กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการยิ้มสดใสเด็กตะลุโบะฟันดี ประจำปี 2560
รหัสโครงการ 60-L3011-1-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะลุโบะ
วันที่อนุมัติ 18 เมษายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2559 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 36,740.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายหวันมูฮำมัดรุสดี เจะอาแว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตะลุโบะ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.853,101.267place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 221 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันปัญหาทันตสุขภาพเป็นปัญหาที่สำคัญอย่างหนึ่ง ซึ่งได้ทวีความรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากปัจจัยหลายๆ อย่าง ซึ่งเกิดจากการขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องสุขภาพช่องปาก ขาดการดูแลเอาใจใส่ หรือสภาพความเป็นอยู่ของครอบครัวที่ไม่เอื้อต่อการใส่ใจสุขภาพช่องปาก ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพช่องปากโดยเฉพาะในกลุ่มเด็ก มีอัตราฟันผุที่สูงขึ้นเรื่อยๆ จากผลการสำรวจสุขภาพช่องปาก โดยสำนักทันตสาธารณสุข ในปี 2556 พบว่า เด็กอายุ 3 ปี มีฟันผุร้อยละ 56.5 เด็กอายุ 12 ปี มีฟันผุร้อยละ 51.8 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่สูง อาจส่งผลต่อการสูญเสียฟันบางส่วนหรือทั้งปากเพิ่มขึ้น ซึ่งนับว่าเป็นปัญหาทางด้านทันตสาธารณสุขที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วนองค์ประกอบทางด้านปัจจัยสำคัญทางพฤติกรรมและสังคมที่เป็นปัจจัยเสี่ยงสัมพันธ์กับการเกิดโรคฟันผุในกลุ่มเด็กซึ่งเป็นกลุ่มอายุที่เริ่มพบว่าจะมีแนวโน้มของปัญหาทันตสุขภาพอย่างต่อเนื่องในอนาคตอันใกล้ เช่น การเข้าถึงอาหารที่ไม่เกิดผลดีต่อสุขภาพทำให้สัดส่วนเด็กที่บริโภคอาหารอย่างเหมาะสมลดน้อยลงส่งผลปัญหาทางสุขภาพทางกายโดยรวมด้วย ซึ่งนอกจากจะทำให้เกิดปัญหาฟันผุในเด็ก ยังก่อให้เกิดความเจ็บปวด การติดเชื้อ และปัญหาการบดเคี้ยวอาหาร สุดท้ายส่งผลต่อน้ำหนัก การเจริญเติบโต บุคลิกภาพ และการเรียน จากการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากของเด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านจะรังบองอและโรงเรียนชุมชนบ้านตะลุโบะ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6ปี 2559 พบว่าร้อยละ 82.05 ของเด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านจะรังบองอและโรงเรียนชุมชนบ้านตะลุโบะมีฟันผุ โดยค่าเฉลี่ยฟันผุ อุด ถอน อยู่ที่ 1.95 ซี่ต่อคน เมื่อเทียบกับระดับประเทศค่าเฉลี่ยฟันผุ อุด ถอนในปี 2555 เท่ากับ ๑.3 ซี่ต่อคน (สภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศครั้งที่ 7 ประเทศไทย พ.ศ. 2550-2555) จากข้อมูลจะเห็นได้ว่าเด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านจะรังบองอและโรงเรียนชุมชนบ้านตะลุโบะ มีอัตราการผุของฟันในเกณฑ์ที่สูง หากเราวางรากฐานเรื่องสุขภาพช่องปากแก่เด็กวัยเรียนพร้อมกับการสอดแทรกความรู้เรื่องการแปรงฟันที่ถูกวิธีในรูปแบบที่เหมาะสมกับเด็ก เพื่อให้เด็กมีความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปาก อาจส่งผลให้ปัญหาสุขภาพในช่องปากของเด็กดีขึ้น ดังนั้น เพื่อเป็นการส่งเสริมให้นักเรียนตระหนักถึงความสำคัญด้านทันตสุขภาพมากยิ่งขึ้นและเป็นการส่งเสริมป้องกันไม่ให้โรคในช่องปากลุกลามและทวีความรุนแรงมากกว่าเดิม อีกทั้งเป็นการสนับสนุนให้โรงเรียนมีส่วนร่วมในการวางแผนและแก้ปัญหาเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อเด็กนักเรียนมีสุขภาพช่องปากที่ดีต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้นักเรียนในโรงเรียนมีความรู้ด้านทันตสุขภาพเพิ่มมากขึ้น

 

2 2.เพื่อให้นักเรียนแปรงฟันได้ด้วยตนเองอย่างถูกวิธี

 

3 3.เพื่อให้นักเรียนมีค่าแผ่นคราบจุลินทรีย์ (Plaque Index) ลดลง

 

4 4.เพื่อให้ครูเกิดทักษะในการตรวจสุขภาพช่องปากเบื้องต้นและสามารถตรวจสุขภาพช่องปากเด็กในโรงเรียนได้

 

5 5.เพื่อให้แกนนำอาสาสมัครสาธารณสุขได้มีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองและคนในชุมชนได้

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ขั้นเตรียมการ 1.1 ประชุมชี้แจงโครงการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 1.2 กำหนดรูปแบบกิจกรรม
  2. ขั้นดำเนินการ กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้และฝึกทักษะการตรวจสุขภาพช่องปากเบื้องต้นแก่แกนนำอาสาสมัครสาธารณสุขและคุณครูโรงเรียนชุมชนบ้านตะลุโบะและโรงเรียนบ้านจะรังบองอ จำนวน 36 คน

- อบรมให้ความรู้ด้านทันตสุขภาพ และความรู้ในการฝึกตรวจสุขภาพช่องปากเบื้องต้น กิจกรรมที่ 2 Walk rally ความรู้ทันตสุขภาพแก่นักเรียนชั้นประถมตอนปลาย จำนวน 221 คน
- ให้ความรู้เรื่องโรคฟันผุและโรคเหงือกอักเสบ - ฝึกทักษะการแปรงฟัน ย้อมแผ่นคราบจุลินทรีย์ - ให้ความรู้เรื่องอาหารที่มีผลต่ออนามัยช่องปาก - ให้ความรู้เรื่องบทบัญญัติอิสลามที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพช่องปาก 3. สรุปผลการปฏิบัติงาน โดยประเมินจากการปฏิบัติงานหลังเสร็จสิ้นโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนมีความเข้าใจและเห็นความสำคัญของการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองและสามารถดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  2. เกิดความมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาทันตสุขภาพของนักเรียน
  3. โรงเรียนสามารถดำเนินการสานต่อกิจกรรมที่มีในโครงการได้
  4. นักเรียนมีสุขภาพช่องปากที่ดีขึ้น
  5. แกนนำอาสาสมัครสาธารณสุขมีความรู้ในเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากด้วยตนเอง
  6. แกนนำอาสาสมัครสาธารณสุขมีส่วนร่วมในการดำเนินงานทันตสาธารณสุขในชุมชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 ธ.ค. 2559 14:04 น.