กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเสริมพลัง ปรับเปลี่ยนผู้ป่วยโรคเบาหวาน ป้องกันโรคแทรกซ้อน ปี 2565
รหัสโครงการ 65-L6895-01-21
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลเมืองกันตัง
วันที่อนุมัติ 18 มกราคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 4 มกราคม 2565 - 31 สิงหาคม 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 21,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลเมืองกันตัง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.41,99.519place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสภาพสังคมปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ และเทคโนโลยี ทำให้วิถีชีวิตความเป็นอยู่เปลี่ยนตามสภาพจากเดิม ทำให้พฤติกรรมของแต่ละคนเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ไม่ถูกต้อง เช่น พฤติกรรมการบริโภคอาหาร พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง อันนำไปสู่ระบบการทำงานต่างๆ ของร่างกายเริ่มจะเสื่อมโทรมลง และมีโอกาสที่จะเจ็บป่วยได้ง่ายมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคเรื้อรัง Metabolic ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคไขมันในเลือดผิดปกติ โรคหลอดเลือดหัวใจ
รายงานข้อมูลสุขภาพเขต 12 สงขลา ปี 2564 พบว่า  ในเขตเทศบาลเมืองกันตัง มีผู้ป่วย โรคเบาหวานทั้งหมด จำนวน 664 คน เป็นผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ จำนวน 76 คน ผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการตรวจ HbA1C ประเมินการควบคุมระดับน้ำตาล จำนวน 484 คน พบว่าผู้ป่วยเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี จำนวน 174 คน คิดเป็นร้อยละ 26.20 ส่วนผู้ป่วยโรคเบาหวานมารับการรักษาที่คลินิกโรคเรื้อรังที่ศูนย์บริการสาธารณสุข จำนวน 112 คน พบว่า  ควบคุมระดับน้ำตาลสะสม ( HbA1C ) ไม่ได้ คือ มีค่า HbA1C มากกว่า 7% จำนวน 74 คน คิดเป็นร้อยละ 66.07 และควบคุมระดับน้ำตาลสะสม ( HbA1C ) ได้ คือมีค่า HbA1C น้อยกว่ากว่า 7% จำนวน 38 คน คิดเป็นร้อยละ 333.93 ศูนย์บริการสาธารณสุข เทศบาลเมืองกันตัง เห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำ โครงการเสริมพลังปรับเปลี่ยนผู้ป่วยเบาหวาน  ป้องกันโรคแทรกซ้อน ปี 2565 ขึ้นเพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานเกิดความตระหนัก และเพิ่มศักยภาพในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง เหมาะสม ส่งเสริมสุขภาพให้แข็งแรง ป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานที่จะเกิดขึ้นต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานได้รับความรู้เกิดความตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลตนเอง ป้องกันโรคแทรกซ้อนและตระหนักต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในทางที่ถูกต้องเหมาะสม
  • ร้อยละ 50 ของผู้ป่วยเบาหวานที่เข้าร่วมกิจกรรมมีระดับ HbA1C อยู่ในเกณฑ์ที่ควบคุมได้  (ครั้งสุดท้ายน้อยกว่า 7 %)
  • ร้อยละ 50 ของผู้ป่วยเบาหวานที่เข้าร่วมกิจกรรมมีระดับน้ำตาลอยู่ในเกณฑ์ที่ควบคุมได้ (FBS>70< 130 mg/dl 3 ครั้งติดต่อกัน)
0.00
2 เพื่อลดอัตราการป่วยด้วยโรคแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน ทางตา ไต เท้า อันจะทำให้เกิดความพิการและเสียชีวิต

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 60 21,600.00 1 21,600.00
28 ก.พ. 65 อบรมเชิงปฏิบัติการ 60 21,600.00 21,600.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ป่วยโรคเบาหวาน มีความรู้ ความเข้าใจ และเกิดความตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลสุขภาพ สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตนเอง เพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อน
  2. ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่เข้าร่วมกิจกรรม สามารถควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ที่ควบคุมได้  สามารถป้องกันและหรือลดการเกิดภาวะโรคแทรกซ้อนของผู้ป่วยเบาหวาน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 ม.ค. 2565 13:03 น.