กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนหน้าค่าย ร่วมใจ ป้องกันภัยโรคไข้เลือดออก ปี 2565
รหัสโครงการ 65-L6895-02-30
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มแกนนำสุขภาพชุมชนหน้าค่าย
วันที่อนุมัติ 18 มกราคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 4 มกราคม 2565 - 31 สิงหาคม 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 14,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ กลุ่มแกนนำสุขภาพชุมชนหน้าค่าย
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.41,99.519place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุขและเป็นปัญหาซึ่งปัจจุบันมีแนวโน้มของการเกิดโรคสูงขึ้น ในอดีตที่ผ่านมา กลุ่มผู้ป่วยส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 70-75 เป็นผู้ป่วยในกลุ่มอายุ 5-14 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มเด็กวัยเรียนและการเกิดโรคมักจะระบาดในช่วงฤดูฝน มาตรการการควบคุมโรคที่ได้ผลในขณะนี้ยังคงเป็นมาตรการการควบคุมยุงพาหะนำโรค ซึ่งเป็นการยากที่จะอาศัยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขของรัฐเพียงฝ่ายเดียว ดังนั้นการที่จะให้ได้ผลอย่างเต็มที่จึงต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกครัวเรือนร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและผู้นำชุมชนช่วยกันป้องกันโรคดังกล่าวในหลากหลายรูปแบบ เช่น การรณรงค์ การร่วมมือกับโรงเรียน ชุมชน สถานที่ราชการต่างๆ การจัดหาสารฆ่าลูกน้ำ การพ่นหมอกควันและสารเคมี การกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย การใช้วิธีทางธรรมชาติในการกำจัดลูกน้ำ และสำคัญที่สุดคือการรู้จักป้องกันตนเองไม่ให้ถูกยุงกัด ซึ่งจากรายงานสถานการณ์ไข้เลือดออกในเขตเทศบาลเมืองกันตัง เมื่อปี 2564 มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในเขตเทศบาลเมืองกันตังรวมจำนวน 2 ราย โดยชุมชนหน้าค่าย มีจำนวน 200 หลังคาเรือน แต่ไม่พบผู้ป่วยไข้เลือดออกในชุมชน
ดังนั้นทางกลุ่มแกนนำสุขภาพชุมชนหน้าค่าย จึงได้จัดทำโครงการชุมชนหน้าค่าย ร่วมใจ ป้องกันภัยโรคไข้เลือดออก ปี 2565 ขึ้น เพื่อเป็นการป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน จึงต้องมีการป้องกันโดยการทำลายยุงลายและแหล่งเพาะพันธุ์ การสร้างความเข้าใจ ตระหนักและให้ความสำคัญ จึงเกิดความร่วมมือในชุมชนอย่างจริงจัง นำไปสู่การป้องกันโรคไข้เลือดออกได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อประชาสัมพันธ์เผยแพร่ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก วิธีป้องกันและควบคุมโรคด้วยตนเอง ให้กับประชาชนในชุมชน ให้มีความตระหนักในการกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายในครัวเรือน

 

2 เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในชุมชน

ค่าดัชนีความชุกลูกน้ำยุงลายในบ้าน House Index น้อยกว่าหรือเท่า 10 (HI ≤10)

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 10 14,500.00 2 14,508.00
17 มิ.ย. 65 กิจกรรมอบรมแกนนำสุขภาพชุมชน 10 5,850.00 5,825.00
18 - 22 มิ.ย. 65 กิจกรรมรณรงค์เคาะประตูบ้านพร้อมสำรวจทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย จำนวน 5 วัน 0 8,650.00 8,683.00
  1. จัดประชุม/ประชาคมทางสุขภาพ
  2. จัดทำแผนงาน/โครงการเสนอต่อคณะกรรมการกองทุนฯ เพื่อขออนุมัติงบประมาณ
  3. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  4. กิจกรรมอบรมแกนนำสุขภาพชุมชนหน้าค่าย จำนวน 10 คน เรื่องโรคไข้เลือดออก การควบคุมป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก แนวทางการดำเนินงานควบคุมโรคในชุมชนแบบมีส่วนร่วม การบันทึกแบบสำรวจลูกน้ำยุงลายและการคำนวณดัชนีลูกน้ำยุงลาย
  5. ดำเนินกิจกรรมตามโครงการ 5.1 กิจกรรมสำรวจ/ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในชุมชน/ครัวเรือนทุกเดือนๆ ละ 1 ครั้ง พร้อมลงบันทึกในแบบสำรวจลูกน้ำยุงลายและคำนวณดัชนีลูกน้ำยุงลายทุกเดือน เพื่อประเมินความชุกป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก 5.2 กิจกรรมเดินรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน โดยแกนนำสุขภาพในชุมชน เดินรณรงค์เคาะประตูบ้านประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก และขอความร่วมมือประชาชนให้ร่วมกันทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย พร้อมมอบเอกสารหรือแผ่นปลิวการป้องกันโรคไข้เลือดออกให้กับประชาชนในชุมชน
  6. สรุปผล/รายงานผลการดำเนินงานต่อกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ชาวชุมชนมีความตระหนักในการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในครัวเรือนอย่างต่อเนื่อง
  2. สามารถควบคุม ป้องกันการเกิดและแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในชุมชนได้ในระดับหนึ่ง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 ม.ค. 2565 13:43 น.