กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนป่าไม้ ร่วมใจป้องกันภัยโควิด-19 ปี 2565
รหัสโครงการ 65-L6895-02-39
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชุมชนป่าไม้
วันที่อนุมัติ 18 มกราคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 4 มกราคม 2565 - 31 สิงหาคม 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 12,660.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ กลุ่มแกนนำสุขภาพชุมชนป่าไม้
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.41,99.519place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 535 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด 2019 ซึ่งมีการประกาศกระทรวงสาธารณสุขให้ โรคไวรัสโคโรน่า หรือ COVID-19 เป็นโรคร้ายแรง ทำให้เกิดการตื่นตระหนกของประชาชนทั่วโลกและคนไทย ซึ่งพบการระบาดไปในหลายประเทศส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจสังคมอย่างรุนแรง สถานการณ์การระบาดกำลังแพร่กระจายยังไม่สามารถควบคุมได้ โรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งย่อมาจาก “Coronavirus disease 2019” เป็นตระกูลเดียวกับโรคซาร์ส ที่ระบาดเมือปี 2545 ทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจอักเสบเสียบพลันปอดอักเสบและมีภาวะแทรกซ้อน สาเหตุการเสียชีวิตส่วนใหญ่ ตัวไวรัส COVID-19 จะทำให้เกิดการไข้สูง จาม ไอ การอักเสบของปอดและเยื้อหุ้มปอดอย่างรุนแรง
จากข้อมูลสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรัง รายงานสถานการณ์โรคโควิด-19 จังหวัดตรัง (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564) พบผู้ป่วยระลอกใหม่ตั้งแต่เมษายน 2564 พบผู้ป่วยยืนยันสะสม 17,903 ราย หายป่วยแล้ว 17,416 ราย มีผู้ป่วยรักษาอยู่ 373 ราย ผู้เสียชีวิตสะสม 113 ราย และข้อมูลสถานการณ์โรคโควิด-19 จังหวัดตรัง ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 – 31 มีนาคม 2565 พบผู้ติดเชื้อสะสม 8,019 ราย หายป่วยสะสม 7,674 ราย เสียชีวิตสะสม 43 ราย โดยอำเภอกันตัง มีผู้ติดเชื้อสะสม 1,288 ราย เสียชีวิตสะสม 6 ราย ซึ่งมีแนวโน้มพบการระบาดเป็นวงกว้างและพบผู้ป่วยมากขึ้น โดยมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 เป็นการป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาล เป็นการระมัดระวังป้องกันตนเองขั้นสูงสุดตลอดเวลาให้ปลอดภัยจากการติดโควิด-19 แม้ยังไม่พบว่ามีความเสี่ยงให้ทุกคนคิดเสมอว่าเราอาจติดโควิด-19 โดยไม่รู้ตัว และไม่มีอาการ คือ ออกจากบ้านเมื่อจำเป็นเท่านั้น เว้นระยะห่างอย่างน้อย 1-2 เมตร จากบุคคลอื่นทุกสถานที่ ทุกกิจกรรม สวมหน้ากากอนามัยและทับด้วยหน้ากากผ้า ให้หน้ากากทั้งสองชั้นกระชับปิดทั้งจมูก และปากตลอดเวลา เมื่ออยู่ในสถานที่มากกว่า 2 คน ล้างมือบ่อยๆ หลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าที่สวมใส่อยู่ รวมทั้งใบหน้า ตา ปาก จมูก โดยไม่จำเป็น ผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยง ผู้สูงอายุที่อายุมากกว่า 60 ปีและผู้มีโรคเรื้อรัง ให้เลี่ยงการออกนอกบ้าน เว้นแต่จำเป็น โดยให้ออกนอกบ้านน้อยที่สุดและใช้ระยะเวลาสั้นที่สุด ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อในบริเวณพื้นผิวที่ถูกสัมผัสบ่อยๆ แยกของใช้ส่วนตัวทุกชนิด และไม่ควรใช้ของร่วมกับผู้อื่น เลือกรับประทานอาหารปรุงสุก ใช้ช้อนกลางส่วนตัว และไม่ควรรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่นที่ไม่ใช่สมาชิกในครอบครัว และหากสงสัยว่ามีความเสี่ยง ควรแยกตัวจากผู้อื่นประมาณ 2 สัปดาห์และตรวจเบื้องต้นด้วย ATK หลังการสัมผัสโรคประมาณ 3-5 วัน ถ้าไม่พบการติดเชื้อให้ตรวจซ้ำใน 3-5 วันหรือเมื่อมีอาการ
ทางกลุ่มแกนนำสุขภาพชุมชนป่าไม้ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการเฝ้าระวัง ป้องกันการระบาดโรค จึงได้จัดทำโครงการชุมชนป่าไม้ ร่วมใจป้องกันภัยโควิด-19 ปี 2565 ขึ้น เพื่อเฝ้าระวัง ป้องกันการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ในชุมชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้แกนนำสุขภาพในชุมชน/แกนนำผู้นำชุมชน มีความรู้ ความเข้าใจ ในการป้องกันควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในชุมชน

