โครงการจัดตั้งระบบกักตัวบุคคลที่มีความเสี่ยงของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) LQ ในพื้นที่ตำบลกะมิยอ ประจำปี 2564
ชื่อโครงการ | โครงการจัดตั้งระบบกักตัวบุคคลที่มีความเสี่ยงของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) LQ ในพื้นที่ตำบลกะมิยอ ประจำปี 2564 |
รหัสโครงการ | 64-L3009-05-16 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | กองสาธารณสุขฯ องค์การบริหารส่วนตำบลกะมิยอ |
วันที่อนุมัติ | 1 กรกฎาคม 2564 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 กรกฎาคม 2564 - 30 กันยายน 2564 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2564 |
งบประมาณ | 100,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวซารีนี กูวิง |
พี่เลี้ยงโครงการ | นายอับดุลกอเดร์ การีนา |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลกะมิยอ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.849654,101.313236place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
จากสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด 2019 ในพื้นที่จังหวัดปัตตานี ในช่วงเดือนเมษายน – ปัจจุบัน มียอดผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ลักษณะเป็นกลุ่ม ( Cluster) ในหลายๆ กลุ่ม เช่น กลุ่มละหาร อำเภอสายบุรี,กลุ่มซอยอาบู อำเภอเมืองปัตตานี, กลุ่มมัสยิดนูรูลอิสลาม จังหวัดยะลา,กลุ่มร้านอาหารในจังหวัดยะลา,กลุ่มโรงงานในเขตอำเภอเมืองปัตตานีและกลุ่มอื่นๆ ได้ส่งผลให้เกิดการแพร่ระบาดกระจายไปในหลายพื้นที่ของจังหวัดปัตตานี ส่งผลให้จังหวัดปัตตานีจะต้องเพิ่มโรงพยาบาลอีกหลายแห่ง จากการที่มีผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้มีผู้สัมผัสหรือกลุ่มเสี่ยงขยายเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ จังหวัดปัตตานีได้มีการมอบหมายให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดปัตตานีพิจารณาจัดเตรียมสถานที่สำหรับเป็นสถานที่ควบคุมเพื่อสังเกตอาการ (lq) ในเขตพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งในเขตอำเภอเมืองปัตตานี ได้มีการพิจารณาจัดตั้งสถานที่ควบคุมเพื่อสังเกตอาการ (lq) แยกเป็นราย กลุ่ม ( Cluster) เพื่อเป็นการป้องกันการป้องกันการแพร่ระบาดของแต่ละกลุ่ม ซึ่งมีความรุนแรงของเชื้อที่แตกต่างกัน
ในส่วนขององค์การบริหารส่วนตำบลกะมิยอ ยังไม่ได้มีการจัดตั้งสถานที่ควบคุมเพื่อสังเกตอาการ (lq) ในเขตพื้นที่ตำบลกะมิยอ เมื่อมีบุคคลกลุ่มเสี่ยงเกิดขึ้นในเขตพื้นที่ตำบลกะมิยอ ทาง รพสต.กะมิยอ ร่วมกับกองสาธารสุข อบต.กะมิยอ ดำเนินการนำกลุ่มเสี่ยงดังกล่าว เข้าสู่ระบบกักตัว ณ สถานที่ควบคุมเพื่อสังเกตอาการ (lq) ของอำเภอเมืองปัตตานีตามที่ได้มีการกำหนดตามกลุ่ม (Cluster)
แต่เนื่องจากสถานการณ์การเพิ่มขึ้นของผู้ติดเชื้อ และผู้ที่มีความเสี่ยง เพิ่มมากขึ้น อาจส่งผลให้จำนวนสถานที่ควบคุมเพื่อสังเกตอาการ (lq) ที่มีอยู่ไม่เพียงพอกับจำนวนกลุ่มเสี่ยง ประกอบกับทางอำเภอเมือง กำหนดให้ทางองค์การบริหารส่วนตำบล จัดหาสถานที่เพื่อจัดตั้งเป็นสถานที่ควบคุมเพื่อสังเกตอาการ (lq) เพื่อรองรับกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลแต่ละแห่ง กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลกะมิยอ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ได้พิจารณาและเห็นว่าควรจัดตั้งหางบประมาณ เพื่อจัดตั้งสถานที่ควบคุมเพื่อสังเกตอาการ (lq) และงบประมาณในการบริหารจัดการภายใน (lq) ที่จะเกิดขึ้นในความรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลกะมิยอ จึงได้มีการจัดทำโครงการจัดตั้งระบบกักตัวบุคคลที่มีความเสี่ยงของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) LQ ในพื้นที่ตำบลกะมิยอ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เพื่อขอรับงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลกะมิยอ ต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อจัดบริการกักตัวบุคคลที่มีความเสี่ยงใน LQ บริการกักตัวบุคคลที่มีความเสี่ยงใน LQ |
0.00 | |
2 | เพื่อคัดกรองและสอบสวนโรคบุคคลที่มีความเสี่ยง คัดกรองและสอบสวนโรคบุคคลที่มีความเสี่ยง |
0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 100 | 100,000.00 | 0 | 0.00 | |
1 ก.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 | กิจกรรมจัดตั้งสถานกักตัวแบบพื้นที่ หรือ Local Quarantine : LQ เพื่อใช้ในการกักตัวบุคคลที่มีความเสี่ยง โดยใช้โรงเรียนชุมชนบ้านกะมิยอ | 50 | 28,000.00 | - | ||
1 ก.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 | ค่าจัดบริการ(ค่าอาหาร)สำหรับผู้กักตัว และค่าอาหารสำหรับเจ้าหน้าผู้ปฏิบัติงาน | 50 | 72,000.00 | - |
- เสนอโครงการเพื่อพิจารณาอนุมัติและให้การสนับสนุน
- ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินโครงการ
- จัดตั้งสถานกักตัวแบบพื้นที่ หรือ Local Quarantine : LQ เพื่อใช้ในการกักตัวบุคคลที่มีความเสี่ยง โดยใช้โรงเรียนชุมชนบ้านกะมิยอ
- แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ปฎิบัติงาน ณ ศูนย์กักตัว
- จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการกักตัวของบุคคลเสี่ยง
- เกิดระบบการกักตัวผู้ที่มีความเสี่ยงต่อเชื้อโควิด-19
- ผู้ที่มีความเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19 ได้รับการกักตัว 100%
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 ก.ค. 2564 11:30 น.