กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ ลด ละ เลิก ใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหาร เพื่อสุขภาพที่ดี
รหัสโครงการ 60-L7452-1-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ฝ่ายส่งเสริมส่ิงแวดล้อม สำนักการสาธารณสุขและส่ิงแวดล้อม เทศบาลนครยะลา
วันที่อนุมัติ 28 ธันวาคม 2559
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 216,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ฝ่ายส่งเสริมส่ิงแวดล้อม สำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
พี่เลี้ยงโครงการ นายประจักษ์ ภิรมย์รัตน์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลยะลา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.523,101.181place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสภาพสังคมเศรษฐกิจปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลง ทำให้ประชาชนต้องการความสะดวกรวดเร็ว และมีการประกอบอาหารด้วยตนเองน้อยลง ผู้บริโภคส่วนใหญ่หันไปพึ่งร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหาร ถึงแม้เทศบาลนครยะลาจะมีการส่งเสริม และสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหาร ให้ได้มาตรฐานด้านสุขาภิบาล และมีโครงการอาหารสะอาด รสชาติอร่อย (Clean Food Good Taste) แล้วก็ตามแต่ยังมีพิษภัยจากสารเคมีที่ปนเปื้อนมากับอาหารหรือแฝงมากับภาชนะบรรจุอาหาร “โฟม” ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากสะดวก ราคาถูก และหาซื้อได้ง่าย จากงานวิจัยทั้งในและต่างประเทศพบว่า เมื่อนำกล่องโฟม (Potystyrene) ไปบรรจุอาหารที่มีความร้อนสูง หรือที่มีไขมัน หรือน้ำมัน จะมีสารพิษออกมาปนเปื้อนในอาหาร ซึ่งเป็นสารก่อให้เกิดโรคมะเร็ง (Corcinogen) ได้แก่สารสไตรีน (Styrene) ออกฤทธิ์ทำให้สมองมึนงง ในผู้ชายเสี่ยงเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากและมะเร็งตับ ในผู้หญิงเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมและมะเร็งตับ ส่วนสารเบนซิน (Benzene) ออกฤทธิ์ทำลายไขกระดูก ทำให้โลหิตจาง และสารทาเลท (phthalate) เป็นสารทำลายระบบสืบพันธุ์ ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของผู้บริโภค และจากการสำรวจปริมาณขยะตั้งแต่ปี 2552-2556 ของกรมควบคุมมลพิษ พบว่า ขยะประเภทโฟมมีปริมาณเพิ่มขี้นอย่างต่อเนื่อง จาก 34 ล้านใบ/วัน เป็น 61 ล้านใบ/วัน หรือเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 1 ใบ/คน/วัน โดยเฉพาะในเขตเมืองที่มีประชากรหนาแน่น จะพบว่ามีขยะประเภทโฟมมากกว่าปกติ ซึ่งโฟมเป็นขยะที่มีความคงทน และใช้เวลาในการย่อยสลายประมาณ 450 ปี ซึ่งสร้างปัญหาในการกำจัด เนื่องจากต้องใช้พลังงานต้นทุนการกำจัดสูง เปลืองพื้นที่ฝังกลบ และขบวนการกำจัดโฟม อาจทำให้เกิดมลพิษสิ่งแวดล้อม ที่ส่งผลกระทบต่อประชาชน และภาวะโลกร้อนได้อีกทางหนึ่ง จากข้อมูล ร้าน/แผงจำหน่ายอาหารภายในเขตเทศบาลนครยะลารวมทั้งหมด 1,249 ร้าน แยกเป็นร้านจำหน่ายอาหาร 735 ร้าน เข้าร่วมเป็นร้านอาหารปลอดโฟม จำนวน18 แห่ง (คิดเป็น 2.44%) แผงลอยจำหน่ายอาหาร 514 แห่ง (เข้าร่วมเป็นแผงจำหน่ายอาหารปลอดโฟม 326 แห่ง คิดเป็น 63.42%))ไม่นับรวมร้านที่ไม่ขออนุญาต เมื่อดูจากตัวเลขการเข้าร่วมเป็นร้าน/แผงจำหน่ายอาหารปลอดโฟม นับว่ายังไม่อยู่ในระดับที่สามารถแก้ไขปัญหาการลดใช้ภาชนะโฟมในการบรรจุอาหารได้ และจะส่งผลกระทบต่อการกำจัดต่อไปอีกทางหนึ่งด้วย ดังนั้น เทศบาลนครยะลา จึงมีความจำเป็นที่จะจัดการอันตรายจากโฟมที่ใช้บรรจุอาหาร เป็นหน่วยงานนำร่อง ในการเลิกใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหาร และรณรงค์ ลด ละ เลิก การใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหาร ในเขตพื้นที่ของเทศบาลนครยะลา ให้ได้ในระดับที่น่าพอใจ และเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายด้านอาหารปลอดภัยของรัฐ และเป็นประโยชน์แก่ประชาชน ในการลดความเสี่ยงจากการบริโภคอาหารที่ไม่ปลอดภัย จึงได้จัดทำโครงการฯ นี้ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อรณรงค์ให้ผู้ประกอบอาหารและผู้บริโภค ตระหนักถึงอันตรายจากการใช้โฟม บรรจุอาหาร
  1. ผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 400 คน 2 ร้อยละ 80 ของผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้เรื่องอันตรายจากการใช้โฟมบรรจุอาหาร
2 1.เพื่อให้ผู้ประกอบการค้าอาหารและผู้บริโภค ลด ละ เลิก การใช้โฟมบรรจุอาหาร

