กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ดูแลเท้าผู้ป่วยเบาหวานด้วยการแพทย์แผนไทย ปี 2560
รหัสโครงการ 60-L1489-1-16
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.ควนปริง
วันที่อนุมัติ 8 สิงหาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 14,750.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ รพ.สต.ควนปริง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ รพ.สต.ควนปริง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.521,99.596place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ประสาทรับความรู้สึกจะทำงานได้ไม่ดีนักโดยเฉพาะการรับรู้ความรู้สึกเกี่ยวกับความเจ็บปวด การถูกกดทับ หรือความเย็นความร้อน ความเสื่อมนี้จะค่อยเป็นค่อยไปจนผู้ป่วยอาจไม่ได้สังเกต ในผู้ป่วยบางรายอาจรู้สึกมีอาการชา ปวดแสบ ปวดร้อน หรือเจ็บ การที่ประสาทรับความรู้สึกเสื่อมลง อาจทำให้ผู้ป่วยไม่ได้สังเกตว่าเท้ามีแผลซึ่งอาจเกิดจากรองเท้าบ้าง หรืออาจเหยียบของมีคมต่างๆ จนกระทั่งแผลใหญ่ขึ้น หรือมีอาการอักเสบเนื่องจากการติดเชื้อเกิดขึ้น ผู้ป่วยเบาหวานมักมีการติดเชื้อที่ผิวหนังหรือเล็บได้ง่าย เมื่อเกิดแผลช้ำมักจะตามมาด้วยการติดเชื้อเกิดความร้อน บวมแดง มีหนอง ถ้าไม่ทำการรักษา การติดเชื้อจะลุกลามมากขึ้น หรือเกิดเนื้อตาย ซึ่งสุดท้ายอาจต้องถูกตัดเท้า หรือขา พบได้สูงถึง 15-40 เท่าของผู้ป่วยที่ไม่เป็นเบาหวาน การรักษาแผลที่เท้าด้วยการตัดเท้านั้นไม่ใช่สิ่งที่ปลอดภัย เพราะผู้ป่วยร้อยละ 3-7 เสียชีวิตจากการผ่าตัด ส่วนผู้ที่ไม่เสียชีวิตจะเกิดปัญหาต่างๆ จากการผ่าตัดร้อยละ 36 ดังนั้น การป้องกันไม่ให้เกิดแผลจึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด การป้องกันทำได้โดยการดูแลสุขภาพเท้าด้วยตนเองสม่ำเสมอทุกวัน การลดหรือขจัดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่ทำให้เกิดแผลให้หมดไปหรือเหลือน้อยที่สุด
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนปริงเห็นความสำคัญในการดูแลสุขภาพเท้าผู้ป่วยเบาหวานด้วยวิธีการใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้านและการแพทย์แผนไทยซึ่งจะเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยลดการเกิดแผล และผสมผสานเพื่อส่งเสริมภูมิปัญญาพื้นบ้านที่ใช้สมุนไพรในการดูแลเท้าและยังให้ประชาชนรู้จักการใช้สมุนไพรพื้นบ้านมารักษา ป้องกันไม่ให้เกิดโรคในระยะเบื้องต้นได้อย่างถูกต้องและประชาชนจำนวนมากจะได้ประโยชน์จากโครงการนี้จึงกำหนดให้กิจกรรมเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในวโรกาสสำคัญของชาติครั้งนี้ด้วย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ให้ให้เกษตรกรและประชาชนผู้บริโภคในตำบลควนปริง ได้รับการเจาะเลือดตรวจคัดกรอง ค้นหาระดับสารเคมีฆ่าแมลงตกค้างในร่างกายโดยวิธีReactive Paper test

เกษตรกรและประชาชนผู้บริโภคในตำยลควนปริงได้รับการเจาะเลือดตรวจคัดกรอง ค้นหาระดับสารเคมีฆ่าแมลงตกค้างในร่างกายโดยวิธีReactive Paper testจำนวน 89 ราย

2 เพื่อให้ประชาชนทุกคนที่ตรวจพบภาวะเสี่ยง ในระดับ มีความเสี่ยงและ ระดับไม่ปลอดภัย ได้รับการส่งเสริมสุขภาพด้วยสมุนไพรไทย

ประชาชนทุกคนที่ตรวจพบภาวะเสี่ยง ในระดับ มีความเสี่ยงและ ระดับไม่ปลอดภัย ได้รับการส่งเสริมสุขภาพด้วยสมุนไพรไทย ร้อยละ 100

3 ส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้เรื่องสมุนไพรรางจืดมากขึ้นและสามารถใช้บริโภค ลดความเสี่ยงโรคที่เกิดจากพิษสารเคมีกำจัดศัตรูพืชได้อย่างถูกต้อง

กลุ่มเป้าหมาย มีความรู้เรื่องสมุนไพรรางจืด และสามารถใช้บริโภค ลดความเสี่ยงโรคที่เกิดจากพิษสารเคมีกำจัดศัตรูพืชได้อย่างถูกต้อง ร้อยละ80

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นเตรียมการ 1.จัดเตรียมข้อมูล 2.ประสานงานผู้เกี่ยวข้องเตรียมความพร้อมด้านทรัพยากรและบุคลากรและงบประมาณเพื่อ - ชี้แจงรายละเอียดโครงการแก่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและอสม. - ประชาสัมพันธ์โครงการแก่ประชาชน และกลุ่มเป้าหมาย เพื่อเข้าใจและเห็นความสำคัญในการเข้าร่วมโครงการ - กำหนดแผนดำเนินงานร่วมกับงาน NCD และจัดเตรียมอุปกรณ์ในการจัดกิจกรรม ขั้นดำเนินการ 1.จัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์และสื่อสารประชาชนสร้างการรับรู้ผ่านสื่อ 2.จัดกิจกรรมตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวาน - สัมภาษณ์คัดกรองความเสี่ยงเบื้องต้น - ตรวจเท้าคัดกรองความเสี่ยงอาการชาเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน 3.จัดกิจกรรมให้ความรู้และโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแก่กลุ่มเป้าหมายทุกคน 4.ส่งเสริมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงทุกรายด้วยสมุนไพร เช่น การแช่เท้าด้วยสมุนไพร การแนะนำการใช้สมุนไพรสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน 5.จัดกิจกรรมเผยแพร่ความรู้การดูแลเท้าด้วยการแพทย์แผนไทยแก่กลุ่มเป้าหมาย ขั้นประเมินผลและสรุปรายงาน 1.เจ้าหน้าที่ประชุมสรุปผลโครงการ 2.รายงานผล

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ป่วยเบาหวานมีความรู้ในการดูแลฝ่าเท้าที่ถูกต้อง
  2. สามารถลดอาการชาฝ่าเท้าและลดภาวะเสี่ยงต่อการเป็นแผลที่เท้าของผู้ป่วยเบาหวานได้
  3. สามารถลดความรุนแรงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะนำไปสู่การตัดนิ้วเท้าหรือขาในผู้ป่วยเบาหวานได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 ส.ค. 2560 16:29 น.