กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ ควบคุมเฝ้าระวังโรคติดต่อ และโควิด-19 ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ศูนย์ 2 ปี 2565
รหัสโครงการ 65-L6895-03-45
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เทศบาลเมืองกันตัง ศูนย์ 2
วันที่อนุมัติ 18 มกราคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 4 มกราคม 2565 - 31 สิงหาคม 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 4,610.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เทศบาลเมืองกันตัง ศูนย์ 2
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.41,99.519place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 13 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเป็นสถานที่ที่เด็กอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก เมื่อเจ็บป่วยจะแพร่เชื้อโรคสู่เด็กอื่น ได้ง่าย เนื่องจากเด็กเล็กมีภูมิคุ้มกันต่ำจึงมีโอกาสป่วยได้บ่อย โดยเฉพาะโรคติดต่อที่สำคัญและพบบ่อย ได้แก่ โรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ โรคหวัด โรคตาแดง โรคไข้เลือดออก ผิวหนังอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย โรคมือ เท้า ปาก โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน และโรคโควิค๑๙ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีโรคติดเชื้อที่สำคัญอื่นๆ ซึ่งสามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน เช่น หัด หัดเยอรมัน คางทูม คอตีบ ไอกรน และบาดทะยัก เป็นต้น โดยจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพและพัฒนาการโดยรวมของเด็ก การดำเนินงานการป้องกันควบคุมโรคในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้มีประสิทธิภาพจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น และมีความสำคัญอย่างยิ่งในการช่วยลดการเกิดและแพร่กระจายของโรคติดต่อดังกล่าว โดยครูผู้ดูแลเด็กเป็นบุคลากรที่มีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะพัฒนาให้ศูนย์เด็กเล็กปลอดภัยจากโรคต่างๆ เนื่องจากเป็นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดเด็กมากที่สุดในช่วงที่เด็กอยู่ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อีกทั้งเป็นผู้มีอิทธิพลต่อการดูแลและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆ ของเด็ก และสิ่งสำคัญอีกประการที่จะช่วยให้การดำเนินงานเฝ้าระวังป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อในศูนย์เด็กเล็กประสบความสำเร็จได้ เกิดจากความตระหนัก ความร่วมมือของบุคลากรทุกภาคส่วนทั้งพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูผู้ดูแลเด็ก ในการส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์เด็กเล็กอย่างเข้มแข็ง         ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเมืองกันตัง ศูนย์ ๒ ได้เห็นความสำคัญของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจึงจัดโครงการนี้ขึ้น เพื่อเฝ้าระวังการป้องกันควบคุมโรคไม่ให้แพร่ระบาดและเพื่อลดอัตราการป่วยของเด็ก โดยจัดให้มีการอบรมเพื่อให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็ก ตลอดจนกำหนดแนวทางมาตรการในการป้องกันควบคุมโรคติดต่อซึ่งอาจเพิ่มจากเดิม  คือมีมาตรการการป้องกันควบคุมโรคเป็นการป่วยที่พบจากการตรวจคัดกรองของครู และผู้ดูแลเด็กและแนะนำให้หยุดเรียนและให้ผู้ปกครองพาไปพบแพทย์ ทำให้ลดการระบาดในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และยังป้องกันควบคุมไม่ให้โรคแพร่กระจายและลดอาการป่วยของเด็กต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อป้องกันและควบคุมโรคติดต่อไม่ให้แพร่กระจาย และลดอาการป่วยของเด็กภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

 

2 เพื่อให้ผู้ปกครอง มีความรู้ และตระหนักถึงความสำคัญในการควบคุมและป้องกันโรคติดต่อโรคของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
  1. ร้อยละ 80 ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องโรคติดต่อ และโรคโควิค-๑๙
  2. ร้อยละ ๘0 ของผู้ปกครองที่เข้ารับการอบรม มีความพึงพอใจโครงการอยู่ในระดับมาก
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 13 4,610.00 2 4,610.00
1 - 31 ส.ค. 65 กิจกรรมเฝ้าระวัง/ป้องกันโรค 0 3,675.00 3,830.00
30 ส.ค. 65 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ 13 935.00 780.00
30 ส.ค. 65 กิจกรรมเสริมทักษะการล้างมือ (ไม่มีค่าใช้จ่าย) 0 0.00 -
  1. ขั้นเตรียมการ 1.1 ประชุมคณะครูผู้ดูแลเด็กฯ และผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณารายละเอียดและแนวทางการจัดทำโครงการกองทุนสุขภาพฯ 1.2 จัดทำแผนงาน/โครงการ เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ 1.3 ประชุมคณะครูผู้ดูแลเด็ก เพื่อร่วมกันวางแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม/แผนปฏิบัติงานทำความสะอาด อุปกรณ์ เครื่องใช้ ของเล่นที่เกี่ยวข้องกับเด็กเล็ก 1.4 ประสานวิทยากร สถานที่และ อื่น ๆ ในการจัดการฝึกอบรม 1.5 ประสานแจ้งผู้ปกครองเข้ารับการฝึกอบรม 1.6 ประชุมคณะทำงานเพื่อกำหนดผู้รับผิดชอบในแต่ละฝ่าย
  2. ขั้นดำเนินการ 2.1 จัดทำแบบบันทึกสุขภาพเด็กเล็ก 2.2 จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการควบคุมป้องกันโรค เช่น โรคไข้หวัด โรคตาแดง โรคไข้เลือดออก โรคมือ เท้า ปาก และโรคโควิค-๑๙ แก่ผู้ปกครองเด็กเล็ก ซึ่งจัดกิจกรรมร่วมกันทั้ง 3 ศูนย์ โดยค่าสมนาคุณวิทยากรและค่าป้ายโครงการเบิกจากโครงการควบคุมเฝ้าระวังโรคติดต่อ และโรคโควิค-๑๙ ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ศูนย์ 1 ปี 2565 ปฏิบัติตามมาตรการ/แนวทางการควบคุมป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด ภายใต้สถานการณ์การควบคุมป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 2.3 ประเมินความรู้ผู้ปกครองก่อน-หลังการอบรม และประเมินความพึงพอใจที่มีต่อโครงการ 2.4 จัดกิจกรรมเสริมทักษะการดูแลตนเองของเด็กเล็กให้ปลอดโรค ได้แก่ ทักษะการล้างมือ/การสาธิตการล้างมือ 7 ขั้นตอนทำท่าประกอบเพลง ทุกเช้า โดยครูและผู้ดูแลเด็ก พร้อมประเมินทักษะของเด็กเล็ก 2.5 จัดกิจกรรมเฝ้าระวัง/ป้องกันโรค ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เช่น การทำความสะอาดของเล่น/ของใช้ทุกสัปดาห์ การคัดกรองวัดอุณหภูมิก่อนเข้าเรียน เป็นต้น
  3. ขั้นสรุปและรายงานผล 3.1. สรุปรายงานหลังเสร็จสิ้นโครงการและรายงานผลการดำเนินงานโครงการต่อกองทุนสุขภาพฯ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กเล็กภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเมืองกันตังมีจำนวนเด็กเล็กที่ป่วยลดลง
  2. ผู้ปกครอง มีความรู้ และตระหนักถึงความสำคัญในการควบคุมและป้องกันโรคติดต่อของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สามารถหาวิธีป้องกันโรคติดต่อต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นกับเด็กในขณะที่เด็กอยู่ที่บ้านและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเมืองกันตัง ได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 ม.ค. 2565 16:35 น.