ร้อยละ 40 ของผู้จำหน่ายอาหารและผู้บริโภคลดการใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหาร

3 1. เพื่อให้ผู้ประกอบการค้าอาหาร เลือกใช้ภาชนะบรรจุอาหารที่มีความปลอดภัยต่อสุขภาพทดแทนโฟม
  1. มีชุมชนปลอดโฟม จำนวน 1 ชุมชน
  2. ร้อยละของผู้เข้ารับการอบรมมีความพึงพอใจไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นตอนที่ 1 สำรวจข้อมูลที่เกี่ยวข้อง จัดเตรียมเอกสารสถานการณ์การใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหารภายในหน่วยงาน ร้าน/แผงลอยจำหน่ายอาหาร โรงเรียน ชุมชน ในเขตเทศบาลนครยะลา เพื่อจัดทำโครงการ ขั้นตอนที่ 2 ติดต่อประสานงานผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่ส่วนราชการ ชุมชน โรงเรียน ร้าน/แผงลอยจำหน่ายอาหาร ตัวแทนผู้บริโภค จัดประชุมชี้แจงมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบแก่เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง และคณะตรวจประเมินกิจกรรม จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ และเผยแพร่ข่าวสาร ให้แก่กลุ่มเป้าหมาย และประชาชนทั่วไปได้ทราบ ขั้นตอนที่ 3 ดำเนินงานตามกิจกรรม โครงการที่กำหนด จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการจัดโครงการ/กิจกรรม กิจกรรมที่ 1 1.1 จัดประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบและผู้เกี่ยวข้องจำนวน 40 คน 1.2 จัดอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย (ผู้ประกอบการค้าอาหาร ร้าน และแผงลอยจำหน่ายอาหาร และตัวแทนผู้บริโภค) เพื่อให้ตะหนักถึงอันตรายจากการใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหาร และการเลือกใช้ภาชนะทดแทนโฟมที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ จำนวน 400 คน (โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม) กลุ่มที่ 1 : ครู นักเรียน นักศึกษา (ในและนอกสังกัดเทศบาล) และตัวแทนผู้บริโภค จำนวน 200 คน กลุ่มที่ 2 : ผู้ประกอบการค้าอาหาร (ร้านและแผงลอยจำหน่ายอาหาร) และตัวแทนผู้บริโภค จำนวน 200 คน 1.3 รณรงค์ประชาสัมพันธ์โครงการ ลด ละ เลิก ใช้โฟมบรรจุอาหาร ภายใต้สโลแกน คนยะลารักสุขภาพ 200 คน กิจกรรมที่ 2 2.1 จัดประกวดชุมชมต้นแบบปลอดโฟม “Say No To Foam” จำนวน 40 ชุมชน
กิจกรรมที่ 3 3.1 จัดประชุม นำเสนอผลงานและคืนข้อมูลเพื่อสรุปผลการดำเนินงานโครงการลด ละ เลิก ใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหาร เพื่อสุขภาพที่ดี แก่โรงเรียน ชุมชน ร้าน/แผงลอยจำหน่ายอาหาร กลุ่มผู้บริโภค จำนวน 200 คน (มอบสติกเกอร์ “ร้านนี้ปลอดภัย” ไม่ใช้โฟมบรรจุอาหาร แก่ร้าน/แผงลอยจำหน่ายอาหาร ที่เลิกใช้โฟมบรรจุอาหาร และมอบเกียรติบัตรแก่โรงเรียน ชุมชน ร้าน/แผงลอยจำหน่ายอาหารที่ปลอดโฟมบรรจุอาหาร) กิจกรรมที่ 4 ติดตามประเมินผล (อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง) ขั้นตอนที่ 4 จัดเตรียมกำหนดสถานที่ดำเนินการตามโครงการ/กิจกรรม ขั้นตอนที่ 5 รายงานผลการปฏิบัติ ประเมินและสรุปผลการดำเนินงานให้คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา ทราบ ขั้นตอนที่ 6 ติดตามผลการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรม ตามขั้นตอนและรูปแบบที่กำหนด

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้เข้าอบรมมีความรู้ด้านสุขภาพที่ดีเพิ่มขึ้น
    1. ผู้เข้าอบรมมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางเลือกเพื่อสุขภาพกับการ ลด ละ เลิก ใช้โฟมบรรจุอาหาร
    2. สามารถลดปริมาณขยะจากโฟมได้ในระดับหนึ่ง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 ธ.ค. 2559 12:14 น.