 

2 เพื่อเฝ้าระวัง ป้องกันการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ในชุมชน
  1. ร้อยละ 100 ของประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคโควิด-19 ในชุมชนได้รับการคัดกรอง/เฝ้าระวังโรคโควิด-19
  2. ร้อยละ 100 ของผู้ป่วยติดเชื้อยืนยันโรคโควิด-19 ในชุมชนได้รับการติดตามควบคุมให้อยู่ในมาตรการการรักษาแบบ HI ของกระทรวงสาธารณสุข
3 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ เกิดความตระหนักในการดูแลป้องกันตนเองจากโรคโควิด-19

ร้อยละ 80 ของครัวเรือนเป้าหมายได้รับความรู้/คำแนะนำในการดูแลป้องกันตนเองจากโรคโควิด-19

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 545 12,660.00 3 12,660.00
14 มิ.ย. 65 กิจกรรมอบรมชี้แจงแกนนำสุขภาพในชุมชน/แกนนำผู้นำชุมชน 10 1,400.00 1,350.00
15 - 24 มิ.ย. 65 กิจกรรมรณรงค์ให้ความรู้การป้องกันโรคโควิด-19 ในชุมชน จำนวน 3 วัน 535 5,840.00 5,820.00
15 มิ.ย. 65 - 31 ส.ค. 65 กิจกรรมค้นหา/คัดกรองเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยง/ควบคุมผู้ป่วยระบบ HI 0 5,420.00 5,490.00
  1. เสนอโครงการเพื่อของบประมาณสนับสนุน
  2. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  3. จัดอบรมประชุมแกนนำสุขภาพ/แกนนำผู้นำชุมชน 9 ชุมชน จำนวน 1 วัน ดังนี้ ชุมชนหลาโป/ชุมชนกิตติคุณ/ชุมชนหลังสโมสรเก่า/ชุมชนโรงพยาบาลกันตัง/ชุมชนหลังชุมสายโทรศัพท์/ชุมชนป่ามะพร้าว/ชุมชนป่าไม้/ชุมชนหลังโรงเรียนเทศบาลบ้านคลองภาษีและชุมชนในทอน เพื่ออบรมเรื่องโรคโควิด-19 กระบวนการและมาตรการการเฝ้าระวังป้องกันโรคโควิด-19 ของกระทรวงสาธารณสุข การดำเนินงานควบคุมการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ในชุมชน วัคซีนโควิด-19 (โดยใช้งบประมาณค่าสมนาคุณวิทยากรและค่าป้ายไวนิลโครงการร่วมกัน ซึ่งเบิกจากโครงการชุมชนหลาโป-หลังควน ประสานใจ ต้านภัยโควิด-19 ปี 2565)
  4. จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ เช่น ป้ายไวนิลความรู้เกี่ยวกับโรคโควิด-19 โดยติดตั้งตามจุดสำคัญในชุมชน จำนวน 2 จุด และป้ายบอร์ดประชาสัมพันธ์มีด้ามจับ จำนวน 5 แผ่น เพื่อใช้ในการรณรงค์ให้ความรู้แก่ประชาชนในชุมชน เป็นต้น
  5. กิจกรรมรณรงค์ให้ความรู้การป้องกันการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ในชุมชน จำนวน 3 วัน โดยแกนนำสุขภาพในชุมชน/แกนนำผู้นำชุมชน ลงพื้นที่รณรงค์เคาะประตูบ้านให้ความรู้เรื่องโควิด-19 แก่ประชาชนในชุมชน รณรงค์การฉีดวัคซีนโควิด-19 และเน้นย้ำมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
  6. กิจกรรมค้นหา/คัดกรองเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยง  การควบคุมผู้ป่วยติดเชื้อยืนยันโรคโควิด-19 ในชุมชนที่เข้าระบบการรักษาแบบ HI โดยแกนนำสุขภาพในชุมชนดำเนินการ ดังนี้

- สำรวจ ค้นหา และขึ้นทะเบียนกลุ่มเสี่ยงโรคโควิด-19 ในชุมชน - ติดตามวัดอุณหภูมิ/เฝ้าระวังสังเกตอาการกลุ่มเสี่ยงโรคโควิด-19ตามแนวทางที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด - ติดตามควบคุมผู้ติดเชื้อยืนยันโควิด-19 กรณีเข้าระบบรักษาแบบ HI ให้เป็นไปตามมาตรการ - รายงานผลการเฝ้าระวังให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขทราบ
7. สรุปและรายงานผลการดำเนินงานโครงการต่อกองทุนสุขภาพฯ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. แกนนำสุขภาพในชุมชน/แกนนำผู้นำชุมชน มีความรู้ ความเข้าใจ  ในการป้องกันควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในชุมชน
  2. ประชาชนในชุมชนป่าไม้ ได้รับความรู้ คำแนะนำในการดูแลป้องกันตนเองจากโรคโควิด-19
  3. ในชุมชนป่าไม้ มีการเฝ้าระวังป้องกันการแพร่ระบาดโรคโควิด-19
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 ม.ค. 2565 14:17 น.