กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการควบคุมป้องกันการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19) ปี 2565
รหัสโครงการ 65-L6895-05-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์บริการสาธารณสุข เทศบาลเมืองกันตัง
วันที่อนุมัติ 18 มกราคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2564 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 133,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ศูนย์บริการสาธารณสุข เทศบาลเมืองกันตัง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.41,99.519place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2563 และต่อมาได้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวออกไป เป็นระยะอย่างต่อเนื่องจนถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2565 และนายกรัฐมนตรีได้ลงนามในข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ประกาศลงวันที่ 24 มกราคม 2565 มีผลตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565 เป็นต้นไป และศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด- 19) ที่ 3/2565 เรื่อง พื้นที่สถานการณ์ที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด ซึ่งจังหวัดตรัง กำหนดระดับของพื้นที่เป็นพื้นที่ควบคุมนั้น เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19 ) โดยเฉพาะเชื้อไวรัสกลายพันธุ์สายพันธุ์โอมิครอน (Omicron ) สามารถแพร่ได้เร็วและมีโอกาสทำให้ติดเชื้อได้ง่ายกว่าสายพันธุ์อื่น ๆ และประเทศไทย ได้ตรวจพบผู้ติดเชื้อสายพันธุ์ดังกล่าวกระจายไปตามพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ ในส่วนพื้นที่จังหวัดตรัง ยังคงพบผู้ติดเชื้ออย่างต่อเนื่องในหลายพื้นที่ เพื่อให้สอดคล้องกับข้อกำหนดออกตามความมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ. ศ. 2548 (ฉบับที่ 42) จึงมีความจำเป็นต้องกำหนดมาตรการที่เข้มงวดและเร่งด่วน เพื่อการบังคับใช้มาตรการควบคุมแบบบูรณาการ และเป็นการป้องกันและยับยั้งการระบาดของโรค มิให้มีการแพร่ระบาดออกไปในวงกว้างและกระทบความเป็นอยู่ของประชาชน เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548
        ปัจจุบันผู้ป่วยติดเชื้อยืนยันโควิด-19 ได้แพร่กระจายไปยังพื้นที่ต่างๆ เพิ่มมากขึ้น  จึงมีความจำเป็นต้องมีการตรวจคัดกรองเชิงรุกในกลุ่มเสี่ยง ที่มีโอกาสติดเชื้อและก่อให้เกิดการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ COVID – 19 เพื่อควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดอย่างเร่งด่วน อาศัยตามอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 มาตราที่ 50 ข้อที่ 4 (ป้องกันและระงับโรคติดต่อ) และหนังสือกระทรวงมหาดไทย ด่วนที่สุด มท.0808.2/ว.4116 ลงวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ.2564
ข้อที่ 2 ตามที่ได้ระบุว่า เพื่อเป็นการป้องกันและยับยั้งก่อนเกิดสาธารณภัย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อาจจัดหาวัสดุทางการแพทย์ และเวชภัณฑ์ที่ไม่ใช่ยา สำหรับการตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่เสี่ยง กลุ่มที่เสี่ยง และกิจกรรมที่เสี่ยง
เทศบาลเมืองกันตัง จึงได้จัดโครงการควบคุมป้องกันการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19) ปี 2565 เพื่อลดผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ ครอบครัว ชุมชน เป็นการตอบโต้ต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สร้างความเชื่อมั่นและความปลอดภัยแก่ประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพและทั่วถึง ในเขตเทศบาลเมืองกันตังได้ระดับหนึ่ง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างความตระหนักให้กับประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูง และครอบครัวในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ทัศนคติให้สามารถลดความเสี่ยงการแพร่ระบาดติดเชื้อโรคโควิด-19

 

0.00
2 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูงและต่ำ ได้รับการเฝ้าระวังคัดกรองเบื้องต้นด้วย ATK และมีระบบติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด ป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19

ร้อยละ 100 ของประชาชาชนกลุ่มสัมผัสเสี่ยงสูงได้รับการเฝ้าระวังคัดกรองเบื้องต้นด้วย ATK และกลุ่มสัมผัสเสี่ยงต่ำได้รับการเฝ้าระวังติดตามควบคุมโรคในชุมชน

0.00
3 เพื่อสร้างกลไกการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลกันและกัน ในการป้องกันการระบาดของโรคโควิด19

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณต.ค. 64พ.ย. 64ธ.ค. 64ม.ค. 65ก.พ. 65มี.ค. 65เม.ย. 65พ.ค. 65มิ.ย. 65ก.ค. 65ส.ค. 65ก.ย. 65
1 กิจกรรม อบรมชี้แจงกระบวนการและมาตรการป้องกันโรคโควิด19(8 มี.ค. 2565-8 มี.ค. 2565) 0.00                        
2 กิจกรรมค้นหา/เฝ้าระวังและป้องกันการแพร่ระบาดโรคโควิด19 คัดกรองด้วยATK(9 มี.ค. 2565-31 ก.ค. 2565) 0.00                        
รวม 0.00
1 กิจกรรม อบรมชี้แจงกระบวนการและมาตรการป้องกันโรคโควิด19 กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0
2 กิจกรรมค้นหา/เฝ้าระวังและป้องกันการแพร่ระบาดโรคโควิด19 คัดกรองด้วยATK กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 100 133,000.00 2 130,495.00
8 มี.ค. 65 กิจกรรมอบรมชี้แจงกระบวนการและมาตรการป้องกันโรคโควิด-19 100 21,400.00 22,735.00
9 มี.ค. 65 - 31 ส.ค. 65 กิจกรรมค้นหา/เฝ้าระวังและป้องกันการแพร่ระบาดโรคโควิด19 คัดกรองด้วยATK 0 111,600.00 107,760.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูง ได้รับการเฝ้าระวัง คัดกรองเบื้องต้นด้วย ATK ติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด ได้รับความรู้ด้านระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 เพื่อไม่ให้เป็นพาหะนําโรคระบาด ในชุมชน
  2. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูง และครอบครัวรวมถึงบุคคลในท้องถิ่นพื้นที่มีพฤติกรรมตามหลัก New Normal และ DMHTT สามารถลดความเสี่ยงการแพร่ระบาดติดเชื้อโรคโควิด-19
  3. มีกลไกการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลกันและกันในการป้องกันการระบาดของโรคโควิด19
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 ม.ค. 2565 10:47 น.