3 3. เพื่อเพิ่มความความครอบคลุมของการรับวัคซีนในเด็กอายุครบ 2, 3, 5 ปี ไม่น้อยกว่าร้อยละ 95

 

0.00
4 4. เพื่อพัฒนาและเพิ่มศักยภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เครือข่ายในการดูแลสุขภาพของชุมชน

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 29,770.00 0 0.00
16 มิ.ย. 64 อบรมให้ความรู้ ความเข้าใจเรื่องวัคซีนในกลุ่มผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปี แกนนำวัคซีน พร้อมทั้งคืนข้อมูลเด็กที่ไม่ได้รับวัคซีนตามช่วงเวลา และภาวะโภชนาการในเด็ก (สูงดีสมส่วน) 0 23,350.00 -
16 มิ.ย. 64 ให้ความรู้ในหมู่บ้านผ่านสื่อประชาสัมพันธ์ 0 6,420.00 -

วิธีดำเนินการ ขั้นเตรียมการ
1. จัดทำโครงการตามแผน เพื่อเสนอพิจารณาเห็นชอบ/อนุมัติโครงการ
2. ประชุมเจ้าหน้าที่ อสม. แกนนำ และภาคีสุขภาพเพื่อชี้แจงขั้นตอนการดำเนินงาน
3. ประสานอาสาสมัครสาธารณสุข แกนนำวัคซีนในการติดตาม ประชาสัมพันธ์ กลุ่มเป้าหมาย 4. ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้และรณรงค์สร้างกระแสผ่านสื่อต่างๆและเสียงตามสาย 5. จัดทำกลุ่มเป้าหมายที่ขาดรับวัคซีน 6. ติดตามกลุ่มเป้าหมายในเขตให้มารับวัคซีนตามเกณฑ์ในหมู่บ้านทั้งในและนอกเวลาราชการ เป็นรายบุคคล 7. จัดทำเอกสารรับรอง ประกาศนียบัตรและมอบรางวัลการประกวดหนูน้อยสุขภาพดีมีวัคซีนครบถ้วน แก่กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับวัคซีนตามเกณฑ์ (เมื่อฉีดครบชุด) ขั้นดำเนินการ
กิจกรรมที่ 1 ลงเชิงรุกกับแกนนำวัคซีน กิจกรรมที่ 2 ให้ความรู้ สร้างความเข้าใจ เพื่อเกิดความตระหนักเรื่องความสำคัญของวัคซีนในกลุ่มผู้ปกครอง ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา หญิงตั้งครรภ์ แกนนำสุขภาพ อสม.
กิจกรรมที่ 3 ให้ความรู้ในหมู่บ้านผ่านป้ายประชาสัมพันธ์ กิจกรรมที่ 4 ประชาสัมพันธ์เสียงตามสายในหมู่บ้าน มัสยิด เรื่องการให้บริการวัคซีน
กิจกรรมที่ 5 ให้บริการฉีดวัคซีนแก่เด็ก 0-5 ปี ที่มารับบริการที่หน่วยบริการ รพ.สต. และติดตามให้บริการแบบเชิงรุกในหมู่บ้าน ในกลุ่มที่ไม่สามารถมารับบริการตามปกติ กิจกรรมที่ 6 จัดทำเอกสารรับรอง ประกาศนียบัตรและมอบรางวัลการประกวดหนูน้อยสุขภาพดีมีวัคซีนครบถ้วน แก่กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับวัคซีนตามเกณฑ์ (เมื่อฉีดครบชุด) ขั้นสรุปผลและรายงาน
รวบรวมผลการปฏิบัติงาน ดังนี้
- ประเมินผลจากจำนวนเด็กกลุ่มเป้าหมายมารับวัคซีน
- เจ้าหน้าที่ร่วมกับแกนนำวัคซีนติดตามเด็กที่ฉีดวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์แบบเชิงรุก
- เด็ก 0-5 ปี มาฉีดวัคซีนตามเกณฑ์
- เด็กที่ฉีดวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์ ฉีดวัคซีนครบตามเกณฑ์ ร้อยละ 95

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 ความครอบคลุมของการรับวัคซีนในเด็กเพิ่มขึ้นตามเกณฑ์ร้อยละ 95 2 ไม่เกิดโรคติดต่อป้องกันด้วยวัคซีนในเขตพื้นที่รับผิดชอบ 3 การนำเด็กมารับวัคซีนครบตามเกณฑ์โดยการติดตามของแกนนำวัคซีนทุกเดือน 4 มีแกนนำวัคซีนที่เข้มแข็ง มาตรการทางสังคม เน้นแนวทางปฏิบัติ อันนำไปสู่ความยั่งยืนของระบบสุขภาพในชุมชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 มิ.ย. 2564 09:33 น.