กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการควบคุมฉับไวป้องกันไข้เลือดออก
รหัสโครงการ 60-L1489-1-17
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.ควนปริง
วันที่อนุมัติ 8 สิงหาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 50,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ รพ.สต.ควนปริง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลควนปริง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.521,99.596place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศมานาน โดยมียุงลายเป็นแมลงนำโรคและนับว่ามีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆในแต่ละปี ซึ่งจังหวัดตรังก็มีการระบาดที่ค่อนข้างสูง อำเภอเมืองตรังเองก็มีการระบาดมากเป็นอันดับต้นๆของจังหวัดตรัง ตำบลควนปริงก็มีการเกิดโรคไข้เลือดออกมาอย่างต่อเนื่อง ตำบลควนปริงมีพื้นที่รับผิดชอบจำนวน 9 หมู่บ้าน จากรายงานการเฝ้าระวังโรคทางระบาดวิทยา ปี 2559 จังหวัดตรัง ตำบลควนปริงมีผู้ป่วยไข้เลือดออก ไข้แดงกี่ และผู้ป่วยสงสัยไข้เลือดออก ที่ได้รับรายงานจากโรงพยาบาลตรังจำนวน 25 รายคิดเป็นอัตราป่วย421.65 ต่อแสนประชาการสำหรับรายงานจำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกตั้งแต่ มกราคม –พฤษภาคม 2560จำนวน 3 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 50.59ต่อแสนประชากรดังนั้นเพื่อเป็นการเตรียมรับสถานการณ์การระบาดและให้มีการดำเนินงานควยคุมโรคอย่างมีประสิทธิภาพตลอดจนกระตุ้นเตือนให้ประชาชนในชุมชนเกิดความตระหนักในการแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกร่วมกัน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนปริง จึงได้จัดทำโครงการควบคุมฉับไวป้องกันโรคไข้เลือดออก ปี 2560 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออก ในเชิงรุก

-มีการจัดกิจกรรมรณรงค์ป้องกันโรค 3 ครั้ง -มีการตวบตุมโรคภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากได้รับแจ้งข้อมูลผู้ป่วย

2 เพื่อให้ประชาชนองค์กรชุมชน องค์กรส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก

ภาคีได้รับรู้ข้อมูลที่ทันสมัย และมีส่วนร่วมในการควบคุมป้องกันโรค

3 เพื่อลดอัตราการเกิดโรคไข้เลือดออกในพื้นที่

อัตราป่วยลดลงน้อยกว่าค่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ปี

4 เพื่อให้มีวัสดุ – อุปกรณ์ในการป้องกันและควบคุมโรคและสามารถรองรับสถานการณ์ได้ทันท่วงที

มีวัสดุอุปกรณ์พร้อม ในการควบคุมโรค

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
รวม 0 0.00 0 0.00

ขั้นเตรียมการ • จัดทำโครงการเพี่อขออนุมัติงบประมาณ • ประชุมเจ้าหน้าที่สาธารณสุข อบต. อสม. ผู้นำชุมชน เพื่อแจ้งสถานการณ์โรคและชี้แจง รายละเอียดโครงการฯ • จัดหาสารเคมีกำจัดลูกน้ำยุงลาย • จัดเตรียมสื่อความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก • จัดหาโลชั่นทากันยุงสำหรับละแวกบ้านที่มีผู้ป่วย ขั้นดำเนินการ

• ประชุมอาสาสมัครสาธารณสุข หรือตัวแทน ที่ทำหน้าที่เป็นแกนนำควบคุมโรคไข้เลือดออก • ให้ความรู้ประชาสัมพันธ์โดยใช้รถประชาสัมพันธ์ สื่อ แผ่นพับ โปสเตอร์ และ เสียงตามสาย • ดำเนินการรณรงค์สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายทุกหลังคาเรือนโดยประชาชน
อสม. ผู้นำชุมชนและเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ในพื้นที่ • แจกเอกสารแผ่นพับความรู้เรื่องไข้เลือดออกแก่ประชาชน • จ่ายสารเคมีกำจัดลูกน้ำยุงลายทุกหลังคาเรือน พ่นหมอกควันในโรงเรียนทุกโรง วัด มัสยิดทุกแห่ง • แจกโลชั่นทากันยุงสำหรับละแวกบ้านที่มีผู้ป่วย • อสม.ผู้นำชุมชน และประชาชนทั่วไป เดินรณรงค์ป้องกันควบคุมโรคไข้ไข้เลือดออก • อสม. สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย • ค้นหาผู้ป่วยที่มีไข้สูง ในพื้นที่ • จ่ายสเปรย์พ่นกำจัดยุงตัวแก่บริเวณบ้านผู้ป่วย ภายใน24 ชั่วโมงหลังจากได้รับรายงานก่อนที่จะได้รับการพ่นหมอกควันตามละแวกบ้านจากอบต. การประเมินผล • สรุปผลการดำเนินงาน • ประเมินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนมีความรู้ในเรื่องโรคไข้เลือดออกและการป้องกันตนเอง
  2. สามารถควบคุมโรคไข้ไข้เลือดออกให้ลดลง
  3. สามารถทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในครัวเรือนของตนเองได้
  4. การดำเนินการสำรวจลูกน้ำยุงลายของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านสามารถทำได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  5. ลดจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคไข้ไข้เลือดออกรายใหม่
  6. องค์กรส่วนท้องถิ่นและองค์กรชุมชนมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกและตระหนักในหน้าที่ของชุมชนในการพึ่งตนเอง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 ส.ค. 2560 16:52 น.